สำหรับท่านที่ต้องการทำห้องซ้อมดนตรีไว้ที่บ้านสำหรับให้ลูก ๆ ไว้ซ้อมดนตรี หรือสามารถทำกิจกรรมยามว่างร่วมกันในครอบครัว นอกเหนือจากไว้ซ้อมดนตรีแล้ว ยังสามารถใช้เป็นห้องร้องเพลงคาราโอเกะได้อีกด้วย Baania จึงขอเสนอวิธีการทำห้องซ้อมดนตรีที่บ้านด้วยตนเองมาฝากทุกท่านกัน
การทำห้องซ้อมดนตรี ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการป้องกันระบบเสียง ควรมีการป้องกันการรั่วไหลของเสียง และแรงสั่นสะเทือน เพื่อไม่ให้รบกวนคนในบ้านมากเกินไป มีองค์ประกอบสำคัญด้วยกันหลัก ๆ คือ 6 องค์ประกอบ ดังนี้
ห้องซ้อมดนตรีต้องมีห้องพักเสียงเล็ก ๆ ไว้ติดกับห้องซ้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง โดยมีระยะห่างระหว่างประตูอย่างน้อย 3 เมตร
คือ ต้องมีการทำระบบผนังเก็บเสียงเพิ่มจากผนังห้องเดิม ซึ่งมีการนิยมทำใน 2 รูปแบบ ดังนี้
สำหรับห้องซ้อมดนตรีต้องมีการทำพื้นห้อง เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนของเสียงดนตรี โดยเฉพาะห้องที่อยู่ชั้นบน ต้องทำพื้นให้มีประสิทธิภาพมากเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้น พื้นจะสั่นลงมาถึงส่วนล่างของตัวบ้าน
ควรมีรูปแบบของฝ้าเพดานระบบ 2 ชั้นขึ้นไป เพื่อให้สามารถป้องกันเสียงได้ ซึ่งมักนิยมใช้การซ้อนด้วยโครงฝ้า และแผ่นยิปซั่ม
ควรมีการติดตั้งให้มิดชิด ซึ่งส่วนมากนิยมใช้แบบกระจก โดยการติดขอบยาง แบบขนหรือแบบกำมะหยี่ที่ขอบประตูและหน้าต่าง เพื่อป้องกันเสียง
วัสดุที่นำมาใช้ในการรองเครื่องเสียง จะต้องมีความหนานุ่ม เช่น วางลงบนแผ่นฟองน้ำ ผ้าหนา ๆ หรือพรมที่มีความหนาเป็นพิเศษ เป็นต้น
ก่อนมีการจัดทำห้องซ้อมดนตรีที่บ้าน ต้องคำนึงว่ามีความพร้อมในการทำมากน้อยเพียงใด และต้องให้ความสำคัญกับเรื่องไหนบ้าง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานของห้องซ้อมดนตรี ดังนี้
การตั้งงบประมาณไว้สำหรับทำห้องซ้อมดนตรี จะช่วยในเรื่องของการวางแผนทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุก่อสร้าง ตัวเลือกในการซื้อมีมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพที่สามารถเก็บเสียงได้เป็นอย่างดี หรือหากงบน้อย สามารถนำสิ่งของชนิดอื่นมาดัดแปลง เพื่อทดแทนวัสดุบางอย่างได้ เช่น แผงไข่กระดาษสามารถนำมาแทนแผนผนังกันเสียงได้ เป็นต้น
คำนึงถึงลักษณะของห้องที่จะนำมาทำ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อยู่ตำแหน่งไหนของบ้าน หากอยู่ติดกับห้องนอน อาจจะต้องมีการทำห้องเก็บเสียงเป็นพิเศษ
ว่ามีขนาดเท่าไหร่ จะใช้อุปกรณ์อะไรในการทำ เพื่อง่ายต่อการวางแผนงบประมาณ และจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์
ระบบป้องกันเสียงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อไม่เกิดการั่วไหลของเสียงออกไปข้างนอกห้องมากเกินไปจนไปรบกวนคนในบ้าน จึงควรที่จะมีการบุผนังห้อง ทำฝ้าเพดานเพิ่ม รวมถึงพื้นห้อง เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน
คือการลดเสียงก้องภายในห้องเพื่อไม่ให้เสียงนั้นเกิดการสะท้อน ซึ่งอาจจะมีผลในการอัดเสียง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำห้องซ้อมดนตรีที่บ้านของท่าน เป็นอุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายทั่วไป หรืออาจนำของเหลือใช้ภายในบ้านมาดัดแปลงได้ ดังนี้
1.แผ่นยิปซั่ม สำหรับทำผนังและฝ้าเพดาน
2.โครง C65 ขนาดความหนา 40 มม. สำหรับทำระบบผนัง
3.โครงฝ้า 2 ชั้น ISO-NOISE ขนาดความหนา 50 มม.
4.ผนังกันเสียง เช่น แบบแผ่นฟองน้ำ หรือผนังแบบนุ่ม ซึ่งเป็นฉนวนสำหรับกันเสียงที่หุ้มด้วยวัสดุกันชื้น ช่วยป้องกันเสียงได้ดี สามารถใช้ติดร่วมกับแผ่นยิปซั่มได้ เป็นต้น
5.แผงไข่กระดาษ หากไม่อยากลงทุนซื้อแผ่นผนังกันเสียง สามารถใช้แผงไข่ทดแทนได้ แต่จำเป็นต้องใช้ในจำนวนมาก
6.ไม้อัด สำหรับทำพื้นห้อง
7.พรมหรือผ้าหนา สำหรับทำพื้นห้อง
8.อุปกรณ์เครื่องมือช่างสำหรับติดตั้ง เช่น ตะปู ค้อน สว่านเจาะ ฯลฯ
วิธีการเตรียมพื้นที่ก่อนเริ่มทำห้องสำหรับซ้อมดนตรี เริ่มจากเคลียร์ของออกจากห้องให้หมด เพื่อเริ่มทำความสะอาด จนเหลือแต่พื้นที่ว่าง สำรวจบริเวณห้องว่ามีจุดไหนเกิดรอยรั่ว หรือรอยแตกร้าวหรือไม่ หากมี ต้องซ่อมแซมก่อนเริ่มทำโครงสร้างห้องใหม่ เพื่อในแน่ใจ ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องมาแก้ไขหลายรอบ ไม่ว่าจะเป็นการทำผนัง พื้นห้อง และเพดาน เป็นต้น
วิธีการทำห้องซ้อมดนตรีที่บ้านแบบเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
ตัวอย่าง
สำหรับทำห้องซ้อมดนตรีขนาดเล็ก (หรือ 6.4 x 4.6 เมตร เทียบเท่าขนาด 1 ห้องนอน)
1. เตรียมพื้นที่ให้เรียบร้อย
2. ทำระบบผนังเก็บเสียง สามารถทำระบบผนังเก็บเสียงเพิ่มเข้าไปได้ง่าย ๆ เพื่อช่วยเก็บเสียงให้ดียิ่งขึ้น
อุปกรณ์
วิธีการทำ
3. ทำฝาเพดานกันเสียง
อุปกรณ์
วิธีการทำ
4. ติดตั้งประตูและหน้าต่าง หากต้องการเปลี่ยนใหม่
5. ทำพื้นกันสั่น พื้นกันสั่นสะเทือนสามารถทำเพิ่มได้จากพื้นเดิม โดยใช้ไม้อัดปูทับพื้นห้องอีกรอบ และวางพรมลงทับพื้นไม้อัดอีกรอบ เพื่อป้องกันแรงสั่นสะเทือนของเสียงดนตรี
6. ทำความสะอาดห้องก่อนวางเครื่องเสียงดนตรี
7. นำผ้าหนา หรือพรมมารองเครื่องเสียงดนตรี แล้วจัดห้องห้องซ้อมดนตรีได้ตามต้องการ
จริงๆแล้วการทำห้องซ้อมดนตรีที่บ้านไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะท่านสามารถทำเองได้ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญในการทำห้องดนตรี นั้นคือ ระบบของเสียง จึงต้องทำการติดตั้งส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นผนังห้อง เพดาน หรือพื้นห้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเสียง ไม่ให้เสียงรั่วไหลออกไปข้างนอกมากเกินไป และไม่ให้เสียงจากข้างนอกเข้ามารบกวน
ที่มาภาพประกอบ :