Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

วางผังพัฒนา อีอีซี สู่สมาร์ทซิตี้เต็มรูปแบบ ปี 2562

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หากพูดถึงจังหวัดภาคตะวันออกของไทยหรือ eec ที่เราคุ้นหูกันดี ก็มักจะนึกถึงจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างเช่น ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา เป็นต้น และความที่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับทะเลและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นชาวไทยเองหรือแม้แต่ชาวต่างชาติ และด้วยความที่เป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของไทยและเป็นเขตเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศอันดับต้นๆ

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงทำให้มีแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็น 1 ใน 5 เรื่องสำคัญสำหรับการพัฒนาพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) คือการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า มีเมืองที่น่าอยู่ที่ดีกว่า จึงเป็นการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาเมืองใหม่ คือการจัดวางระบบผังเมือง และที่อยู่อาศัยที่ทันสมัย คำนึงถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพ มุ่งส่งเสริมด้านการศึกษา การสาธารณสุข การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า น้ำประปา และการคมนาคม เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้ชีวิตของทุกคนในพื้นที่ และมีความกลมกลืนกับวัฒนธรรมในพื้นที่และธรรมชาติ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสมาร์ทซิตี้เต็มรูปแบบประกอบด้วย Smart City (เมืองอัจฉริยะ) คือเมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมือง ประชาชนใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกขึ้น Smart Growth คือ การออกแบบให้เป็นเมืองกระชับ (compact city) มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานและประชากรสามารถเดินและใช้จักรยานได้ และ Low Carbon Society (LCS) คือ สังคมที่ร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะต้องทำการวางผังพัฒนาพื้นที่วางผังเมืองรวมจังหวัด และผังเมืองรวมเมืองและชุมชน รวมถึงการวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ โดยตั้งเป้าปรับปรุงผังเมืองเดิมและวางผังพื้นที่พัฒนาใหม่ให้เสร็จในปีงบประมาณ 2562

สำหรับพื้นที่จะสร้างเมืองใหม่เบื้องต้นมีการกำหนดไว้ 4 พื้นที่ ได้แก่

1. ฉะเชิงเทรา จะเป็นเมืองใหม่น่าอยู่ทันสมัย รองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯ และการเติบโตของเมือง ฉะเชิงเทรามีจุดเด่นของที่ตั้งใกล้ทั้งกรุงเทพฯ และสนามบินอู่ตะเภา การเดินทางสะดวกโดยรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นตัวเชื่อมการเดินทาง โดยหลังการขยายตัวของอุตสาหกรรมในชลบุรีและระยอง ฉะเชิงเทราจะเป็นเมืองเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยจะพัฒนาให้เป็นเมืองพักอาศัยชั้นดี มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่และทันสมัย ในลักษณะเป็น Smart City มีพื้นที่สีเขียว มีการเดินทางสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งมีระบบการจัดการสาธารณูปโภคที่เป็นระดับมาตรฐานสากล  ฉะเชิงเทรายังมีศักยภาพพัฒนาไปสู่เมืองวิจัยมหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่

2. ระยอง แนวคิดในการวางแผนการพัฒนาเมืองใหม่ระยอง ได้รับการกำหนดบทบาทของเมืองให้เป็นฐานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเกษตรกรรมภาคตะวันออก โดยมีแนวคิดให้เป็นเมืองการศึกษาและวิทยาศาสตร์ พัฒนาให้เป็นเมืองในระดับนานาชาติ มีธุรกิจทันสมัย รองรับนักธุรกิจ นักวิจัย และแรงงานขั้นสูง โดยที่ตั้งจะอยู่เลยจากตัวเมืองระยองและใกล้กับอำเภอบ้านค่าย

3. เมืองใหม่พัทยา จะเป็นเมืองใหม่ที่ได้รับการยกระดับสู่แหล่งท่องเที่ยวและเมืองน่าอยู่ระดับแนวหน้าของโลก และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการประชุมระดับโลกศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ และศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับนานาชาติ ตลอดการท่องเที่ยวคุณภาพเชิงธุรกิจ ครอบครัว และสุขภาพ โดยมีแผนการจัดตั้งพัทยาใหม่พื้นที่เดียวกับที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนดพื้นที่ไว้ให้เป็นพัทยาแห่งที่สอง

4. เมืองใหม่อู่ตะเภา จากการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 3 เป็นศูนย์ธุรกิจการบินและการซ่อมบำรุงอากาศยาน ที่เชื่อมต่อกับโครงการพัฒนาท่าเรือจุกเสม็ด สัตหีบ และรถไฟความเร็วสูงจากความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีแนวคิดการพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการบินและโลจิสติกส์ และรองรับธุรกิจการเงินระหว่างประเทศในรัศมีห่างจากสนามบินอู่ตะเภาประมาณ 5 กิโลเมตร ล่าสุดได้มีแนวทางพัฒนา “บ้านฉาง” ให้เป็นเมืองใหม่ด้านพลังงาน ภายใต้แนวคิดเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง นำร่องแห่งแรก โดยจะออกแบบมาให้เป็น net zero energy city ภายใต้การนำระบบไมโครกริดเข้ามาใช้ นอกจากนี้ ยังออกแบบมาให้เป็นเมืองที่ใช้รถไฟฟ้า มีรถไฟฟ้าสาธารณะ มีสถานีชาร์จไฟกระจายทั่วเมือง

คาดว่าทั้ง 4 เมืองใหม่นี้ในอนาคตจะรองรับประชากรในพื้นที่จะเพิ่มขึ้น 5 เท่าใน 10 ปี (เทียบข้อมูลจากปี2559) อยู่ที่ 2.4 ล้านคน เป็น 13.5 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาใหม่จะต้องควบคุมไม่ให้ไปทำลายเอกลักษณ์ของเมืองที่มีอยู่เดิม

ที่มา : bangkokbiznews

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร