Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

มาตรฐานหนีไฟเรื่องความปลอดภัยที่ควรรู้

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หากพูดถึง “ทางหนีไฟ” ก็คงไม่มีใครไม่รู้จักเนื่องจากเป็นหนึ่งในเส้นทางที่ผู้ใช้อาคารควรรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารที่มีการใช้เป็นประจำและมีอายุการใช้งานเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นหอพัก อะพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม ตึกอาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า สถายันเทิง โรงงานและบริษัทฯ หรือสถานที่อื่น ๆ ตามข้อกำหนดซึ่งถือเป็นเรื่องที่ควรศึกษา ทำความเข้าใจและฝึกซ้อมเป็นประจำตามกฎหมายกำหนดคือปีละครั้งเพื่อช่วยให้คุณสามารถออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยซึ่งทราบหรือไม่ว่านอกจากบันไดหนีไฟแล้วยังมีมาตรฐานหนีไฟเกี่ยวกับอะไรบ้างด้วยข้อสรุปจากกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยเกี่ยวกับเส้นทางหนีไฟที่คุณควรรู้  

1. รู้จักกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานหนีไฟ

กฎหมายที่นิยมใช้สำหรับกำหนดมาตรฐานการหนีไฟก็คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้นั่นเอง 

กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานหนีไฟ

2. สถานที่ที่ถูกกำหนดให้มีเส้นทางหนีไฟ

  • ตามกฎกระทรวงปี 43 กำหนดอาคารสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปหรือมีความสูงไม่เกิน 23 เมตร ทั้งยังรวมถึงคอนโดประเภท Low-Rise ที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตรหรือส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 8 ชั้น
  • ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมาหานครเรื่องการควบคุมอาคารปี 44 กำหนดให้อาคารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง หรือดัดแปลง อาทิ ห้างสรรพสินค้า โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หอประชุม ตลาด ท่ากาศยาน สถานีขนส่งมวลชน รวมไปถึงอาคารสาธารณะที่มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้นขึ้นไป หรืออาคารใด ๆ ที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปต้องจัดให้มีทางหนีไฟอย่างน้อย 1 ทางที่นอกเหนือจากทางปกติตามที่แต่ละอาคารได้กำหนด
  • ตามกฎกระทรวงปี 35 ฉบับที่ 33 โดยออกความตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี 2522  เกี่ยวกับอาคารสูงซึ่งหมายถึงอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไปโดยการวัดจากตำแหน่งระดับพื้นที่ดินถึงชั้นดาดฟ้า หรือการวัดจากระดับพื้นดินไปจนถึงยอดระดับชั้นสูงสุดสำหรับในกรณีที่อาคารทรงปั้นหยา หรือทรงจั่ว นอกจากนี้ยังรวมถึงคอนโด High-Rise ซึ่งจะมีรายละเอียดเนื้อหาข้อหนดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอาคารสูงมีการออกแบบที่ซับซ้อนมากขึ้นและการอพยพคนที่ยากขึ้นกว่าเดิม

 สถานที่

3. ข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรฐานหนีไฟที่ควรรู้

ขอยกตัวอย่างกฎหมายที่นิยมในสถานที่ทำงานเพื่อการจัดการบริหารด้านความปลอดภัยอันได้แก่ “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕” โดยขอสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

  1. สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยพร้อมป้ายเกี่ยวกับการดับเพลิง อพยพหนีไฟ หรือป้ายปิดประกาศที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  2. ต้องจัดให้มีเส้นทางหนีไฟอย่างน้อยชั้นละ 2 เส้นทางพร้อมแสงสว่างที่เพียงพอและใช้เวลาในการซ้อมอพยพหนีไฟไม่เกิน 5 นาที กรณีที่อาคารมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปควรมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้
  3. ต้องจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงขั้นต้นในทุกส่วนของอาคาร รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์ดับเพลิงทั้งหมดให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานอยู่เป็นประจำ
  4. นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40  ได้รับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวงฯนี้

ต่อมาเป็น “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยใน
โรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒” โดยขอสรุปสาระสำคัญดังนี้

  1. ต้องมีระบบสำรองจ่ายไฟสำหรับระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้ไม่น้อยกว่า 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง
  2. ต้องมีน้ำสำหรับการดับเพลิงเพียงพอที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ฉีดน้ำดับเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 30 นาที  
  3. ต้องมีการบำรุงและทดสอบระบบอุปกรณ์ดับเพลิงทั้งหมดตามระยะเวลาที่กำหนด อาทิ การทดสอบสัญญาณแจ้งเตือนอย่างน้อยเดือนละครั้ง

สุดท้ายตาม “กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการควบคุมอาคาร พ.ศ.2522” โดยขอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับบันไดหนีไฟ ดังนี้

  1. อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้นแต่ไม่เกิน 23 เมตรควรจัดให้มีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 1 แห่งซึ่งต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและบันไดหนีไฟนั้นจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ
  2. บันไดหนีไฟต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 เซนติเมตรเว้นแต่บ้านแถวตึกที่สูงไม่เกิน 4 ชั้นให้มีบันหนีไฟความลาดชันเกิน 60 องศาได้และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
  3. สำหรับบันไดหนีไฟภายนอกอาคารต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตรและต้องจัดให้มีผนังส่วนบันไดหนีไฟที่พาดผ่านเป็นผนังทึบซึ่งถูกก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่้เป็นวัสดุกันไฟได้อย่างน้อย 90 นาที
  4. สำหรับบันไดหนีไฟภายในอาคารจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตรและต้องมีผนังทึบซึ่งถูกก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่้เป็นวัสดุกันไฟได้อย่างน้อย 90 นาทีกั้นโดยรอบ เว้นอต่ส่วนที่เป็นพื้นที่ของช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟโดยต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคาร โดยอาคารแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่้ปิดสู่ภายนอกในพื้นที่รวมกันไม่เกิน 1.4 ตารางเมตรและต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน
  5. สำหรับประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุกันไฟได้อย่างน้อย 90 นาทีโดยมีความกว้างอย่างน้อย 80 เซนติเมตรและสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตรซึ่งจะต้องทำบานประตูเป็นชนิดผลักออกเท่านั้นและต้องติดตั้งบังคับให้บานระตูปิดเองโดยต้องสามารถเปิดออกได้สะดวกตลอดเวลา ไม่ล็อค หรือใส่กุญแจรวมถึงบานประตูจะต้องไม่มีธรณี หรือขอบกั้น
  6. สำหรับพื้นที่หน้าบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่าความก้างของบันไดและอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อย 1.50 เมตร 
    ซึ่งยังมีกฎหมายอื่น ๆ รวมไปถึงมาตรฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมทั้งไทยและต่างประเทศที่ได้นำเข้ามาใช้เป็นข้อกำหนดเพื่อการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน 

ข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรฐานหนีไฟ

จบลงไปแล้วกับมาตรฐานที่หนีไฟที่ควรรู้ที่ได้นำทุกท่านมารู้จักกับกฎหมายหลายฉบับตั้งแต่พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง หรือประกาศ รวมไปถึงมาตรฐานที่ได้ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนโดยมีเนื้อหาบางส่วนนั้นถูกอ้างอิงมาจากต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางให้สอดคล้องในการปฏิบัติซึ่งสามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ทุกวัยเนื่องจากสามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ตลอดเวลาซึ่งหากรู้วิธี หรือข้อปฏิบัติก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ตัวคุณได้มากขึ้น รวมไปถึงคนรอบข้าง

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร