เชื่อว่าหลายคนที่มีบ้านเป็นของตนเอง เมื่อถึงคราวหนึ่ง ก็ย่อมต้องการที่จะต่อเติม เสริมขยายขนาดบ้านของตัวเอง ให้มีพื้นที่ใช้สอยหรือห้องหับที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของตนเองมากขึ้น ทั้งบ้านแบบบ้านชั้นเดียวหรือบ้านสองชั้น แต่ก็น้อยคนเช่นกัน ที่จะรู้ว่า การต่อเติมบ้านแม้เป็นบ้านของเราเองนั้น จำเป็นต้องรู้ข้อกฎหมายบางอย่าง ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นบ้านของเราเอง ก็ไม่ได้แปลว่าจะสามารถต่อเติมแบบไหนก็ได้ตามอำเภอใจ เพราะมีข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำกับอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย ทั้งต่อคนในบ้านเอง และความปลอดภัยของสังคมรอบๆบริเวณบ้านนั่นเอง วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมที่อยู่อาศัยกันดีกว่า
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (พรบ.ควบคุมอาคาร) มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า “ดัดแปลง” หมายถึงมีกีเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายของเขต รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่โครงสร้างหรือส่วนต่างๆ ของอาคารที่ก่อสร้างไปแล้วให้เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งการต่อเติมบ้านก็มีความหมายเดียวกัน
เราไม่สามารถต่อเติมที่พักอาศัยจนเต็มทั้งพื้นที่ดินของตัวเองได้ เพราะมีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับระยะร่นและที่เว้นว่างกำกับไว้อยู่ว่า เจ้าของบ้านต้องเว้นระยะพื้นที่ว่าง ระหว่างหน้าตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเอง
โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังนี้
1. ต้องมีระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางอย่างน้อย 3 เมตร
2. ต้องมีที่เว้นว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 2 เมตร
3. ต้องมีขอบเขตอาคาร ไม่เกิน 70% ของที่ดิน โดยนับจากชั้นที่กว้างที่สุด
จากข้อกฎหมายดังกล่าวนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด เช่นเหตุเพลิงไหม้ เมื่อเกิดเหตุดังกล่าว ก็ยังจะพอมีทางหนีทีไล่ ไม่ได้อับทึบไปหมดทุกทางนั่นเอง
การต่อเติมที่อยู่อาศัยหากครอบคลุมพื้นที่เกิน 5 ตารางเมตรขึ้นไป หรือหากจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดจำนวนเสา หรือคาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้วัสดุขนาดที่ต่างไปจากเดิม เจ้าของบ้านจำเป็นที่จะต้องทำเรื่องเพื่อขออนุญาตกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซะก่อน จึงจะดำเนินการต่อเติมได้
เมื่อทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว สิ่งที่จะต้องมีเมื่อเราต้องการต่อเติมที่อยู่อาศัยนั้นก็คือ แบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ ก็จำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณ เพื่อสรุปว่าการต่อเติมนั้นจะสามารถอนุญาตให้ต่อเติมได้หรือไม่ โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักความปลอดภัย
การต่อเติมที่อยู่อาศัยนั้น จำเป็นต้องขออนุญาต หรือบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับรู้ ว่าจะทำอะไรอย่างไร และขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันความขัดแย้งในการการก่อสร้าง เช่นในกรณีที่อาจจะมีการก่อสร้างล้ำเข้าไปในเขตของเพื่อนบ้าน หรืออาจจะมีเสียงดัง น่ารำคาญใจในขณะทำการต่อเติมก่อสร้างนั่นเอง
และนี่ก็คือข้อกฎหมายที่ควรรู้ ก่อนทำการต่อเติมบ้านซึ่งเป็นสิงที่ควรยึดปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ตามมาโดยภายหลัง แล้วคำถามคือ หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว จะมีผลอย่างไรบ้าง ถ้าวันหนึ่งเกิดมีผู้น้องเรียนว่าคุณต่อเติมที่อยู่อาศัยโดยไม่ได้ขออนุญาต ไม่ได้ขออนุญาต เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ 10,000 บาท จนกว่าเจ้าของบ้านจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย รู้อย่างนี้ก็แล้วแต่คุณแล้วล่ะว่าจะยอม ”เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” อยู่หรือเปล่า