สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เผยความคืบหน้าโครงการศึกษาฯ ระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ ซึ่งได้ข้อสรุปเลือกใช้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Chiang Mai Light Rail Transit) เพราะมีความเหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่มากที่สุด โดยเลือกไว้ 2 รูปแบบ คือ โครงข่าย A เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดินมีทางวิ่งเฉพาะ และโครงข่าย B เป็นระบบรถไฟฟ้าบนดินระดับผิวถนน และสามารถใช้ช่องจราจรร่วมกับรถอื่นๆ ได้
โครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีแดง, สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว
1. สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-สนามบิน-แม่เหียะ) ระยะทาง 12 กม.
เริ่มต้นจากทางวิ่งบนดิน โรงพยาบาลนครพิงค์, ศูนย์ราชการเชียงใหม่, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, ศูนย์ประชุมฯนานาชาติ, สถานีตำรวจช้างเผือก, เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกข่วงสิงห์, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, สถานีขนส่งช้างเผือก, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม, (พบจุดตัดสายสีน้ำเงิน) โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ, สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ (พ้นเขตสนามบิน ใช้ทางวิ่งบนดิน), กรมการขนส่งทางบก, และไปจนถึง ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง
2. สายสีเขียว (แม่โจ้-กาดหลวง-สนามบิน) ระยะทาง 12 กม.
เริ่มต้นจากทางวิ่งบนดิน แยกรวมโชค, เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกแม่โจ้ (โรงพยาบาลเทพปัญญา), ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล, สถานีขนส่งอาเขต, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค, โรงเรียนดาราวิทยาลัย, โรงเรียนปริ้นซ์รอแยลวิทยาลัย, ตลาดวโรรส (กาดหลวง), เทศบาลนครเชียงใหม่, ไนท์บาซาร์, โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย, โรงเรียนพระหฤทัย, โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย, เชียงใหม่แลนด์, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอร์ต, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ (พบจุดตัดสายสีแดง)
3. สายสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่-ท่าแพ-ดอนจั่น) ระยะทาง 12 กม.
เริ่มต้นจากทางวิ่งใต้ดิน สวนสัตว์เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ตลาดต้นพยอม, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (พบจุดตัดสายสีแดง), วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, ประตูท่าแพ, ไนท์บาซ่าร์ (พบจุดตัดสายสีแดง), ตลาดสันป่าข่อย, สถานีรถไฟเชียงใหม่, เริ่มใช้ทางวิ่งบนดินที่แยกหนองประทีป, ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีดอนจั่น และห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในด้านเส้นทางและการลงทุน ก่อนจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ในเดือน ก.ค. ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาในเดือน ก.ย. เพื่อนำเสนอต่อเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป
** ข้อมูลจาก การศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่
www.cm-pmap.com, www.facebook.com/chiangmaipmap
บทความที่เกี่ยวข้อง :