Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

แจง ม.44 ผ่าทางตันผัง EEC จัดโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรม 1.2 หมื่นไร่

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

กรศ.ผนึกกรมโยธาธิการและผังเมืองแจงงัด ม.44 เร่งทำผังเมืองรวม 3 จังหวัด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เฉพาะพื้นที่สีม่วงสำหรับภาคอุตสาหกรรม 12,000 ไร่ที่มีอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวเรื่องสิ่งแวดล้อม คาด พ.ค. 2561 คลอด “แผนผัง” ใหม่ พร้อมเร่ง “ร่างกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่” ให้เสร็จภายใน 1 ปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) กล่าวว่า จากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 47/60 ใช้มาตรา 44 เรื่อง “ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยจัดให้มีการวางผังเมืองและพัฒนาเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งจะเร่งกระบวนการทำผังเมือง 3 จังหวัด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ให้เป็นผังเมืองรวม จากเดิมเป็นผังเมืองแต่ละจังหวัดให้แล้วเสร็จประมาณเดือน เม.ย.หรือ พ.ค. 2561 จะส่งผลให้การใช้พื้นที่ใน EEC สามารถกำหนดเขตการลงทุนให้กับภาคอุตสาหกรรมใหม่ได้ จากแผนเดิมการทำผังเมืองรวมจะแล้วเสร็จเดือน ส.ค. 2561 ขณะเดียวกันต้องใช้เวลาอีก 1 ปี ในการร่างกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ขึ้นมา

“ผังครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะเราใช้พื้นที่เดิมที่เป็นสีม่วงสำหรับภาคอุตสาหกรรม 12,000 ไร่อยู่แล้ว ทั้งของเอกชนและในนิคมอุตสาหกรรม และผังเมืองใหม่ในอนาคตจะสามารถขยายพื้นที่รองรับภาคอุตสาหกรรมไปด้วย ซึ่งจะใช้พื้นที่อีกไม่เกิน 50,000 ไร่เท่านั้น ซึ่งจะเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมพิเศษ ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จะเข้ามาดูด้วย”

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระบวนการจัดทำผังเมืองใน EEC จะกำหนดกระบวนการใหม่ ไม่ใช่ 18 ขั้นตอนเดิมที่มี โดยได้เริ่มทำการศึกษาพื้นที่ จากนั้นเสนอให้ กรศ.รับทราบและเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้แผนผังใหม่ในเดือน พ.ค. 2561 แผนผังนี้จะกำหนดพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมชัดเจน จากนั้นจะเข้าสู่การร่างเป็นกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ต่อไป จะใช้เวลาอีก 1 ปี

“แผนผังจะทำให้รู้ว่าตรงไหนตั้งโรงงานได้ เมื่อนักลงทุนทราบจะทำให้สามารถเลือกพื้นที่ลงทุนได้ง่ายขึ้น ทุกกระบวนการของผังเมืองเราเร่งเพื่อให้มีการลงทุน ระหว่างที่รอ พ.ร.บ. EEC ออกมา นอกจากนี้ยังหารือว่าจะกำหนดพื้นที่สำหรับเมืองใหม่ภาคบริการเพื่อเชื่อมกับการคมนาคมด้วยเช่นกัน”

นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า การใช้ ม.44 ครั้งนี้เป็นการเร่งกระบวนการผังเมืองเท่านั้น เพราะมีพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมเดิมที่เป็นสีม่วงอยู่แล้ว แต่พื้นที่เดิมที่ทำไปแล้วอย่างท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ได้เริ่มทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ไปแล้ว เนื่องจากกรมโยธาฯไม่ได้มีอำนาจบริหารตรงส่วนงานพื้นที่ทะเล ทั้งหมดจึงเดินหน้าไปตามกฎหมายที่ต้องไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม

ที่มาและภาพประกอบ : prachachat

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร