Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

เปิดมุมมองแนวคิด Korat Creative City กับงาน โสเหล่ 6

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

มาอย่างต่อเนื่องกันงานทอล์กชิวล์ๆ สไตล์คนโคราชอย่างงาน “โสเหล่ #6 เติมสมองให้เมืองสมาร์ท Korat Creative City” เมื่อวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ณ คลาสคาเฟ่สาขาไนท์วัดบูรพ์

งานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก Executive Director ชื่อดังและผู้ก่อตั้ง FiF DESIGN Studio อย่าง “คุณกั้ง” พงศธร ละเอียดอ่อน มาให้ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับการทำเมืองให้เป็น สมาร์ทซิตี้อย่างสร้างสรรค์ (Creative City) พร้อมด้วย “อาจารย์หยก” ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ อาจารย์และนักออกแบบพัฒนาเมือง รุ่นใหม่ไฟแรงซึ่งเป็น Urban Analytic & Reviewer ของ Baania.com และที่ปรึกษาศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จังหวัดนครราชสีมา มาเป็นวิทยากร  

เวทีเสวนาเปิดฉากด้วยการมุมมองของวิทยากรทั้งสองท่านว่า Smart City นั้นเป็นอย่างไร โดยอาจารย์หยกได้ให้ความหมายว่า “Smart City นั้นคือเมืองที่ทำให้คนรับรู้ปัญหาสิ่งที่มีอยู่ในเมืองและมีวิธีพูดคุยกัน แก้ไขปัญหากันได้ในเมืองโดยมีนวัตนกรรมหรือเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยผลักดัน”

ขณะที่คุณกั้งนั้นมองว่า “Smart City คือการที่เมืองนั้นมีคนฉลาด คนฉลาดในที่นี่คือ คนที่สามารถสร้างพื้นที่รอบตัวเพื่อเอื้ออำนวยตนเองได้อย่างชาญฉลาด เพราะเมืองนั้นเป็นวัตถุคิดไม่เป็น แต่ก่อนที่เมืองจะสมาร์ทได้คนต้องสมาร์ทก่อน

ครีเอทีฟคนเก่งยังเสริมว่า ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเริ่มมีเทคโนโลยีที่มาเอื้ออำนวยผู้คนมากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ถ้าลองมองว่า ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีที่อัจฉริยะแล้ว แต่หากคนในเมืองยังไม่เข้าใจที่จะใช้เทคโนโลยีนั้น การมีเทคโนโลยีก็ไม่เอื้อให้คนสะดวกสบายขึ้นหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  เหมือนกับการยิ่งทำยิ่งไม่รู้จักตัวเอง

สำหรับเมืองที่อยากจะพัฒนาเป็น Smart City นั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือประชากรและคนในเมือง ที่ต้องรู้จักการเลือกทำสิ่งที่ดีสำหรับเมือง เลือกที่จะกินสิ่งที่ดีเพื่อตัวเอง เลือกที่จะทำบางสิ่งที่ดีกับสิ่งแวดล้อม ทำให้คน เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เมืองน่าอยู่ “มองว่าจะทำยังไงให้คนเห็นในสิ่งเดียวกัน แก้ปัญหาให้เหมาะกับวิถึชีวิตจริงๆ ด้วยวิธีการเดียวกันและเดินไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน แค่นี้เมืองก็จะสามารถเป็น Smart City ได้โดยอาจจะไม่ต้องใช้เทคโนโลยี ” คุณกั้งกล่าว

“ก่อนที่เมืองจะสมาร์ทได้คนต้องสมาร์ทก่อน”

เปลี่ยนเมืองเดิมๆ ให้เป็น Smart City

จากมุมมองของคุณกั้งกับเมืองกรุงเทพฯ คุณกั้งเล่าว่า “ถ้ามองแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมของเมือง กรุงเทพนั้นน่าอยู่มากแต่เมื่อผนวกกับคน มันค่อนข้างไม่น่าอยู่ และชีวิตของคนกรุงเทพก็ค่อนข้างจะเป็นกิจวัตร ไปทำงานแต่เช้า รถติด ส่งลูก กลับบ้าน รถติดตอนเย็น”  

เมื่อได้มุมมองว่าการใช้ชีวิตแบบนี้ดูไม่มีอะไร ทำให้คุณกั้งได้เริ่มคิดเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบคนกรุงเทพฯ เดิมๆ ไปเป็นอย่างที่อยากจะเป็น ภายใต้โครงสร้างองค์ประกอบของเมืองกรุงเทพฯ ที่ไม่น่าอยู่ โดยเริ่มจากการกินอาหารมีประโยชน์ เปลี่ยนแนวคิดให้ดีขึ้น ทำให้ตัวเองสามารถออกกำลังกายตอนเช้า ไปทำงานได้ทันรถไม่ติด หันเลือกใช้รถจักรยานยนต์แทนรถยนต์ มีเวลานั่งดูทีวี ทำกับข้าวกับครอบครัว

สิ่งเหล่านี้ที่คุณกั้งได้ทำเป็นตัวอย่าง ตอนนี้ถูกแชร์ไปสู่ชุมชนเล็กๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อทำให้ชุมชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างชาญฉลาดและมีความสุขในสังคมมากขึ้น

เริ่มเปลี่ยน เพื่อสิ่งที่ดีขึ้น

“เราควรเริ่มเปลี่ยนแปลงจากตัวเราเองก่อนเพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจกับคนอื่น” คุณกั้งได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า ในบ้านของเขานั้นไม่มีของที่ซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตเลย ซึ่งประโยคนี้ก็ทำให้ทุกคนในงานอึ้งไปตามกันว่ามีหมายความว่าอย่างไร “ของในบ้านทั้งหมดจะสามารถซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป เพราะจริงๆ แล้วของรอบๆตัวเรานั้นก็ไม่ได้แย่กว่าซูเปอร์มาร์เก็ตเลย” ผู้บริหารหนุ่มใหญ่เฉลย

ขณะเดียวกัน อ.หยก ผู้ที่ทำงานอยู่ในสายของรัฐบาลมองว่า โคราชถือเป็นเมืองที่ไม่เลวร้ายถ้าหากจะเทียบกับกรุงเทพฯ และโคราชยังมีพื้นที่ให้พัฒนาเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น ถึงแม้ว่าโคราชจะออกแบบพื้นที่ได้ดีแล้วแต่คนโคราชก็ยังไม่เปลี่ยนวิถีชีวิตแบบเดิมๆ

“ขอขอบคุณเวทีนี้ที่ช่วยสร้างความตระหนักเล็กๆ ให้คนกลุ่มหนึ่ง เมืองของเราค่อนข้างจะแตกต่างกับขอนแก่น ที่กำลังจะเป็นสมาร์ทซิตี้ ซึ่งก็คาดหวังว่าโคราชจะสามารถเป็นสมาร์ทซิตี้แบบขอนแก่นได้ และกลับมาคิดว่าหากอยากจะเป็นอย่างขอนแก่นสมาร์ทซิตี้นั้น เราควรจะเริ่มยังไงและจากใครก่อนดี?” อ.หยกตั้งคำถาม

ทำยังไงให้คนเริ่มตระหนักรู้ เพื่อพัฒนาเป็น Smart City

“งานโสเหล่ครั้งนี้ก็ถือเป็นหนึ่งเวทีที่อยากจะบอกทุกคนว่าเมืองโคราชของเราสามารถทำอะไรได้ แล้วใครบ้างจะช่วยได้ให้เมืองของเราพัฒนาได้ ซึ่งอาจจะเริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ อย่างคนที่มาฟังในวันนี้” อาจารย์หยกกล่าวเสริมต่อว่า

“คนในวัยทำงานหรือเด็กมหาลัยถือเป็นส่วนสำคัญมากที่จะเปลี่ยนและขับเคลื่อนพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น แต่ให้มองว่าสิ่งที่ต้องการจะทำจริงๆ หรือความชอบจริงๆ นั้นคืออะไร สิ่งที่คุณชอบจะสามารถเปลี่ยนมาช่วยขับเคลื่อนเมืองได้รึป่าว และสามารถถักทอสิ่งเหล่านั้นกับใครได้บ้างเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่จากการพบปะคนอื่น และนำสิ่งเหล่านั้นมาพัฒนาเมืองโคราชต่อไป”

ขณะเดียวกันคุณกั้งได้ให้มุมมองอีกด้านว่า “อันดับแรกเราควรให้คนในชุมชนได้เห็นเป้าหมายก่อนว่าเราจะทำอะไร สุดท้ายเป้าหมายคือคุณภาพชีวิตรึไม่?  ซึ่งให้ตั้งคำถามอันดับแรกเลยว่า คุณภาพชีวิตของเราคืออะไร โดยเริ่มจากกิจวัตรในตัวเราเองก่อนว่าอะไรดี ไม่ดีในชีวิตเรา แล้วก็เริ่มจัดการชีวิตตัวเองให้ดีขึ้น ออกแบบ สร้างนวัตกรรมให้สิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นหายไปและทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้น”

ครีเอทีฟคนดังยังมองว่าการทำให้คนมองเห็นความหมายของคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นยากที่สุด เพราะพวกเราถูกบิดเบือนจากการตลาด ธุรกิจและสื่อโฆษณาหลากหลายด้าน ความเป็นคุณภาพที่ดีคือการมีของดีๆ ใช้ หรือการมีรถมีบ้านดีๆ สักหลัง การทานอาหารโก้หรู คือ คุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งที่จริงแล้วนั้นไม่ใช่

นอกจากนั้นตัวเราก็ควรมีศักยภาพในการรับรู้คุณภาพด้วย ซึ่งปัจจุบันหายไปเรื่อยๆ กับคนในสังคม ส่งผลให้ธุรกิจที่มีคุณภาพลดลงด้วย เพราะผู้บริโภคไม่สามารถแยกแยะคุณภาพที่ดีได้ ซึ่งเขามองว่ากรุงเพทฯ เป็นเมืองหลักที่เกิดปัญหาเหล่านี้ หากอยากจะถอยออกมาหาทางออกถ้าเราเข้าใจคุณภาพชีวิตที่ดีจริงทางออกอยู่รอบตัวเรานั้นเอง เพียงแค่ต้องเข้าใจปัญหาก่อน หากเราเริ่มปรับเปลี่ยนกันมากขึ้นก็จะทำให้ธุรกิจที่ไม่มีคุณภาพ หลอกหลอนเรามาก่อนก็จะเริ่มล้มหายไปและเกิดธุรกิจยุคใหม่ที่สมาร์ทขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นโดยการใช้เทคโนยีที่ทำให้เราสามารถทำเรื่องดีๆ ต่อไปได้อย่างกลุ่มสตาร์ทอัพต่างๆ ซึ่งปัจจุบันคุณกั้งเป็นส่วนที่ปรึกษาให้กับสตาร์ทอัพต่างๆ กว่า 30 องค์กร

นี่คือความเห็นและมุมมองดีๆ จากวิทยากรทั้งสองท่านซึ่งอยู่ในบทบาทที่แตกต่างกัน และในช่วงท้ายของงานยังเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่านได้สอบถามได้อย่างอิสระ ซึ่งมีคำถามที่น่าสนใจดังนี้

โคราชจำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องเป็น Smart City และควรจะเริ่มด้วยอะไร แล้วเมืองที่อัจฉริยะแลว้ในโลกมันดีจริงหรือไม่? - คำถามจากเพจโคราชสตาร์ทอัพ

อ.หยก มองว่าเมืองอัจฉริยะเป็นเพียง MOTO ที่เราสร้างขึ้นเพื่อให้คนมีมุมมองที่เหมือนกัน ซึ่งถ้าเราเห็นปัญหาแบบเดียวกันแล้วสามารถหาทางออกร่วมกันได้ ก็ถือว่าโอเคแล้ว ตอนนี้โคราชกำลังมีรถไฟรางเบา LRT และอีกหลายโครงการ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนแล้ว

คุณกั้งได้ขอเสริมต่อว่า “ในเมืองใหญ่ๆ หลายเมืองในโลกที่เก่งในเรื่องของเทคโนโลยีนั้นส่วนใหญ่จะทำสิ่งของให้ฉลาดมากกว่าทำให้คนฉลาด อย่างเช่น การสร้างโปรแกรมให้ไฟสัญญาณจราจรเป็นอัจฉริยะนั้นง่ายกว่าการสอนตำรวจจราจรทั้งประเทศให้สามารถควบคุมไฟจารจรได้  นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าการทำเทคโนโลยีง่ายกว่าการสอนคน แต่หากว่าจริงๆ แล้วถ้าคนในเมืองของเราฉลาดทุกคนเราก็อาจจะแทบไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีไฮเทค”

เมืองโคราชจะน่าสนใจ เริ่มต้นจาก?

คุณกั้งคิดว่าอาจจะเริ่มต้นจาก First priority กับเมืองโคราช อย่างเช่น โคราชเป็นเมืองเรื่องการศึกษา เมืองแห่งพลังงานทดแทน เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับเมือง ที่สำคัญคือการร่วมมือร่วมใจกันสร้างเมืองโคราชให้น่าอยู่มากขึ้น เพราะเมืองโคราชกำลังเป็นเมืองพัฒนา ยังไม่เป็นเหมือนกรุงเทพฯ และคิดว่าในวันนี้การจัดงานโสเหล่เป็นอีกเวทีหนึ่งที่จะช่วยกันเผยแพร่เรื่องราวดีๆ ออกไป

สุดท้าย อ.หยกได้ฝากทิ้งท้ายกับงานไว้ว่า ในความเป็นจริงแล้ว อาจารย์เองสนใจเริ่มทำนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ในโคราชยังไม่มีเวทีหรือพื้นที่ให้คนมาเจอกันเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ งบประมาณของภาครัฐมีให้ แต่มีคนที่ต้องการจะทำหรือไม่?

อย่างที่ อ.หยกได้บอกแล้วก่อนหน้านี้ ไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างคนเดียวได้ เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างเครือข่ายเพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ คำถามคือ คนโคราชพร้อมหรือยังที่จะเริ่มลงมือทำเมืองของคุณให้น่าอยู่ เพื่อเป็น Smart City อย่างยั่งยืน

สามารถติดตามข่าวสารงานโสเหล่ได้ที่เพจ Korat Startup City

บทความแนะนำ

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดนครราชสีมา

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดนครราชสีมา