Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

คมนาคมเตรียมพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสัน-แม่น้ำ

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

คมนาคมระดมสมอง พัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสัน-แม่น้ำ ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นเสนอแนวคิดพัฒนาพื้นที่ธุรกิจระดับนานาชาติ และที่พักอาศัยไฮเอนด์

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงาน Working Group เรื่อง แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีมักกะสันและสถานีแม่น้ำ ระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) เพื่อนำเสนอการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน และสถานีแม่น้ำ

ในส่วนของสถานีมักกะสัน MLIT มีแนวคิดในการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงธุรกิจนานาชาติ (Global Business Area as the International Gateway) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่สำนักงาน (office) เนื่องจากสถานีมักกะสันอยู่ใจกลางเมือง และมีความพร้อมด้านโครงข่ายการขนส่ง สำหรับสถานีแม่น้ำมีแนวคิดการพัฒนาเป็นแบบพื้นที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำ (Urban Residential Area of the Waterfront) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้สูง (เช่น นักลงทุนต่างชาติ เป็นต้น) โดยปรับแผนของ รฟท. ที่มุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยควบคู่กับการพัฒนาเชิงพาณิชย์ (commercial) เนื่องจาก MLIT มองว่าพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีความพร้อมด้านโครงข่ายการขนส่ง มีถนนที่เข้าสู่พื้นที่ คือ ถนนเชื้อเพลิงเพียงเส้นเดียว

นอกจากนี้ MLIT ได้นำเสนอแนวทางการผลักดันแผนไปสู่การปฏิบัติให้ได้รวดเร็ว จากประสบการณ์ของฝ่ายญี่ปุ่น ได้มีการตั้ง National Commmitee ซึ่งมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและสำนักเลขานายกรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีก 11 กระทรวง เพื่อผลักดันแผนไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยการออกระเบียบพิเศษ (Act of Special Measures Concerning Urban Renaissance) เผื่อผ่อนปรนข้อกำหนด (restriction) บางประการเผื่อให้สามารถขับเคลื่อนโครงการได้เร็ว

ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ควรให้ภาคเอกชน    เป็นผู้นำในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจะต้องมีข้อกำหนด/ข้อจูงใจ (incentive) ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปตามนโยบายเบื้องต้น (basic policy) ของการพัฒนา มิเช่นนั้น แนวโน้มของภาคเอกชนจะนำไปพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเป็นหลัก เนื่องจากลงทุนต่ำกว่า การพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ หรือสำนักงาน และมี turn back period เร็ว

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร