สังคมผู้สูงอายุในไทยเริ่มเพิ่มขนาดใหญ่เรื่อยๆ วันนี้ Baania ชวนมาทำความรู้จักกับสินเชื่อในอีกรูปแบบที่สอดรับกับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไปในชื่อเรียกว่า Reverse Mortgage
กลางปี 2560 นี้ ในประเทศไทยเริ่มรู้จักสินเชื่อชนิดใหม่สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะออกมาให้เห็น เรียกว่า “Reverse Mortgage” หรือ “เงินกู้จำนองแบบย้อนกลับ” แนวคิดจากนโยบายรัฐที่ต้องการช่วยให้ผู้สูงอายุมีเงินไว้ใช้จ่ายในช่วงบั้นปลายชีวิต
แม้ชื่อจะถูกเรียกว่าเป็น “สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ” แต่หากลงในรายละเอีดยจะพบว่ามีความแตกต่างจากสินเชื่อที่คุ้นเคยกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเมื่อพิจารณาตามธุรกรรมแล้วน่าจะเป็นการขายบ้านล่วงหน้าให้ธนาคาร เพื่อแลกกับเงินที่ได้รับเป็นงวดๆ มากกว่า ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้ประโยชน์จากสินเชื่อใหม่ตัวนี้อย่างเข้าใจ Baania จะพามาคุณไปทำความรู้จักกับแง่มุมลึกๆ ของสินเชื่อคนวัยเกษียณชนิดนี้กัน
Reverse Mortgage แปลความหมายแบบตรงตัวจะหมายถึงการกู้จำนองบ้านแบบย้อนกลับ ซึ่งที่เรียกกันเช่นนี้เป็นเพราะมีลักษณะการทำงานที่ตรงกันข้ามกับการกู้จำนอง (Mortgage) นั่นเอง หากเป็นการกู้จำนองบ้านแบบปกติ ผู้กู้จะต้องเป็นฝ่ายจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ให้กับสถาบันการเงินที่ให้กู้ แต่สำหรับ Reverse Mortgage แล้วจะตรงกันข้าม คือสถาบันการเงินจะเป็นฝ่ายต้องจ่ายเงินให้กับผู้กู้เป็นงวดๆ แทน รวมทั้งอาจจะกันวงเงินจำนวนหนึ่งไว้สำหรับการเบิกใช้ในยามฉุกเฉินเพิ่มเติมให้ด้วย
เมื่อนำบ้านเข้าขอสินเชื่อ Reverse Mortgage และหลังจากได้เงินเอามาใช้แล้ว ผู้กู้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินคืนใดๆ เลย จนกว่าจะเสียชีวิต แต่สิ่งที่สถาบันการเงินผู้ให้กู้จะได้รับไป ก็คือบ้านหรือที่ดินของผู้กู้ที่เสียชีวิตแล้ว โดยสามารถนำไปขายทอดตลาด หรือขายต่อให้กับทายาทต่อไปได้
อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ลักษณะเดียวกับการขายบ้านล่วงหน้าให้กับสถาบันการเงินแบบผ่อนซื้อ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะส่งมอบบ้านให้เมื่อเจ้าของบ้านเสียชีวิตแล้ว สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดาวน์ และค่างวดให้กับเจ้าของบ้านไปเรื่อยๆ หากผู้กู้ยังไม่เสียชีวิตก็ยังคงมีสิทธิอาศัยอยู่ในบ้านหรือที่ดินหลังนั้นต่อไปได้เรื่อยๆ
โดยปกติแล้วขนาดของเงินรายงวดที่จะได้รับในการทำ Reverse Mortgage จะมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับ 3ปัจจัยด้วยกัน
1.อายุของผู้กู้ตอนยื่นสมัคร ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับเงินงวดมากขึ้นเท่านั้น
2.ปัจจัยด้านที่สอง คุณลักษณะของบ้านและที่ดินนั้นๆ บ้านยิ่งอยู่ในทำเลดี มีมูลค่าสูงมากเท่าไหร่ เงินรายงวดก็จะได้มากขึ้น
3. ลักษณะเงื่อนไขของตัว Reverse Mortgage ที่จะเลือกทำ โดยทั่วไป ในส่วนของเงินรายงวด ผู้กู้จะมีสิทธิเลือกรูปแบบการรับเงินได้หลายรูปแบบ เช่น เลือกรับเงินรายเดือนทุกงวดตลอดชีวิต เลือกรับเงินรายเดือนโดยกำหนดเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เลือกรับเป็นเงินก้อน (lump-sum) หรือเลือกรับเป็นวงเงินสินเชื่อ (line of credit) ก็สามารถทำได้
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเงินกู้คนวัยเกษียณแบบ Reverse Mortgage ก็คือ คนที่ยื่นกู้ไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานรายได้ และไม่ต้องตรวจสุขภาพใดๆ ขอเพียงแค่มีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเองเท่านั้น เมื่อกู้แล้วผู้กู้ยังไม่มีภาระชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยคืนใดๆ อีกด้วย
ตัวอย่างเงื่อนไข Reverse Mortgage ในต่างประเทศ ที่น่าสนใจมีประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ ได้แก่
โดยปกติแล้ว ค่าธรรมเนียมการทำ Reverse Mortgage ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการดำเนินการ(Origination Fee) 2% ของมูลค่า Reverse Mortgage ที่จะได้ ค่าประเมิน(Appraisal Fee) ค่าประกันภัย และค่านิติกรรม(Closing Costs) ในปัจจุบันสถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อประเภท Reverse Mortgage อาทิ ธนาคารออมสิน
เขียนโดย: อนุชา กุลวิสุทธิ์
กูรูด้านการเงินและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ที่ปรึกษาอิสระ วิทยากรและอาจารย์พิเศษ
มีพ็อกเก็ตบุ๊คด้านการเงิน การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
บทความแนะนำ