จากปัญหาการจราจรหนาแน่นจากจำนวนรถที่เพิ่มขึ้น ทำให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ต้องโละทิ้งแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจรเมืองในภูมิภาค ที่วางไว้เมื่อ 20 ปีก่อนครบทุกจังหวัดยกเว้น จ.บึงกาฬ เนื่องจากจำนวนรถยนต์ พุ่งกระฉูดเกินความคาดหมาย พร้อมส่งโมเดลรถไฟฟ้าขนาดเบา ไปช่วยแก้ปัญหาตามหัวเมืองใหญ่และจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยม ไล่เรียงได้ดังนี้
จ.ขอนแก่น ภายใต้พลังความร่วมมือของภาคเอกชน และภาครัฐผนึกกำลังกันเหนียวแน่น เคาะงบลงทุนรถรางไฟฟ้าขอนแก่น อยู่ที่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท จะก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา โครงการระยะแรกสายสีแดงวิ่งจากเทศบาลตำบลสำราญเทศบาลตำบลท่าพระ เขตเทศบาลนครขอนแก่น ใช้แนวเกาะกลางถนนมิตรภาพ 8 ช่องไปกลับ ฝั่งละ 4 ช่องทาง สร้างรางระดับดินและบางส่วนเป็นยกระดับ 26 กม. มี 6 สถานี มีแผนเริ่มก่อสร้างปีนี้ใช้เวลา 1-2 ปี
จ.ภูเก็ต มีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาหรือรถรางภูเก็ต สายท่านุ่น-สนามบิน-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 60 กม. มี 23 สถานี ใช้งบลงทุน 23,499 ล้านบาท ใช้เกาะกลางถนนทางหลวง 402 (ถนนเทพกระษัตรี) สร้างรางรถไฟฟ้าในระดับดิน จากสถานีรถไฟท่านุ่นเชื่อมระบบรถไฟ ผ่านสถานที่ราชการสำคัญ จากนั้นเบี่ยงเข้าถนน 4026(ถนนท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต) แล้วเข้าถนน 4031 (ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก) ผ่านสถานีศักดิเดชสิ้นสุดที่สถานีห้าแยกฉลอง วางแผนก่อสร้างภายในปีนี้เช่นกัน
ขณะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นอีกพื้นที่ที่มีปัญหาจราจร อบจ.สงขลา ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกแบบรถรางไฟฟ้าหาดใหญ่ หรือโมโนเรลหาดใหญ่ ว่า จ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้ออกแบบสรุปผลการศึกษาล่าสุด มี 12 สถานี เริ่มต้นจากสี่แยกคลองหวะ ถนนกาญจนวนิช ผ่านสถานีขนส่ง สถานีคลองเรียน สถานี มอ. สถานีคอหงส์ แล้วเข้าถนนเพชรเกษมที่แยกคอหงส์ ผ่านสถานี บิ๊กซี สถานีหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย สถานีวงเวียนน้ำพุ สถานีตลาดกิมหยง สถานีชุมทางรถไฟหาดใหญ่ สถานีหาดใหญ่ในและสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถตู้ตลาดเกษตรหาดใหญ่ 12.54 กม. มูลค่าการลงทุน 15,799 ล้านบาท สร้างรางยกระดับสูง 8 เมตร รอกระทรวงคมนาคมเห็นชอบผลการศึกษาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไปผลักดันให้เริ่มก่อสร้างปี 62
ส่วน จ.นครราชสีมา สนข.ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ศึกษาระบบขนส่งมวลชนนครราชสีมา ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.นี้ ยังไม่สรุปว่าจะใช้รูปแบบรถไฟฟ้าขนาดเบาหรือรถเมล์ด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที ปิดท้ายกับ จ.เชียงใหม่ สถานที่เที่ยวยอดฮิต สนข.ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ เบื้องต้นเสนอให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน เนื่องจากถนนแคบ แต่ยังไม่มีข้อสรุป เรื่องแนวสายทาง.
ขณะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นอีกพื้นที่ที่มีปัญหาจราจร อบจ.สงขลา ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกแบบรถรางไฟฟ้าหาดใหญ่ หรือโมโนเรลหาดใหญ่ ว่า จ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้ออกแบบสรุปผลการศึกษาล่าสุด มี 12 สถานี เริ่มต้นจากสี่แยกคลองหวะ ถนนกาญจนวนิช ผ่านสถานีขนส่ง สถานีคลองเรียน สถานี มอ. สถานีคอหงส์ แล้วเข้าถนนเพชรเกษมที่แยกคอหงส์ ผ่านสถานี บิ๊กซี สถานีหน้าโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย สถานีวงเวียนน้ำพุ สถานีตลาดกิมหยง สถานีชุมทางรถไฟหาดใหญ่ สถานีหาดใหญ่ในและสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถตู้ตลาดเกษตรหาดใหญ่ 12.54 กม. มูลค่าการลงทุน 15,799 ล้านบาท สร้างรางยกระดับสูง 8 เมตร รอกระทรวงคมนาคมเห็นชอบผลการศึกษาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไปผลักดันให้เริ่มก่อสร้างปี 62
ส่วน จ.นครราชสีมา สนข.ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ศึกษาระบบขนส่งมวลชนนครราชสีมา ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จเดือน มี.ค.นี้ ยังไม่สรุปว่าจะใช้รูปแบบรถไฟฟ้าขนาดเบาหรือรถเมล์ด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที ปิดท้ายกับ จ.เชียงใหม่ สถานที่เที่ยวยอดฮิต สนข.ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ เบื้องต้นเสนอให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน เนื่องจากถนนแคบ แต่ยังไม่มีข้อสรุป เรื่องแนวสายทาง.
ที่มา : koratstartup