ครม.ไฟเขียวเมกะโปรเจ็กต์เพิ่ม 36 โครงการ เฉียด 9 แสนล้าน มาครบทั้งรถไฟฟ้า ทางคู่ ทางด่วน มอเตอร์เวย์ เมล์ไฟฟ้า เรือเฟอรี่ ศูนย์กระจายสินค้า "อาคม" ตั้งแท่นกดปุ่มประมูลทันทีไตรมาสแรก เร่งปั๊มจีดีพีเพิ่ม 1% กระตุ้นเศรษฐกิจปี′60 บูมเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี เชื่อมเดินทางกรุงเทพฯ หัวเมืองภูมิภาค
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 13 ธ.ค. 2559 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนปี 2560 จำนวน 36 โครงการ วงเงิน 895,757.55 ล้านบาท ประกอบด้วย
โครงการทั้งหมดสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งระยะ 20 ปี แบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะละ 5 ปี เริ่มปี 2560-2579 เป็นโครงข่ายเสริมการเดินทางทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และภูมิภาค สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รองรับพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพิ่มโครงข่ายใหม่เชื่อมระบบคมนาคมภายในและระหว่างประเทศ และแหล่งท่องเที่ยว ลดต้นทุนโลจิสติกส์
จ่อประกวดราคา 15 โครงการ
นายอาคมกล่าวว่า สำหรับ 36 โครงการ เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มโครงการ แยกเป็นมีความพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 34 โครงการ แยกเป็น
1. กลุ่มพร้อมให้บริการ 2 โครงการ 1,335 ล้านบาท มีท่าเรือเฟอรี่เชื่อมอ่าวไทยฝั่งตะวันออก-ตะวันตก จากพัทยา-หัวหิน และระบบตั๋วร่วม
2. กลุ่มเริ่มก่อสร้าง 5 โครงการ มูลค่า 54,798.50 ล้านบาท ได้แก่
3. กลุ่มเริ่มประกวดราคา 15 โครงการ มูลค่า 468,564 ล้านบาท ได้แก่
4. กลุ่มเสนอ ครม. และคณะกรรมการ PPP พิจารณา 8 โครงการ มูลค่า 299,278 ล้านบาท ได้แก่
5. กลุ่มเตรียมข้อเสนอแล้วเสร็จ 4 โครงการ มูลค่า 48,985 ล้านบาท ได้แก่
ส่วนกลุ่มโครงการสำคัญที่ต้องผลักดันมี 2 โครงการ ได้แก่
56 โครงการปั้นจีดีพี 1%
สำหรับความคืบหน้า 20 โครงการ ในแผนเร่งด่วนปี 2560 นายอาคมกล่าวว่า เบื้องต้นอนุมัติแล้ว 13 โครงการ เงินลงทุน 525,734 ล้านบาท จะทยอยดำเนินการปี 2559-2565 มีบางส่วนเริ่มก่อสร้างไปแล้ว เช่น รถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น, มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช, บางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด
และ 7 โครงการจำเป็นต้องขยายเวลาต่อเนื่องถึงปี 2560 วงเงิน 874,235 ล้านบาท เช่น ทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ, นครปฐม-หัวหิน, รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) รวมถึงรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ทั้งกรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-โคราช (ไทย-จีน) และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ไทย-ญี่ปุ่น)
รวมแผนปฏิบัติการลงทุนของคมนาคม ปี 2559-2560 มีทั้งหมด 56 โครงการ เงินลงทุน 2.295 ล้านล้านบาท ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งโครงการเร่งด่วนปี 2560 จะกระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 1% ขณะที่การเบิกจ่ายเงินแผนปฏิบัติการปี 2559 และ 2560 ในปีงบประมาณ 2560 จะมีการเบิกจ่าย 149,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2561 จะเพิ่มอีก 1 เท่าตัวอยู่ที่ 298,000 ล้านบาท
ภาพประกอบจาก: bkkcitismart.com
บทความที่เกี่ยวข้อง: