Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ค่ารถไฟฟ้าในไทย แพงแค่ไหนเมื่อเทียบกับเงินเดือน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

“รถไฟฟ้าขึ้นราคา” ข่าวร้ายของคนกรุงที่ต้องประสบพบเจอ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อทางผู้ดำเนินงานเดินรถประกาศปรับราคาค่ารถไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นการขนส่งสาธารณะหลักอย่างหนึ่งสำหรับคนกรุงเทพฯ ที่อยากจะหลีกเลี่ยงปัญหารถติด แม้ว่าจะถึงที่หมายได้รวดเร็วพอสมควร แต่เราก็รู้สึกค่าโดยสารนั้นช่างแพงเหลือหลาย… มาถึงตรงนี้คุณเคยสงสัยกันไหมว่า ราคาค่ารถไฟฟ้า BTS, MRT ทั้งสายสีน้ำเงินและสีม่วง ที่เราคิดว่าแพงนั้น จริงๆ แล้วแพงมากหรือน้อยกว่าประเทศอื่นๆ อย่างไร และแพงแค่ไหนเมื่อเทียบกับรายได้ของพวกเรา

การขนส่งระบบราง เป็นขนส่งมวลชนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในมหานครใหญ่ทั่วโลก โดยประเทศไทยเริ่มมีรถไฟฟ้าใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ในชื่อว่า “รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา” หรือที่รู้จักกันในชื่อรถไฟฟ้า BTS ปัจจุบันให้บริการภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครใน 2 เส้นทางคือ สายสุขุมวิท (หมอชิต-แบริ่ง) และสายสีลม (สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า)

จากนั้นในปี 2547 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (เดิม: องค์การรถไฟฟ้ามหานคร) ได้เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงล หรือ MRT สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) และเมื่อปี 2559 ได้เปิดให้บริการ สายฉลองรัชธรรม หรือ สายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ทำให้เกิดการเชื่อมต่อพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลด้วยเวลาอันสั้น พร้อมลดปริมาณรถบนท้องถนนได้อีกด้วย

แต่ถึงอย่างนั้น ผู้โดยสารบางคนมองว่า ราคารถไฟฟ้าของไทยในปัจจุบันกลับไม่ส่งเสริมให้คนมาใช้บริการเอาเสียเลย กลับกันในบางพื้นที่ การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมีราคาถูกและเข้าถึงได้มากกว่าการใช้บริการรถไฟฟ้าเสียอีก ยังไม่นับเรื่องที่ยังขาดระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้า (Feeder) ทำให้ผู้โดยสารหลายคนเลือกการเดินทางประเภทอื่นแทน

ค่ารถไฟฟ้าแพงจริง หรือ คิดไปเอง?

การที่เราบ่นว่าค่ารถไฟฟ้า “แพง” ตกลงแล้วแพงจริงๆ หรือเป็นความรู้สึกของเราไปเองกันแน่? Baania จึงทำการรวบรวมข้อมูลรถไฟฟ้าของแต่ละประเทศมาให้ท่านได้ดูกันว่า รถไฟฟ้าของไทยทั้ง 3 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท, MRT สายสีน้ำเงิน และ MRT สายสีม่วง จะ “ถูก” หรือ “แพง” ยังไงเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าประเทศอื่นๆ ดังนี้

  1. สิงคโปร์ - Downtown Line (Bukit Panjang-Expo) 34 สถานี 28.1 กม.
  2. ฮ่องกง - Island Line (Kennedy Town-Chai Wan) 17 สถานี 16.3 กม.
  3. ญี่ปุ่น - Chiyoda Line (Yoyogi-Uehara-Ayase) 20 สถานี 24.2 กม.
  4. เกาหลีใต้ - Seoul Subway Line 4 (Danggogae-Oido) 48 สถานี 72.1 กม.
  5. มาเลเซีย - Kelana Jaya line (Gombak-Putra Heights) 37 สถานี 46.4 กม

ในการคิดราคาค่าโดยสาร คิดเป็นราคาต่อระยะทาง ตั้งแต่สถานีเริ่มต้นจนถึงสถานีสุดท้าย ใช้ราคาตั๋วเที่ยวเดียวสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อทำการคำนวณราคาค่ารถไฟฟ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางแล้ว พบว่ารถไฟฟ้าแต่ละประเทศมีราคาเฉลี่ยดังนี้

ถ้าเราดูจากกราฟราคาเฉลี่ย พบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีราคาค่าโดยสาร เมื่อแปลงเป็นค่าเงินบาทแล้วสูงที่สุด แต่อย่าลืมว่า แต่ละประเทศมีรายได้และค่าครองชีพที่แตกต่างกัน ประเทศที่ค่าโดยสารแพงอาจจะมีรายได้สูง ประเทศที่มีค่าโดยสารถูกอาจจะมีรายได้น้อยมากก็ได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละประเทศหรือเมืองที่เรานำมาเปรียบเทียบ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเมื่อเทียบเป็นเงินบาทเท่าไหร่กันบ้าง

*รายได้เฉลี่ยของกรุงเทพ คิดจากรายได้เฉลี่ยของกลุ่มอาชีพพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามากที่สุด

แต่!!! รายได้ก็ยังไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดที่ยุติธรรมสำหรับทุกประเทศได้ Baania จึงใช้การคำนวณด้วยหลักการคิดลดค่าครองชีพของแต่ละประเทศ เพราะต่อให้ได้เงินเดือนมากแค่ไหน ถ้าต้องจ่ายค่าครองชีพมหาศาล ก็ไม่เหลือเงินไว้ให้ใช้อยู่ดี คราวนี้มาดูกันว่าเมื่อนำรายได้ต่อเดือนแต่ละประเทศมาคำนวณการคิดลดค่าครองชีพแล้ว แต่ละประเทศจะมีเหลือเงินเดือนเท่าไหร่กันบ้าง

ค่ารถไฟฟ้า

ทุกประเทศมีรายได้หลังคิดลดค่าครองชีพลดลงทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าค่าครองชีพแต่ละประเทศมีค่าสูงขึ้น สำหรับคนกรุงเทพที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 38,500 บาท กลับมีเงินเดือนหลังคิดลดค่าครองชีพเพียงประมาณ 15,000 บาทเท่านั้น แล้วค่ารถไฟฟ้าที่จ่ายกันอยู่ทุกวัน เมื่อเทียบกับเงินเดือน เราจ่ายเฉลี่ยเป็นร้อยละเท่าไหร่ต่อเดือนกัน

จำนวนวันเดินทางคิดจากวันทำงานต่อเดือน ราคาค่ารถไฟฟ้าโดยสารเฉลี่ยของแต่ละประเทศทั้งขาไปและขากลับ ปรากฎว่ามีเพียงประเทศเกาหลีใต้ รถไฟฟ้า Seoul Subway Line 4 เท่านั้น ที่ค่าโดยสารเมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจซื้อ มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 มากกว่าประเทศไทย ซึ่งคงไม่แปลกเท่าไหร่นัก เพราะมีระยะทางการให้บริการมากกว่าของไทยถึง 3 เท่า ตามมาด้วยระบบขนส่งมวลชนที่คนกรุงเทพรักมากที่สุดอย่าง รถไฟฟ้า BTS ที่มีค่า BTS สัดส่วนเทียบกับเงินเดือนถึง 4.8% และค่า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ในอัตราเทียบอำนาจซื้อที่เท่ากัน อยู่ที่ 3.8%

คนกรุงเทพมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 38,474 บาท เมื่อคิดสัดส่วนค่าโดยสารเฉพาะวันทำงาน 4.8% จะคิดเป็นค่าโดยสารที่ต้องจ่าย 1,824 บาท/เดือน แล้วถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายน้อยกว่าค่าเฉลี่ย แต่ยังต้องจ่ายค่าเดินทาง 1,824 บาท/เดือน คุณคิดว่าค่ารถไฟฟ้าที่เราต้องใช้เดินทางทุกวัน แพง หรือ ไม่แพง?

อ้างอิง

http://www.thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=17258&rand=1453545379

https://www.mytransport.sg/content/mytransport/home/commuting/busservices.html#Fare_Calculator

http://www.mtr.com.hk/en/customer/jp/index.php

https://www.tokyometro.jp/th/ticket/search/index.php

https://www.myrapid.com.my/fares-and-payments/rail-fare-calculator

https://data.worldbank.org/indicator/PA.NUS.PPP

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร