หลังจากขับเคลื่อนและผลักดันพัฒนา โครงการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มาได้สักพัก รัฐบาล คสช. นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ริเริ่มที่จะพัฒนาและผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC ขึ้น เพื่อขยายการลงทุนในพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "จากอีอีซีสู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ" ในงานสัมมนาเน็กซ์สเต็ปไทยแลนด์ EEC ยุทธศาสตร์ไทยเชื่อมโลกว่า ภายในเดือน พ.ย. หรือไม่เกินต้นเดือน ธ.ค. จะขยายโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ลงไปยังพื้นที่ภาคใต้ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดระนอง คาดว่าจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้นเดือน ธ.ค.2561 นี้
"ขณะนี้การจัดทำรายละเอียดโครงการได้เสร็จแล้ว เหลือแค่ทำวิดีโอพรีเซนเตชั่น คิดว่าจะเสนอเข้า ครม.ได้อย่างช้าไม่เกินต้นเดือน ธ.ค.นี้ และคาดว่าจะเริ่มเดินหน้าโครงการได้ประมาณกลางปีหน้า เพราะรัฐบาลนี้จะวางกรอบเอาไว้ และคิดว่าจะมีการสานต่อถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน ใช้งบไม่มาก เพราะเป็น การลงทุนเพื่อปรับปรุงของที่มีอยู่เดิม" นายกอบศักดิ์กล่าว
นายกอบศักดิ์กล่าวว่า สำหรับโครงการ EEC เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการเปลี่ยน แปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และการฟื้น ตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย ซึ่งตามแผนจะมีการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานใหญ่ 5 โครงการ ได้แก่ สนามบิน, ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3, ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, รถไฟฟ้าความเร็วสูง และศูนย์ซ่อมอากาศยาน
นายคณิศ แสงสุพรรณ
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า หากประเทศไทยไม่มีโครงการนี้ อีก 5 ปีการพัฒนาประเทศจะล้าหลังกว่าประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นการลง ทุนใน EEC จึงไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินลงทุนเป็นสำคัญ แต่จะเน้นเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีมากกว่าอย่างเช่น โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่จะจัดตั้งในโครงการ EEC นั้น เป็น 1 ใน 9 แห่ง ที่เป็นเป้าหมายการลงทุนของแอร์บัส
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นั้น เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับภูมิภาคของประเทศในระยะยาว ปัจจุบันรัฐบาลได้ลงทุน โครงสร้างพื้นฐานทั้งถนนมอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูงและสนามบินเพื่อส่งเสริมให้ EEC เป็นเกตเวย์การขนส่งสินค้าของ CLMV คาดจะมีปริมาณสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาท่าเรือแหลมฉบังจำนวนมากเพื่อรอส่งต่อไปทั่วโลก ทำให้ปริมาณส่งออกสินค้าทางน้ำของไทยเพิ่มขึ้น.
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีการผลักดันและพยายามให้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในเขตระเบียงเศรษฐกิจทั้ง EEC และ SEC เพื่อพัฒนาให้ 2 พื้นที่นี้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและมีความสะดวกในทุกๆ ด้าน เพื่อหวังจะเป็นฮับเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างสมบูรณ์
ไม่พลาดทุกข่าวสาร ทันทุกเรื่องราวอสังหาริมทรัพย์กับ Baania ได้ที่ Line Official >> @baania