Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ช่องทางร้องทุกข์ เมื่อบ้านและคอนโดที่ซื้อมีปัญหา

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ใครที่ต้องประสบกับสารพันปัญหาบ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมที่ซื้อมา ไม่ว่าจะเป็นการไม่โอนกรรมสิทธิ์, ก่อสร้างไม่เสร็จ, ธนาคารไม่อนุมัติ ต้องการเงินจองและดาวน์คืน, บ้านชำรุดทั้งที่เพิ่งเข้าอยู่, ซื้อบ้านแต่ไม่ได้บ้าน หรือสร้างบ้านไม่ได้บ้านตามที่ตกลงไว้ หลากปัญหาเหล่านี้ เจอปัญหาทีไร เป็นต้องนั่งกุมขมับว่าจะจัดการหรือร้องเรียนใครกันได้บ้าง จะร้องเรียน สคบ. เรื่องบ้าน หรือฟ้องร้องต่อศาลดี เรามาอ่านรายละเอียดกันครับ

1.  ร้องเรียน สคบ. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. คือหน่วยงานขั้นต้นที่คุณสามารถไปร้องเรียนสิทธิ์เพื่อขอความเป็นธรรมในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยหลังจากที่แจ้งเรื่องร้องเรียนแล้ว สคบ. จะจัดการเรื่องทั้งหมดในเบื้องต้นให้ ทั้งการตรวจสอบไต่สวน สอบสวนทั้งโจทย์และจำเลย หากเป็นกรณีที่บ้านจัดสรรหรือโครงสร้างเสียหายอาจจะมีการตรวจสอบพื้นที่ ออกหมายเรียก ส่งหมายให้เข้ามาชี้แจง และเชิญกรรมการมาไกล่เกลี่ยกัน และจ่ายค่าเสียหายกันไป 

ช่องทางร้องทุกข์บ้านและคอนโดมีปัญหา
ช่องทางร้องทุกข์บ้านและคอนโดมีปัญหา 

ช่องทางร้องเรียน สคบ. เรื่องบ้าน 

  • ร้องเรียน สคบ เรื่องบ้านทางสายด่วน สคบ. 1166 
  • ร้องเรียน สคบ เรื่องบ้าน โดยเดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภคในวันและเวลาราชการ ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 หรือคลิกเส้นทาง Google Map  ที่นี่ 
  • ร้องเรียน สคบ เรื่องบ้านทาง โดยแจ้งเรื่องร้องทุกข์ออนไลน์ ที่นี่

ช่องทางร้องทุกข์บ้านและคอนโดมีปัญหา 

เอกสารประกอบการร้องเรียน สคบ. เรื่องบ้าน 

  • สำเนาบัตรประชาชน 
  • สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการร้องทุกข์ เช่น สำเนาใบเสร็จ สำเนาเอกสารในการซื้อบ้าน รูปภาพต่างๆ เป็นต้น โดยหากไปแจ้งด้วยตนเองให้นำเป็นเอกสารไป แต่หากแจ้งเรื่องร้องทุกข์ออนไลน์ ให้สแกนเป็นไฟล์รูปภาพหรือ pdf เพื่ออัปโหลดไฟล์ในระบบ

โดยปกติแล้วผู้ประกอบการหรือผู้พัฒนาโครงการจะไกลเกลี่ยและยื่นข้อเสนอต่างๆ ให้กับผู้ร้องทุกข์  ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าซ่อมแซมทั้งหมด เสนอบ้านใหม่ในโครงการเดิมให้ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจหรือไม่มั่นใจในบ้านหรือการดูแลของโครงการอีกต่อไป รวมทั้งต้องการเอาผิดกับโครงการด้วยตนเอง สคบ. จะปิดคำร้อง และให้ผู้บริโภคไปดำเนินการฟ้องร้องด้วยตนเอง

2. ฟ้องร้องต่อศาล

  •  ฟ้องศาลแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายที่คุณกับเจ้าของโครงการมีข้อพิพาทกัน หากในกรณีที่บ้านชำรุดเสียหายและมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้อยู่อาศัยจะต้องมีการสืบสวนคดีจากตำรวจ และมีการยื่นฟ้องร้องจากราชการในรูปคดีอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
  • ฟ้องศาลอาญา เพื่อเอาผิดในคดีฉ้อโกง ในกรณีที่บ้านของผู้อยู่อาศัยนั้นๆ มีโครงสร้างที่ผิดกฎหมาย และไม่ปฏิบัติตาม พรบ. การจัดสรรที่ดิน จะมีบทกำหนดลงโทษในหมวดที่ 6 ตามมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน

การซื้อบ้านไม่ว่าจะถูกหรือแพง สิ่งที่ไม่ควรพลาดเลยก็คือเช็กบ้านก่อนโอนให้เรียบร้อย สอบถามข้อมูลจากเซลผู้ขายให้ครบถ้วน หรือหากเป็นการสั่งสร้างก็ต้องหมั่นตรวจสอบ เป็นต้น แต่หากคิดว่าตนเองไม่ถนัดในการตรวจเช็กก็สามารถจ้างมืออาชีพมาช่วยตรวจสอบให้จะดีกว่าครับ เพราะโครงสร้างบางส่วนของบ้านอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่หากอาศัยประสบการณ์และเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญก็จะลดภาวะเสี่ยงที่จะมีปัญหาบ้านตามมาทีหลังได้เยอะเลยล่ะครับ แต่หากปัญหาเกิดแล้วเราสามารถร้องเรียน สคบ. เรื่องบ้านได้ หรือถ้าขั้นกว่าก้คือการฟ้องร้องต่อศาลได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบ https://www.facebook.com/pg/ocpb.official

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร