Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

สนข. เคาะ! เตรียมสร้างรถไฟฟ้ารางเบา เชียงใหม่

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

เชียงใหม่ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ มีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมอันโดดเด่น เป็นจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศ ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศนิยมมาเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมาก และเนื่องด้วยเป็นจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยม การคมนาคมขนส่งสาธารณะของจังหวัดก็ต้องพัฒนาและให้ความสะดวกสบายในการเดินทางแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทั้งในด้านภาพลักษณ์ของจังหวัดและความประทับใจจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ

ล่าสุดรายงานข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ได้ข้อสรุปโดยเลือกใช้ระบบรถรางไฟฟ้ารางเบา มีโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ 2 โครงข่าย คือ

1. โครงข่ายทางเลือกรูปแบบ A

ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน มี 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. ได้แก่
สายสีแดง 12 กม.
สายสีเขียว 12 กม.
สายสีน้ำเงิน  11 กม.

งบประมาณลงทุน  106,895 ล้านบาท
ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 6 ปี และคาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 62-ต้นปี 63 ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 67-68

 

2. โครงข่ายทางเลือกรูปแบบ B

ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งหมด ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 40.57 กม. ได้แก่
สายสีแดง 15.65 กม.
สายสีเขียว 11.11 กม.
สายสีน้ำเงิน  13.81 กม.

งบประมาณลงทุน 28,419 ล้านบาท
ใช้ระยะเวลาสร้าง 3 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 62-ต้นปี 63 แล้วเสร็จปี 64-65

ทั้งนี้ในวันที่ 27 ก.ย. สำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องโครงข่ายที่เลือกโครงข่ายเอหรือบี หรืออาจจะเลือกทั้ง 2 โครงข่าย ขณะเดียวกันแนวโน้มโครงข่ายเอมีความเป็นไปได้มาก เนื่องจากโครงการข่ายเอใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน ที่จะช่วยลดผลกระทบในเรื่องการวิ่งร่วมกันกับรถประเภทต่างๆ บนถนนได้ รวมทั้งโครงข่ายเอมี 3 เส้นทางหลักที่สร้างพร้อมกัน ทำให้เกิดความคุ้มทุนมากกว่า

อย่างไรก็ตามเมื่อได้ข้อสรุปเรื่องโครงข่ายแล้ว หลังจากนั้นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สนข. เพื่อจะนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป

โดยเมื่อผลการศึกษาโครงการแล้วเสร็จ ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นเจ้าของโครงการที่ต้องดำเนินการศึกษารายละเอียดออกแบบในแต่ละโครงข่ายแนวเส้นทาง รูปแบบสถานี รวมทั้งรูปแบบการลงทุนต่อไป และระหว่างนี้หากท้องถิ่นสนใจจะลงทุนสร้างเองให้มาแจ้งความประสงค์ที่กระทรวงคมนาคมได้

ที่มา : dailynews
ภาพประกอบ : prachachat, cm-pmap

 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร