Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ที่ไหนคือย่านอุบัติใหม่ของกรุงเทพมหานคร?

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ในเมืองต่างๆ จะมีย่านมีมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นผลจากการรวมกลุ่มของการใช้ที่ดินหรือกิจกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดบรรยากาศที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ในเมืองส่วนใหญ่รวมถึงกรุงเทพมหานคร มักจะประกอบด้วยย่านที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
 

1. ย่านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม



คือย่านที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลานาน มีองค์ประกอบที่มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรมเหลืออยู่ โดยส่วนใหญ่มีสัณฐานเชิงกายภาพที่สัมพันธ์กับภูมิศาสตร์ดั้งเดิมของพื้นที่เมือง และยังคงมีระบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา อาทิ ย่านท่าเตียน ย่านราชดำเนินกลาง ย่านกะดีจีน/วัดกัลยาณ์

2. ย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ



คือย่านที่เป็นพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจและกิจกรรมทางการค้า ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มักมีความหนาแน่นของการใช้ที่ดินและกิจกรรมสูงกว่าพื้นที่เมืองบริเวณอื่นๆ เช่น อาคารแถว อาคารสำนักงาน อาคารสูง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อาทิ ย่านราชประสงค์ ย่านสีลม/สาทร ย่านปทุมวัน/สยามสแควร์ 

3. ย่านที่อยู่อาศัย



คือย่านที่มีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เพื่อการอยู่อาศัย มีรูปแบบที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมทั้งย่านที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวตั้ง อาทิ ย่านสามเสน ย่านปากคลองบางกอกน้อย ย่านอารีย์ ย่านสะพานควาย


4. ย่านศูนย์ราชการ



คือย่านที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่โดยสถาบันของภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักการใช้ประโยชน์ที่เพื่อเป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสำนักงานรัฐ และเพื่อประโยชน์ใช้สอยประเภทอื่นๆ เช่น ที่พักอาศัย เป็นต้น อาทิ ย่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย่านเกียกกาย ย่านสะพานปลา/ยานนาวา เป็นต้น


"แผนที่ย่าน"

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้จัดให้มีการประชุมระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายกลุ่มทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อระดมสมองหารือถือสัญญาณการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของเมือง ผ่านกระบวนการมองภาพอนาคตภายใต้โครงการกรุงเทพฯ 250 โดยได้ผลลัพธ์สำคัญคือ 10 เทรนด์การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2575 และระบุสัญญาณความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ หลายๆ ย่านอาจได้อาจรับการพัฒนาและฟื้นฟูด้วยระบบกิจกรรมและการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเกิดพื้นที่ “ย่านอุบัติใหม่” ของย่านเมืองเก่า กรุงเทพฯ อีก 4 ลักษณะ โดยเพิ่มเติมจากย่านในเดิมที่มีลักษณะดังที่ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น ได้แก่

1. ย่านการผลิตใหม่กลางเมือง



คือย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่ด้วยระบบการผลิตรูปแบบใหม่ โดยมีแนวโน้มเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวที่มีระบบการผลิตขนาดเล็กลงด้วยระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตในอนาคต ย่านที่มีแนวโน้มในการเป็นย่านการผลิตใหม่กลางเมือง ได้แก่ ย่านหัวลำโพง/รองเมือง ย่านปทุมวัน/สยามสแควร์ ย่านกะดีจีน/วัดกัลยาณ์ ฯลฯ

2. ย่านสร้างสรรค์



คือย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่ด้วยกลุ่มคนที่ทำงานด้านศิลปะและงานสร้างสรรค์ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ มักจะแสวงหาพื้นที่พักอาศัยที่ผนวกกับพื้นที่สร้างสรรค์งาน และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิตได้ดีใน ขณะที่มีต้นทุนทางราคาที่ต่ำ ย่านที่มีแนวโน้มในการเป็นย่านสร้างสรรค์ ได้แก่ย่านท่าเตียน ย่านสถานีรถไฟแม่น้ำ ย่านมักกะสัน ฯลฯ

3. ย่านนานาชาติ



คือย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่จากการรวมตัวของประชากรต่างชาติที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัย โดยมีขอบเขตครอบคลุมทั้งย่านที่มีพัฒนาการมาเป็นระยะเวลานาน และย่านที่กำลังอยู่ในระหว่างการสะสมตัวของกลุ่มประชากร ย่านที่มีแนวโน้มในการเป็นย่านนานาชาติ ได้แก่ ย่านบ้านหม้อ/พาหุรัด ย่านกะดีจีน/วัดกัลยาณ์ ย่านบางรัก ฯลฯ

4. ย่านอัจฉริยะ



คือย่านซึ่งขับเคลื่อนโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารบนโครงข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นย่านที่มีขอบเขตของพื้นที่และประชากรที่ไหลลื่น ไม่ยึดติดกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หากแต่ต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถตอบโจทย์เทคโนโลยีดังกล่าวได้ ย่านที่มีแนวโน้มในการเป็นย่านอัจฉริยะ ได้แก่ ย่านสถานีรถไฟแม่น้ำ ย่านสะพานปลา/ยานนาวา ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ย่านอุบัติใหม่เหล่านี้ มักจะไม่ได้เกิดในพื้นที่ที่ไม่ได้มีลักษณะเฉพาะ แต่มักจะทับซ้อนลงไปในย่านเดิมที่มีอยู่แล้ว กล่าวคือในพื้นที่ย่านเดียวกันอาจมีความเป็นย่านในหลายลักษณะ เช่น ย่านกะดีจีน/วัดกัลยาณ์ที่เป็นทั้งย่านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ย่านที่อยู่อาศัย และย่านนานาชาติ ไปพร้อมๆ กัน เป็นต้น



ข้อค้นพบเกี่ยวกับย่านอุบัติใหม่นี้ อาจไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่แต่อย่างใด ซึ่งในความเป็นจริงพื้นที่ย่านเหล่านี้ได้เริ่มเกิดขึ้นจริงแล้วในหลายประเทศทั่วโลก คำถามสำคัญที่เราต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น คือ ย่านอุบัติใหม่เหล่านี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ อย่างไรบ้าง และเราควรเตรียมการปรับตัวเพื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร 
 


 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ <<48a9b7687de7a2e3df55af826c9c8fcc>> โดยสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ดำเนินการศึกษาโดย <<3378cfcdef3e397b80fc43c2a73c9071>> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

ขอบคุณภาพประกอบจาก:  blogspot.com, terrabkk.com, wikimedia.org, inhabitat.com, businesswire.com, thaipublica.org, thaiticketmajor.com, pantip.com, thevrexperts.com, ytimg.com, haaksquare.com

บทความที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร