Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ชนิดและขนาดสายไฟใช้ในบ้านที่เจ้าของบ้านควรรู้ไว้!

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ความรู้ในเรื่องของขนาดสายไฟสำหรับใช้ในบ้านนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทราบ หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถตั้งรับได้ทัน เพราะบางครั้งหากเกิดเหตุสายไฟรั่ว หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสายไฟ จะได้แก้ไขได้ในเบื้องต้นด้วยตนเอง และเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากสายไฟได้ วันนี้ Baania ได้รวมรวมความรู้เกี่ยวกับขนาดสายไฟ และประเภทการใช้งานมาฝาก ดังนี้

ขนาดสายไฟ ประเภทต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?

สำหรับประเภทของสายไฟนั้น จะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สายไฟแรงดันสูงและสายไฟแรงดันต่ำ สำหรับสายไฟที่ใช้ตามบ้านเรือนอยู่ในประเภทแรงดันต่ำ โดยจะต้องเป็นตามมาตรฐาน มอก.11-2531 หรือ TIS-11-2531 มีหลายขนาดให้เลือกตั้งแต่ 300 โวลต์ ไปจนถึง 750 โวลต์ ตัวสายถูกหุ้มด้วยฉนวนที่ทำจากทองแดงหรืออลูมิเนียม วัสดุฉนวนสายแรงดันต่ำที่นิยมใช้ คือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross –Linked Polyethylene (XLPE)

ประเภทสายไฟ

ประเภทและขนาดสายไฟที่ใช้ในบ้าน

สำหรับประเภทและขนาดของสายไฟนั้น จะต้องเลือกแบบที่เหมาะสมกับขนาดของที่อยู่อาศัย และต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในคุณภาพของสายไฟเป็นหลัก จะต้องได้มาตรฐาน มอก. และมาตรฐานระดับสากล IEC เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ต้องพิจารณารวมไปถึงวัตถุดิบในการนำมาผลิตด้วย อย่างเช่น ตัวนำทองแดง จะต้องเป็นแบบทองแดงบริสุทธิ์ 99.99% ส่วนฉนวนต้องเป็น PVC เกรดพิเศษที่ทนต่ออุณหภูมิความร้อนได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟรั่วไหลออกมาทำอันตรายคนในบ้านได้ โดยจะแบ่งประเภทของสายไฟดังนี้

สายไฟไอวี (IV)

เป็นประเภทสายไฟแกนเดี่ยว ที่มีความทนแรงดันไฟ 300 โวลต์ เหมาะกับการใช้เป็นสายเดินเข้าอาคารหรือที่พักอาศัย ที่ใช้ระบบไฟแบบเฟส 1 แต่จะไม่เหมาะกับการนำมาใช้กับระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์ สำหรับการเดินสายลอย จำเป็นต้องใช้วัสดุฉนวนเป็นตัวยึด ไม่ควรฝังลงดินโดยตรง

สายวีเอเอฟ (VAF)

เป็นสายไฟที่นิยมนำมาใช้ในไทย เป็นแบบทนแรงดัน 300 โวลต์ มีทั้งสายเดี่ยวและสายคู่ รวมถึงสายดินจะแยกเป็น 2 ชนิด คือ แบบ 2 แกนกับ 3 แกน ในส่วนของสายดินจะเป็นสายแบน ที่ด้านนอกมีฉนวนหุ้มเพิ่มความปลอดภัยด้วยการใช้เปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ส่วนสายคู่มักนิยมนำมาเดินสายใต้ดิน หรือเป็นส่วนที่ต่องเดินในท่อฝัง เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าไป สำหรับสายอีเอเอฟไม่สามารถนำมาใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสแรงดัน 380 โวลต์

สายทีเอชดับเบิลยู (THW)

สายไฟชนิดนี้ทนแรงดัน 750 โวลต์เป็นแบบสายเดี่ยว นิยมนำมาใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถใช้ได้ทั้งกับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส แกนของสายจะมีตัวนำทองแดงหลายร้อยเส้นมัดรวมกันเป็นแกนใหญ่ ใช้งานแบบเดินลอยยึดวัสดุฉนวน สำหรับการเดินสายใต้ดิน จำเป็นต้องใส่ท่อฝังเนื่องจากป้องกันน้ำซึม ไม่ควรฝังลงดินโดยตรง

สายเอ็นวายวาย (NYY)

สายไฟประเภทนี้มีให้เลือกทั้งแบบแกนเดี่ยวและหลายแกน สำหรับสายที่เป็นหลายแกนจะทำเป็นแบบกลม สาย NYY ทนแรงดันที่ 750 โวลต์ นิยมใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป เนื่องจากมีความทนต่อสภาพแวดล้อมสูง มีเปลือกหุ้มอีกชั้นเพื่อความปลอดภัย

สายวีซีที (VCT)

สายมีลักษณะกลมมีให้เลือกตั้งแต่ 1 – 4 แกน ทนแรงดัน 750 โวลต์ ใช้ฉนวนและเปลือกเหมือนกับสายประเภท NYY แต่พิเศษกว่าตรงที่มีทองแดงฝอยเส้นเล็กมาร้อยรวมกันเป็นแกน ทำให้อ่อนตัวและทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เหมาะกับการใช้เดินสายเครื่องจักร และเหมาะกับการใช้งานในอุปกรณ์ที่ต้องต่อลงดินเพราะสาย VCT สามารถฝังลงดินโดยตรงได้เลย

สำหรับประเภทสายไฟทั้ง 5 ประเภทนั้น มีการใช้งานที่ต่างกัน ควรเลือกให้เหมาะกับการนำมาใช้งานมากที่สุด คำนึงว่าจะนำไปใช้งานในสถานที่แบบไหน เช่น บ้านเรือนทั่วไปหรือโรงงาน เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน และที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง ข้อกำหนดที่ต้องคำนึง ได้แก่ พิกัดแรงดัน ขนาดสายไฟทนกระแส แรงดันตกและสายควบ เป็นต้น

ขนาดสายไฟในบ้าน

หาขนาดสายไฟ THW ได้อย่างไร?

สำหรับการหาขนาดของสายไฟ THW ที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้น จะต้องมีการคำนวณออกมาเป็นกระแสไฟก่อน ถึงจะสามารถกะเกณฑ์ได้ รวมถึงนำลักษณะของการเดินสายมาพิจารณา เพื่อป้องกันเรื่องแรงดันตกเมื่อติดตั้งไปแล้ว โดยมากแรงดันไฟฟ้าจะอยู่ที่ 230 โวลต์ โดยจะใช้สูตรการคำนวณค่าทางไฟฟ้ากระแสสลับดังนี้

  • A = KW x 1000 / Vx P.F. (1 Phase)  
  • A = KW x 1000 / 1.732 x Vx P.F. (3 Phase)
  • KW. = A x V x P.F. / 1000  (1 Phase)
  • KW. = A x V x 1.732 x P.F. / 1000  (3 Phase)  
    ตัวแปร V คือ แรงดันไฟฟ้า
    ตัวแปร A คือ ค่ากระแสไฟฟ้า 
    ตัวแปร KW คือ กำลังวัตต์
    ตัวแปร P.F คือ ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ 

ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณตามสูตรด้านบน ก็จะได้ขนาดของสายไฟที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานและเข้ากันได้กับ ขนาดปลั๊กไฟ ด้วย

อย่างไรก็ตาม หากว่าท่านไม่เชี่ยวชาญในด้านนี้ การศึกษาข้อมูลไว้เป็นเรื่องที่ดี แต่หากต้องการเปลี่ยนหรือติดตั้งสายไฟ การใช้บริการผู้เชี่ยวชาญจะเหมาะสมและมีความปลอดภัยมากกว่า

สายไฟ THW

วิธีดูแลรักษาสายไฟ

ทุกอุปกรณ์ก็ต้องดูแลรวมถึงสายไฟก็ต้องการการดูแลเหมือนเช่นอุปกรณ์ต่าง ๆ อาจมีบางบ้านที่ละเลย ทั้งที่เรื่องของไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องที่ควรตรวจเช็คอยู่เสมอ ลองมาดูคำแนะนำการดูแลรักษาสายไฟ ที่นำมาเสนอในวันนี้ เพื่อให้สายไฟอยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลต่อคนในบ้านในด้านความปลอดภัยด้วย

  • สำหรับสายไฟที่เก่ามาก ๆ หรือหมดอายุการใช้งานแล้ว ควรเปลี่ยนใหม่ สามารถสังเกตได้จากฉนวนด้านนอก หากแห้ง แตกหรือกรอบบวม แสดงว่าเสื่อมสภาพการใช้งานแล้ว หากยังใช้ต่อ อาจทำให้เกิดอันตรายได้
  • ในการติดตั้งใหม่ ควรคำนึงถึงขนาดสายไฟ โดยจะต้องมีปริมาณกระแสไฟที่ไหลในสาย สัมพันธ์กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรด้วย เพื่อป้องกันการช็อตของไฟฟ้า 
  •  เช็คจุดต่อสายไฟเป็นประจำ หมั่นขันสายไฟให้แน่นและพันฉนวนให้เรียบร้อย หากพบว่ามีฉนวนส่วนใดของสายไฟเสียหาย
  •  ไม่นำสายไฟไปใกล้สารเคมี หรือนำอะไรหนัก ๆ ไปวางทับ เพราะจะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
  • ไม่ควรนำสายไฟไปใกล้กับโครงเหล็ก รั้วเหล็กรวมถึงราวเหล็ก เพราะว่าส่วนที่เป็นโลหะนั้นอาจนำพากระแสไฟให้รั่วไหล เกิดไฟดูดไฟช็อตได้

วิธีดูแลรักษา

เรื่องขนาดสายไฟนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของบ้านควรทราบ เพื่อสามารถนำมาคำนวณการติดตั้ง สะดวกสำหรับการเปลี่ยนสายใหม่ สามารถหาซื้อได้เอง อย่างเช่น การเปลี่ยนสายไฟในระยะสั้น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้บริการช่างให้วุ่นวาย 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร