Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

วิธีปูกระเบื้องพื้น งานช่างง่ายๆ ที่คุณทำเองได้

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การปูพื้นอาคารบ้านเรือนด้วยวัสดุที่เหมาะสมและเข้ากับการออกแบบของตัวอาคาร เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความสวยงามและส่งเสริมบ้านให้แลดูน่าอยู่มากขึ้น กระเบื้องปูพื้นเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่แต่ละบ้านล้วนเลือกสรรด้วยความชื่นชอบ ต้องการเพิ่มความสวยงาม ส่งเสริมตัวบ้านให้โดดเด่น อีกทั้งควรทำความสะอาดง่ายและปลอดภัย บทความนี้จึงขอเสนอ วิธีปูกระเบื้องพื้น งานช่างที่เจ้าของบ้านสามารถเลือกกระเบื้องมาปูเองได้โดยมีวิธีที่ไม่ยุ่งยาก 

หลักการเลือกกระเบื้องปูพื้น 

สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกเกี่ยวกับวิธีปูกระเบื้องพื้นคือ พื้นที่จะปูกระเบื้องและองค์ประกอบของกระเบื้องปูพื้นที่เหมาะสม รวมถึงการใช้งานของพื้นที่บริเวณนั้น ๆ เช่น

  • ห้องน้ำ กระเบื้องปูพื้นควรมีขนาดเล็กเพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัส และมีความสากเพื่อป้องกันการลื่นล้ม การวางจัดเรียงต้องไม่มีซอกมุมมากเกินไปที่ยากต่อการทำความสะอาด สีควรเป็นสีที่อ่อนเพื่อให้ปรากฏคราบสกปรกชัดเจน ง่ายต่อการทำความสะอาด  
  • ห้องครัว กระเบื้องปูพื้น ควรมีขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการทำความสะอาด มีความหนามากเพื่อรองรับการกดทับจากการวางสิ่งของหนัก ควรมีเนื้อสัมผัสที่สากเล็กน้อยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บลื่นล้ม และสีต้องกลมกลืนกับสีของตัวบ้านด้วยเช่นกัน 

หลักการเลือกกระเบื้องวิธีปูกระเบื้องพื้นด้วยตนเอง 

วิธีปูกระเบื้องพื้น มีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ แบบเปียก แบบซาลาเปา และแบบปูนกาว ซึ่งในที่นี้จะขอแนะนำวิธีปูกระเบื้องพื้นแบบเปียก ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ตัวประสานกระเบื้องและพื้นปูนด้วยการฉาบและวางปะกบให้แนบสนิท ซึ่งต่างจากแบบซาลาเปาที่ใช้วิธีป้ายปูนเป็นจุด ๆ คล้ายแต้มซาลาเปาที่หลังแผ่นกระเบื้อง ทำให้เกิดช่องว่างได้ง่าย ส่วนแบบปูนกาวอาจก่อให้เกิดปัญหาหลุดร่อนเมื่อเกิดความร้อนสะสมใต้แผ่นกระเบื้อง วิธีปูกระเบื้องพื้นแบบเปียกจึงเป็นตัวเลือกที่ดี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแตกร้าวหรือน้ำไหลซึม 

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับปูกระเบื้องพื้น 

กระเบื้อง ปูนกาว ปูนยาแนว ถังผสมปูน ถังน้ำสำหรับใส่ปูนที่ผสมแล้ว เกรียงหวี เกรียงโบกปูน และเกรียงยาแนว (ถ้าไม่มีใช้ปลายรองทองฟองน้ำแทนได้) ลูกหมูตัดกระเบื้องหรือมีดตัดกระเบื้องส่วนเกิน อุปกรณ์เว้นร่องกระเบื้อง เชือกเอ็น ตะปูคอนกรีต ค้อน ค้อนยางสำหรับเคาะไล่ระดับกระเบื้องพื้นให้เรียบเสมอกัน กระดาษทราย ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดผนัง และดินสอ  

วิธีการปูกระเบื้องพื้นด้วยตนเอง 

  1. เริ่มจากการตรวจสอบขนาดพื้นที่และคำนวณขนาดกระเบื้องปูพื้น ที่จะใช้ต่อพื้นที่เพื่อการสั่งซื้อกระเบื้องได้ในจำนวนที่ถูกต้อง โดยจัดซื้อในจำนวนที่เพิ่มจากที่คำนวณจากงบประมาณที่ตั้งไว้ได้ประมาณ 10% เพื่อป้องกันหรือทดแทนแผ่นที่ปริแตก หรือเศษพื้นที่ที่ต้องตัดกระเบื้องออกบางส่วน 
  2. สำหรับพื้นใหม่จะต้องเตรียมพื้นผิวที่จะปูให้เรียบ แข็ง และแห้ง กำจัดเศษวัสดุ หรือสิ่งสกปรกออกให้หมด 
  3. ทำการถ่ายวัดระดับน้ำ เพื่อกำหนดระดับการปูและการลาดเอียงของพื้นที่จะให้น้ำไหลระบายไปในทางเดียวกัน ขึงเชือกเอ็นตามแนวระดับการปูพื้นทั้ง 4  มุมของพื้นที่ จากนั้นขึงเชือกเอ็นตามความกว้างยาวของกระเบื้องปูเพื่อกำหนดแนวการปูให้เป็นแนวตรงสวยงาม โดยต้องขึงเชือกทุกครั้งเมื่อเริ่มต้นแถวใหม่ถัด ๆ ไป ทุกครั้ง 
  4. เตรียมปูนแบบเปียกเพื่อปูกระเบื้องพื้น ใช้ส่วนผสมต่อปูน 1 ถุง ใหญ่ จะใช้ทราย 7 บุ้งกี๋ หรือ 14 ถัง  เมื่อคลุกส่วนผสมให้เข้ากันดี เติมน้ำ 4-5 ถัง ผสมวัสดุให้เข้ากัน แล้วค่อย ๆ เติมน้ำ อย่าให้ส่วนผสมข้นหรือเหลวจนเกินไป เพราะการยึดติดพื้นกับแผ่นกระเบื้องพื้นลดลง ใช้ฟองน้ำบีบน้ำลงบนพื้นพอหมาดก่อนลงปูนเปียกเพื่อเป็นตัวประสานระหว่างพื้นกับปูนเปียก 
  5. การลงปูนเปียก โดยใช้หรือเกรียงโบกปูน และใช้เกรียงหวีกรีดปูนให้เป็นร่องพอประมาณ ซึ่งปูนเปียกจะต้องมีส่วนสูงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงที่ต้องการ เช่น ระดับความสูง 4 เซนติเมตร ให้ลงปูนเปียก 2-3 เซนติเมตร เพื่อประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น และเมื่อปูนเปียกกับกระเบื้องปูพื้นประสานกันดีแล้วความสูงต้องไม่เกินระดับเชือกที่ขึงวัดระดับไว้เช่นเดียวกัน
  6. เริ่มปูแผ่นกระเบื้องพื้นให้ชิดด้านในด้านหนึ่งก่อน เพื่อให้เหลือพื้นที่ในการตัดกระเบื้องเพียงด้านเดียว และระหว่างแถว ควรเว้นระยะห่างระหว่างแผ่นกระเบื้องประมาณ 2-3 เซนติเมตรเพื่อให้มีพื้นที่ให้แผ่นกระเบื้องได้ขยับตัวขณะเคาะแผ่นกระเบื้อง ซึ่งจะทำให้แผ่นกระเบื้องไม่เกิดการเกยหรือดันกัน โดยช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องจะใช้ยาแนวลงพื้นปิดร่องหลังจากปูกระเบื้องพื้นเสร็จแล้ว  
  7. ทิ้งไว้ 1 วันให้เซ็ตตัว เพื่อให้กาวปูนและแผ่นกระเบื้องที่เปียกอยู่นั้น แห้งและประสานกันได้ดี หากมั่นใจว่าแห้งสนิทแล้วก็สามารถลงยาแนวได้เลย ซึ่งสีของยาแนวที่นิยมใช้ คือ ดำ ขาว ครีม และฟ้า เป็นต้น การผสมปูนยาแนวควรให้มีเนื้อสัมผัสที่ไม่ข้นหรือเหลวจนเกินไป เพราะถ้าข้นเกินไปจะทำให้ปูนยาแนวกะเทาะหลุดออกได้ง่าย และหากเหลวเกินไป เนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมาก เมื่อแห้งจะทำให้มีตัวกาวยาแนวติดอยู่กับร่องระหว่างกระเบื้องปูพื้นที่น้อยเกินไป เกิดเป็นร่องลึก

วิธีปูกระเบื้องวิธีปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่า 

การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่า ปัจจุบันสามารถปูกระเบื้องทับพื้นเก่าได้เลย โดยไม่ต้องกะเทาะเอากระเบื้องเก่าออกก่อน ทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณลงไปได้มาก แต่ทั้งนี้ พื้นกระเบื้องเก่าจะต้องมีความราบเรียบเสมอกัน หากมีแผ่นใดชำรุด แตก โก่งตัว ให้กะเทาะออกก่อนพร้อมปรับสภาพพื้นให้เท่าเสมอกระเบื้องแผ่นอื่น ๆ ที่ยังสมบูรณ์อยู่ รวมถึงตรวจสอบรอยรั่วซึมกรณีที่พื้นกระเบื้องเดิมอยู่ในที่ที่เปียกชื้น เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น       

ปูกระเบื้องทับกระเบื้องเก่าข้อควรระวังในการปูกระเบื้องพื้น 

  • ควรใช้วิธีการปูกระเบื้องพื้นแบบหยอดปูนกาวลงใต้แผ่นกระเบื้องปูพื้นเป็นจุด ๆ ที่เรียกว่า แบบซาลาเปา เนื่องจากจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพื้นปูนกับแผ่นกระเบื้องปูพื้น เกิดการแทรกซึมของอากาศหรือการไหลซึมของน้ำได้ง่าย ทำให้กระเบื้องปูพื้นไม่คงทน แข็งแรง แตกหักได้ง่าย เมื่อต้องรองรับสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก
  • หากใช้กาวซีเมนต์ในการเป็นตัวประสานแผ่นกระเบื้องปูพื้นกับพื้น ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ต้องโดนแสงแดดจัดตลอดเวลา เพราะจะทำให้เกิดการหลุดร่อนของกระเบื้องปูพื้นได้ง่าย
  • หากกระเบื้องมีความโปร่ง หรือมีช่องว่าง ไม่ควรปูทับไปในทันทีอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดปัญหากระเบื้องปูพื้นแตกร้าว หรือน้ำรั่วซึมได้ในภายหลัง

ข้อควรระวังวิธีการดูแลรักษากระเบื้องพื้น 

เพื่อให้กระเบื้องพื้นอยู่คู่บ้านของเราอย่างคงทนและยาวนาน ควรดูแลรักษาด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้         

  1. ควรเก็บกวาด ดูดฝุ่นพื้นกระเบื้องอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะตามร่องการยาวแนวก่อนการถูพื้น เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่นในร่องยาแนวเป็นคราบดำ
  2. เลือกใช้น้ำยาถูพื้นที่มีความเหมาะสมกับกระเบื้องพื้น และไม่มีคุณสมบัติกัดกร่อนที่รุนแรงที่อาจทำรอยพื้นกระเบื้องและปูนยาแนวได้
  3. คราบเปื้อนแต่ละชนิดจะใช้ผลิตภัณฑ์ในการขจัดคราบที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรศึกษาทำความเข้าใจกับน้ำยาแต่ละชนิดก่อนนำมาใช้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการกัดกร่อนพื้นกระเบื้องได้
  4. ดูแลทำความสะอาดพรมเช็ดเท้าอยู่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันฝุ่นสะสมและตกลงตามร่องปูนยาแนวกระเบื้องที่อาจสะสมฝั่งเป็นคราบติดแน่นได้
  5. หลีกเลี่ยงการวางวัสดุ สิ่งของที่มีความร้อนสูง ที่สัมผัสโดยตรงกับพื้นกระเบื้อง ซึ่งอาจทำให้กระเบื้องเกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น

การดูแลการปูกระเบื้องพื้น จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยวิธีที่แนะนำมาข้างต้น ทั้งวิธีปูกระเบื้องพื้น การปูกระเบื้องพื้นทับของเก่า ข้อควรระวัง และวิธีในการดูแลรักษากระเบื้องพื้น ที่เราแนะนำ ทำให้เห็นว่า งานปูพื้นกระเบื้องเป็นงานช่างที่ง่ายที่คุณก็สามารถทำเองได้ นอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณแล้ว ยังเป็นการใส่ใจและได้คุณภาพของการปูกระเบื้องพื้นตามที่เราต้องการอีกด้วย 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร