หากคุณกำลังวางแพลนคิดที่จะก่อสร้าง หรือ ต่อเติมบันไดภายในบ้าน ความสูงราวบันได ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งในองค์ประกอบของงานก่อสร้างที่จำเป็นต้องมีการวัด และการคำนวณอย่างถูกต้อง แม่นยำ เพื่อให้งานต่อเติมมีคุณภาพได้มาตรฐาน คุ้มค่ากับงบประมาณที่จ่ายไป
วันนี้ทาง Baania ได้รวบรวมเคล็ดการคำนวณ พร้อมกับสิ่งสำคัญที่ควรรู้ในการก่อสร้าง และต่อเติม มาฝากทุก ๆ ท่าน
รู้หรือไม่ว่า ความสูงของราวบันไดมาตรฐาน ควรจะมีค่าความสูงที่เท่าไหร่ และการวัดค่าต่าง ๆ ของบันได ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ได้การก่อสร้างบันไดที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมความปลอดภัยในการใช้งาน นักออกแบบ วิศวกร ช่างผู้รับเหมา จึงต้องมีการกำหนดค่าความสูงของวัสดุประเภทนี้ ให้ได้ค่ามาตรฐาน เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานความสูงของราวบันได มีค่าความสูงอยู่ที่ 86.4 – 96.5 เซนติเมตร ตามค่าเฉลี่ยมาตรฐานของความสูง ในส่วนของราวจับ จะมีขนาด 5 เซนติเมตร โดยทั้งหมดนี้เป็นค่ามาตรฐานสำหรับการวัด และการคำนวณค่าต่าง ๆ ของช่างผู้รับเหมา และวิศวกร เพื่อให้เหมาะสำหรับการใช้งาน ความปลอดภัย หากคุณต้องการต่อเติมราวบันได ควรทำทั้ง 2 ด้านข้าง เพื่อเป็นราวจับที่สะดวกสำหรับสมาชิกภายในบ้าน
สำหรับขั้นตอนวิธีการวัด และคำนวณความสูงของราวบันไดนั้น เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับช่างผู้รับเหมาะ และนักออกแบบบ้านเป็นอย่างมาก เพราะบันไดไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อความสะดวก และความสวยงามเพียงเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องมีการวัด และคำนวณค่าต่าง ๆ เพื่อให้งานออกดี มีประสิทธิภาพ วันนี้ทางเราจึงได้รวบรวมวิธีการวัด และการคำนวณมาฝากทุก ๆ ท่านกัน โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
ปกติการวัดความสูงของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ภายในบ้าน จะมีวิธีการวัดที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับการวัดความสูงของราวบันไดนั้น จะมีวิธีการวัดโดยการใช้ตลับเมตรในการวัดความยาว และความกว้าง มีหน่วยเป็นงาน ต่อ ตารางเมตร เป็นต้น
ส่วนมากวิธีการคำนวณความสูงของราวบันได จะถูกแบ่งการคำนวณเป็นแต่ละส่วน ยกตัวอย่างเช่น ราวบันได จมูกบันได ขั้นบันได โดยมีหน่วยในการคำนวณอย่างมาตรฐานเลยคือ มิลลิเมตร ซึ่งจะคำนวณทั้งความสูง ความกว้าง ความชัน เพื่อให้ได้ค่าจริง เพื่อการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน
ความกว้างของราวบันได เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของบ้านควรรู้เช่นเดียวกับ ข้อกฎหมายในการก่อสร้างต่อเติมบันได เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสัดส่วน สรีระของผู้ใช้งานภายในบ้าน โดยค่าเฉลี่ยตามมาตรฐานกำหนดราวบันไดจะมีความกว้าง 8 – 15 เซนติเมตร ส่วนความกว้างของบันไดตามขนาดมาตรฐานที่กำหนดคือ 90 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์สำหรับการใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นต้น
สำหรับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างบันได จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
บันไดไม้ ถือเป็นวัสดุที่สวยงามมาก ๆ เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบ้าน โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการความอบอุ่น และลวดลายที่สวยงามจากลายไม้
สามารถพบเห็นได้ตามทางหนีไฟ ทางขึ้น-ลงสถานีรถไฟ หรือ สะพานลอย เป็นวัสดุที่ทนแดด ทนฝนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่แพง วิธีการติดตั้งง่าย สามารถใช้งานได้ยาวนาน
เป็นประเภทวัสดุที่ถูกนำมาใช้งานมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติที่เป็นคอนกรีต จึงแข็งแรง ทนทาน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
อีกหนึ่งข้อสำคัญที่พลาดไม่ได้เลยคือ เรื่องกฎหมายในหมวดหมู่การก่อสร้าง ต่อเติมส่วนต่าง ๆ ของบันไดสำหรับบ้าน เพื่อให้คุณสามารถต่อเติมบันไดบ้านได้อย่างถูกต้องเหมาะสมสำหรับการใช้งาน อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของความปลอดภัย และวัสดุที่นำมาใช้อีกด้วย โดยมีข้อกำหนดไว้ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ในปี (พ.ศ. 2543) สรุปความได้ ดังนี้
ความกว้างของบันไดจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 80 เซนติเมตรขึ้นไป หรือ สามารถเดินสวนกับผู้อื่นได้โดยไม่เฉี่ยวชน เพื่อให้การใช้งานบันไดเป็นไปได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการพลัดตก
บริเวณบันไดบ้าน ไม่ควรมีสิ่งของต่าง ๆ วางตั้ง เพราะวัสดุเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ ขณะเดินขึ้น-ลง บันไดได้ ดังนั้น หลีกเลี่ยงการวางสิ่งกีดขวางบริเวณบันไดอย่างเด็ดขาด
สำหรับความสูงของบันไดนั้น ไม่ควรมีความสูงเกิน 3 เมตร โดยการวัดระดับความสูงจากระดับพื้นบันไดขั้นแรก ไปจนถึงระดับความสูงขั้นสุดท้ายของบันไดบ้าน
ลูกตั้ง คือ การวัดระดับความสูงระหว่างขั้นบันได โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่า ควรมีความสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร เพื่อการใช้งานอย่างเหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน อีกทั้งยังให้ความรู้สึกไม่ชันจนเกินไป อีกด้วย
ลูกนอน คือ ขั้นบันได กำหนดไว้ว่าขั้นบันไดจะต้องมีระยะความกว้างตั้งแต่ 22 เซนติเมตรขึ้นไป จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้งาน เพื่อให้คุณวางเท้าได้ในแต่ละขั้นบันได
สำหรับพื้นบันได จะต้องมีความกว้าง และความยาว เทียบเท่า หรือ มากกว่าความกว้างของบันไดบ้าน ทั้งนี้ ก็เพื่อผู้ใช้งานสามารถพักเท้า และยืนบริเวณจุดนี้ได้อย่างปลอดภัย
อีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญสำหรับบ้านที่มีความสูงเป็นอย่างมาก ก็คือ ชานบันได นั่นเอง กฎหมายกำหนดไว้ว่า หากบ้านที่มีความสูงเกิน 3 เมตร จะต้องมีชานบันได เพื่อหยุดพักในการเดิน และส่วนของชานจะต้องมีความกว้าง และความยาวเทียบเท่า หรือ มากกว่าความกว้างของบันได เป็นต้น
สำหรับการใช้งานของผู้ใช้ในการเดินขึ้น-ลง บันได จะต้องมีความสูงจากขั้นที่ผู้ใช้เดินอยู่ จนถึงด้านบนของบ้าน มากกว่า 1.90 เมตรขึ้นไป โดยกฎหมายข้อนี้ ก็ถูกออกมาเพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้บันไดอีกเช่นกัน
จากบทความนี้คุณจะเห็นได้ว่า ความสูงราวบันได ถือเป็นเรื่องสำคัญในการก่อสร้าง และการต่อเติมเป็นอย่างมาก หากได้รับการวางแผน การเลือกใช้วัสดุ การวัด การคำนวณที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน อาจจะทำให้มีการใช้งานที่ลำบาก หรือ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการวัด และการคำนวณ แบบแม่นยำ เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้งาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในบ้านขณะใช้งานอีกด้วย
ที่มาภาพประกอบ :