Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ตรวจการเดินสายไฟในบ้านแบบง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

บ้านและอาคารเก่า มักจะเดินสายไฟฟ้าบนผนังหรือตามเสาบ้าน เพราะสามารถเดินสายไฟบ้านได้ง่ายและสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องใช้ช่าง แต่บ่อยครั้งมักจะพบว่าการเดินสายไฟในบ้านนั้นเดินไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามเท่าไหร่ แย่ไปกว่านั้นสายไฟบ้านก็มักจะขาดจนต้องหาเทปกาวมาพัน แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้การเดินสายไฟบ้านแบบฝังในผนัง แต่การเดินสายบนผนังก็ยังมีให้เห็นอยู่ ซึ่งหากมีการเดินสายไฟที่เรียบร้อยโดยช่างที่เอาใจใส่ก็จะทำให้บ้านของคุณดูดีขึ้น Baania จึงอยากจะแนะนำวิธีเดินสายไฟในบ้านพร้อมแนวทางการตรวจการเดินสายไฟในบ้านให้ท่านเจ้าของบ้านเอาไปใช้ เผื่อใครต้องการจะเดินสายไฟในบ้านใหม่จะได้ไม่พลาดอะไรไปนะครับ

รู้จักวิธีเดินสายไฟบ้านกันก่อน

ปกติแล้วการเดินสายไฟบ้าน หรือเมื่อเราอยากเดินสายไฟในบ้านใหม่ จะวิธีเดินสายไฟบ้าน 2 วิธีที่นิยมกัน ได้แก่ การเดินสายไฟบ้านบนผนัง (แบบเดินลอย) และการเดินสายไฟบ้านแบบฝังในผนัง

1. การเดินสายไฟในบ้านแบบเดินลอย

การเดินสายไฟในบ้านแบบเดินลอย เป็นการเดินสายไฟบ้านโดยยึดสายไฟให้ติดกับผนังหรือเสาเชื่อมต่อไปยังเต้ารับและเครื่องใช้ไฟฟ้า ข้อดีของการเดินสายไปบ้านแบบนี้คือมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า สามารถตรวจสอบและซ่อมแซมได้ง่ายเพราะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่มีข้อเสียคือหากเดินสายไฟบ้านได้ไม่เรียบร้อยจะทำให้ดูไม่สวยงาม โดยเฉพาะหากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก อาจจะทำให้สายไฟดูรกเต็มผนังบ้านเลยก็ได้ ในปัจจุบันการเดินสายไฟแบบเดินลอยก็มีการร้อยสายไฟผ่านท่อพีวีซีหรือท่อเหล็ก ทำให้ดูเรียบร้อยและสวยงามมากขึ้น

2. การเดินสายไฟในบ้านแบบฝังผนัง

การเดินสายไฟในบ้านแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟบ้านในผนังโดยร้อยสายผ่านท่อสายไฟที่ฝังอยู่ในผนัง ข้อดีของการเดินสายไฟบ้านแบบนี้คือมีความเรียบร้อย ไม่ดูเกะกะ ตกแต่งห้องได้สวยงาม ปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่ว แต่มีข้อเสียคือหากเกิดปัญหาแล้วต้องซ่อม การตรวจสายไฟจึงทำได้ยาก หรือจำเป็นจะต้องทุบเปลือกผนังแล้วค่อยตรวจสอบระบบ ซึ่งหากสายไฟเกิดชำรุดอยู่ในจุดที่มองไม่เห็น อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากไฟรั่วตามมา ช่างบางคนมักง่ายด้วยการซ่อนสายไฟฟ้าในผนังโดยไม่ร้อยสายไฟผ่านท่อ ทำให้สายไฟชำรุดได้ง่ายขึ้น

วิธีเดินท่อสายไฟในแต่ละแบบ

การเดินท่อสายไฟส่วนใหญ่ในบ้านพักอาศัย มักจะเลือกท่อเดินสายไฟที่นิยมนำมาใช้ได้แก่ ท่อพีวีซี โดยที่ท่อพีวีซีที่ใช้สายร้อยไฟมี 2 ชนิด ผลิตจาก uPVC (Unplastizide Poly Vinyl Choride) สามารถใช้ได้กับการเดินสายไฟทั้งแบบเดินลอยและแบบฝังในผนังโดยมีรูปแบบการใช้แตกต่างกันดังนี้

1. ท่อสีเหลือง เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าแบบฝังในผนัง ติดตั้งก่อนฉายปูนปิดผิวหน้า ทำให้ได้ผนังเรียบที่ทาสีหรือติดวอลเปเปอร์ได้ โดยมีมาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 216-2524
2. ท่อสีขาว เหมาะสำหรับระบบท่อแบบบนผนัง (เดินลอย) นิยมใช้สำหรับงานต่อเติม เนื้อสีขาวเข้ากับผนังห้องทำให้ไม่ต้องทาสีทับ ดัดโค้งได้ถึง 90 องศา ทำให้ประหยัดข้อต่อ และง่ายต่อการเตรียมท่อสำหรับเดินสายไฟ โดยมีมาตรฐานระดับสากล คือ JIS C 8430 (มาตรฐานญี่ปุ่น) และ BS หรือ IEC 61386 (มาตรฐานอังกฤษ)

ขั้นตอนการตรวจการเดินสายไฟแบบเดินลอย

1. ตรวจสายไฟฟ้าว่ามีขนาดถูกต้องตามข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือตามที่ระบุไว้ในแบบ และมีสภาพใหม่ เรียบร้อย
2. ตรวจอุปกรณ์ที่ใช้ยึดสายไฟ (เข็มขัดรัดสายไฟฟ้า) ว่ามีความเรียบร้อย มีสภาพใหม่ มีแนวตรง
3. ตรวจสอบวงจรให้ถูกต้องก่อนจะยึดสายไฟติดกับผนัง เพื่อเช็คของมีการเดินต่อไฟถูกต้องและมีไฟฟ้าไหลผ่าน
4. การติดตั้งช่างต้องรีดสายไฟให้ตรงไม่โค้งงอหรือพับ ส่วนการตีเข็มขัดรัดสายไฟ ช่างต้องมีการวัดระยะห่างของตัวรัดให้ห่างเท่าๆ กัน
5. ตรวจดูตามจุดที่มีการหักของสายไฟว่าต้องมีการเก็บสายเรียบร้อย เป็นระเบียบ สายไฟยึดได้สนิทกับผนัง ตัวยึดพับยึดสายไฟได้เรียบร้อย
6. ตรวจสอบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ตำแหน่งเต้าเสียบและสวิตซ์ไฟ สวิตซ์พัดลม อยู่ถูกตำแหน่งและอยู่ในสภาพที่ยึดไว้กับผนังอย่างมั่นคง ไม่เอียง
7. ตรวจสอบด้วยการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าว่าสามารถใช้งานได้อย่างปกติ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ขั้นตอนการตรวจการเดินสายไฟบ้านแบบผังผนัง

1. ตรวจชนิดของท่อน้ำว่าเป็นชนิดบางหรือหนาให้ตรงตามมาตรฐานของผู้ออกแบบกำหนด
2. ตรวจดูภายในท่อน้ำ มีตะเข็บมากน้อยเพียงใดว่าจะเป็นอันตรายต่อสายหรือไม่
3. ตรวจสอบฝีมือการทำงานของช่างในการดัดท่อ ต่อท่อ การยึดท่อ ต้องมีความเรียบร้อย เดินท่อได้ระดับ ท่อต้องยึดได้แข็งแรงไม่ขยับเขยื้อนได้ ถ้างานติดตั้งไม่เรียบร้อย ต้องให้ช่างทำใหม่
4. ให้ตรวจดูว่าหลังจากเดินท่อน้ำแล้ว ต้องมีการทำความสะอาดก่อนเดินสายไฟ
5. ตรวจการดึงสายไฟ ช่างต้องระวังไม่ให้ฉนวนของสายไฟเสียหาย
6. หลังจากดึงสายไฟเข้าท่อเรียบร้อยแล้ว ข้อต่อต่างๆ ของท่อต้องไม่หลุดออกจากกัน แล้วดูความเรียบร้อยโดยรวม
7. ตรวจสอบด้วยการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าว่าสามารถใช้งานได้อย่างปกติ แล้วจึงให้ช่างเก็บงานปิดผนังในขั้นตอนอื่นต่อไป

การเดินสายไฟในบ้านเรื่องความสวยงามอาจจะดูเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วการตรวจการเดินสายไฟในบ้านนั้น หลักสำคัญอยู่ที่ความปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้ารั่ว หรือเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้ตามมา จึงจำเป็นที่ท่านเจ้าของบ้านควรตรวจการเดินสายไฟตั้งแต่ขั้นตอนการเดินสายไฟในบ้าน รวมถึงต้องหมั่นตรวจเช็คสายไฟอยู่เสมอ ถ้าสายไฟจุดใดขาดหรือเก่า ควรจะรีบพิจารณาซ่อมแซมโดยด่วนอย่าปล่อยละเลยไว้ ด้วยความเป็นห่วงจาก Baania ครับ

นอกจากนี้ยังมีการเดินสายไฟบ้านแบบเดินลอยที่ร้อยสายไฟผ่านท่อเหล็กเพื่อโชว์แนวการเดินสายไฟให้เหมือนเป็นลวดลายของอาคารไปซึ่งมักพบเห็นในการตกแต่งสไตล์ลอฟท์ (Loft) หรือสไตล์โมเดิร์นที่ต้องการโชว์ความดิบของการใช้วัสดุ ซึ่งการตรวจการเดินสายไฟแบบเดินที่ร้อยผ่านท่อเหล็กจะขอยกยอดไปเล่าในโอกาสถัดไปนะครับ

ส่วนใครที่กำลังจะโอนบ้านใหม่ ลองดูบทความ Checklist ตรวจรับบ้านก่อนโอนได้ที่ลิ้งก์ด้านล่างนี้นะครับ

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร