Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ออกแบบเมืองเป็นมิตรเพื่อ "คนสูงวัย"

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

อีก 3 ปี ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมคนสูงวัยหรือสังคมคนสูงอายุอย่างสมบูรณ์ คิดเป็นสัดส่วนถึง 20% จากประชากรทั้งหมด การเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 3 คนจากการหกล้ม เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนสูงวัย ส่วนหนึ่งมาจากการออกแบบสิ่งแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ไม่เอื้อต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น พื้นที่ควรเหมาะกับการเข้าถึงได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะในคนสูงวัยที่นั่งวีลแชร์ หรือ อ่างล่างมือที่ควรติดตั้งไว้ในระดับที่ต่ำกว่าปกติเพื่อให้การใช้งานบนวีลแชร์สะดวกและง่ายขึ้นกว่าเดิม

ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปด้วย “วัย” ที่เพิ่มขึ้น การอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมกับตัวเองเป็นเรื่องดีๆ ที่ใครก็อยากให้เกิดขึ้น แต่ใช่ว่า ทุกสถานที่ที่ว่าสวยจะเหมาะกับทุกคน การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์แต่ละช่วงวัยกำลังเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย

ทำอย่างไรจะปรับจากที่ที่ “เคยอยู่” ให้เป็น “น่าอยู่” ขึ้นมาได้  หลายคนนึกถึงการออกแบบที่เรียกกันจนติดปากว่า Universal Design ที่นอกจากจะสวยงามดูดีแล้ว ยังต้องพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สำคัญต้องไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน

ในแนวคิดของ Universal Design มี 3 เรื่องหลักๆ

ความปลอดภัย ส่วนของห้องน้ำ บันได เตียงนอน พื้นต้องเรียบเสมอกัน เพื่อป้องกันเดินสะดุดและหกล้ม
ง่ายต่อการเข้าถึงทุกพื้นที่ใช้สอยได้อย่างสะดวกแม้แต่คนที่นั่งวีลแชร์
สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น สีสัน วัสดุจากธรรมชาติ ที่เสริมบรรยากาศการใช้งาน  

ขณะที่แนวทางการออกแบบเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุจะให้น้ำหนักไปกับ 8 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.ที่อยู่อาศัย 2.การมีส่วนร่วมในสังคม 3.การได้รับการยอมรับในสังคม 4.การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและการจ้างงาน 5.การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 6.การบริการด้านสุขภาพ 7.พื้นที่ภายนอกและตัวอาคาร และ 8.ระบบขนส่งมวลชน

มองกรณีศึกษาการจัดการและบริหารเมืองเพื่อคนสูงวัยจากทั่วโลกก่อนไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูป

เมืองอยู่ง่าย เดินทางง่าย

โทยามะ หนึ่งเมืองในญี่ปุ่นที่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัย (ข้อมูลจาก tcdc)

ผู้พัฒนาเมืองวางกลยุทธ์ให้โทยามะเป็นเมืองที่อยู่ง่าย เดินทางง่าย และเป็นมิตรกับผู้สูงวัย มีการจัดวางระบบขนส่งมวลชนสาธารณะภายในเขตเมืองแทนการใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล

อีกด้านของการพัฒนา โทยามะ ได้ดึงความร่วมมือจากภาคการศึกษา ภาคเอกชน และธุรกิจในเมืองเข้ามาร่วมพัฒนาในโครงการ Walking-Around Community สร้างกิจกรรมเพื่อดึงผู้สูงอายุให้ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น

ออกแบบเมืองเพื่อคนสูงวัยหรือคนวัยเกษียณ

จากเทรนด์ที่เกิดขึ้นกับหลายเมืองทั่วโลกที่หันมาใส่ใจกับคนวัยเกษียณ เร็วๆ นี้จะได้เห็นโครงการในลักษณะ Wellness Mixed-Use ขึ้นในไทย

จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ ดำเนินงานโดยกลุ่มธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จุดเด่นอยู่ที่การออกแบบเมืองที่ดึงเอามิติในเชิงกายภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพเข้ารวมไว้ในที่เดียวกัน ทั้งที่อยู่อาศัยการให้บริการด้านการแพทย์และไลฟ์สไตล์  

ในพื้นที่ 140 ไร่ ริมถนนพหลโยธินขาออก คลองหลวง ปทุมธานี มี 5 อาคารเพื่ออยู่อาศัย ขายกว่า 400 ยูนิต ราคาตั้งแต่ 4-6.4 ล้านบาท

อีกส่วนเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ ทั้งห้องสวดมนต์, ห้องปฐมพยาบาล, ห้องสันทนาการ, พื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้, ทางจักรยาน, ห้องคาราโอเกะ และทางสำหรับรถเข็น

“เมืองสุขภาพ” เป็นความตั้งใจของ แพทย์หญิง กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ ที่ต้องการผลักดันให้เมืองแห่งนี้มีครบเรื่องการสร้างสมดุล “ร่างกาย จิตใจ จิตปัญญา” ซึ่งไม่ใช่เพื่อคนสูงวัยเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาโซลูชั่นต่างๆ เพื่อคนทุกวัยในครอบครัวให้สามารถใช้บริการได้

การสร้างเมืองสุขภาวะที่ดีสำหรับ “คนสูงวัย” น่าจะเป็นอีกแนวโน้มที่เห็นได้มากขึ้นในไทย

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร