สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย จับมือ สถาบันของรัฐ- เอกชน ร่วมแถลง "มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ลดภาระลูกค้าผ่อนคลายหนี้”
นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่าสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันระหว่างสถาบันการเงินและแลกเปลี่ยนนโยบายข้อคิดเกี่ยวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาคของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVTD-19) ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงภาวะหนี้ครัวเรือนของประชาชนที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้สถาบันการเงินที่ให้บริการด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นๆ ของรัฐและเอกชน ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและผลกระทบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในปี 2564 และสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยเล็งเห็นว่า การออกมาตรการดังกล่าวทำให้ประ ชาชนได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก สมาคมจึงได้กำหนดจัดงานแถลงข่าว "มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19" ขึ้นในวันอังคารที่ 23 หฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อสรุปผลการดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวของสถาบันการเงินต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อให้สมาชิกและสื่อต่าง ๆ ได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับและมีแนวโน้มหรือแผนงานดำเนินการอย่างไรต่อจากนี้
นายพงษ์ศักดิ์ คำนวนศิริ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานสินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาตั้งแต่ปี 2563 ภายใต้โครงการ "ธอส.รวมไทย สร้างชาติ" โดยได้ขยายระยะเวลาความช่วยเหลือให้กับลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการ ต่อไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ผ่าน 5 มาตรการ ประกอบด้วย
มาตรการที่ 9, 10, 11 : แบ่งจำยเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น ตัดคอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน โดยทั้ง 5 มาตรการ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรการที่ 13 : พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทำข้อตกลงประนอมหนี้) และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 มาตรการที่ 14 : พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้ หรือตามข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หรือ ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ภายใน 29 ตุลาคม 2564 นี้
นายอิสระ วงศ์รุ่ง รองผู้อำนวยการธนาการออมสิน กลุ่มลูกค้าบุคคล เปิดเผยว่า ในบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อสังคม หรือ scial Bank ของธนาคารออมสิน เล็งเห็นแล้วว่ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ Covid-19 ทำให้มีคนตกงาน ขาดรายได้ หรือบางคนยังมีงานทำ แต่อาจถูกลดเงินเดือน ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ยังคงเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธนาคารจึงได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน เป็นการพักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย 25%-100% หรือพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยถึงธันวาคม 2564 และมาตรการรวมหนี้(Debt Consoidation) เป็นการรวมภาระหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น เช่น สินเชื่อธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ สินเชื่อฐานราก เป็นต้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนให้มีสภาพคล่องไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน อีกทั้งธนาคารได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนทั่วไป ในด้านของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผ่านแคมเปญ "สินเชื่อบ้านกู้ปีนี้ ผ่อนปีหน้า" ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน และภายใน 6 เดือนนี้ ยังไม่ต้องผ่อนเงินงวดคืนให้ออมสิน เป็นการแบ่งเบาภาระ ให้ผู้กู้มีเงินสดไว้ใช้จ่ายในช่วง 6 เดือนแรก จะช่วยให้ผ่านวิกฤตหรือความยากลำบากไปด้วยกัน โดยลูกค้ำจะต้องได้รับการอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 30 ธันวาคม 2564 และจากสถานการณ์น้ำท่วมตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติมที่มีสินเชื่อกับธนาคารทุกประเกท เช่น ลูกค้าที่มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารออมสิน จะได้รับการให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน โดยลูกค้าสามารถติดต่อสาขาธนาคารออมสินที่มีบัญชีสินเชื่ออยู่ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 พร้อมทั้งยังมีมาตรการความช่วยเหลืออื่นๆ ที่ธนาคารได้ดูแลลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
นายชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาการกสิกรไทย เปิดเผยว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยที่ประสบปัญหาจากสถานกาณ์ COVID-19 มี 3 ทางเลือกให้กับลูกค้า คือ 1. ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ย 0.10% เป็นระยะเวลา 3 เดือน 2. ลดยอดผ่อนต่องวด 0% เป็นระยะเวลา 3 เดือน 3. เลื่อนการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือนโดยธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านทาง SMS ภายใน 10 วันทำการ หลังจากลูกค้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว (กรณีลงทะเบียนสำเร็จ ก่อนวันครบกำหนด 10 วัน ธนาคารจะเริ่มปรับยอดผ่อนภายในรอบบัญชีนั้น หากลงทะเบียนสำเร็จหลังจากนั้น ธนาคารจะปรับยอดผ่อนในรอบบัญชีถัดไป) ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถชำระหนี้มากกว่าเงื่อนไขที่เข้าร่วมมาตรการ ได้ เพื่อลดยอดหนี้หรือดอกเบี้ยผ่าน K Plus โดยไม่ต้องแจ้งธนาคาร และสามารถสมัครเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธันวาคม 2564
นายอภิรัฐ เหล่าสินชัย VP ผจก.ศูนย์สินเชื่ออุปโภคบริโทค บมจ.ธนาการกรุงเทพ เปิดเผยว่า ในส่วนของธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารที่ประสบปัญหา COVID-19 ผ่านสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน โดยมีมาตรการลดภาระการชำระหนี้ให้กับลูกค้าผ่าน 4 มาตรการคือ 1. การปรับลดค่างวด 2. พักชำระเฉพาะเงินต้น และพิจารณาให้ชำระดอกเบี้ยเพียงบางส่วน 3. พักชำระเฉพาะเงินต้น และพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย 4. พักชำระค่างวด เพื่อให้ลูกค้าสามารถวางแผนทางการเงินของตนเองในสถานการณ์นี้ และร่วมฝ่าวิกฤตการเงินร่วมไปกับลูกค้าของธนาคาร
นางสาวพัชรินทร์ สุงสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน Retail Lending Product Management ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาโดยตลอดตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงปัจจุบัน เพื่อลดผลกระทบจากโควิด19 ระยะที่ 3 โดยเสนอมาตรการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ตามความสามารถในการชำระหนี้ เช่น การปรับลคค่างวคและหรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ, การพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน เพื่อให้ลูกหนี้สามารถทยอยคืนเป็นขั้นบันไดตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ "ธนาคารมีเจตนารมณ์แน่วแน่ในการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนก้าวผ่านวิกฤตดังกล่าวไปด้วยกัน ด้วยการทำตัวเราให้แข็งแรง ช่วยเหลือลูกค้าให้อยู่รอด และสนับสนุนสังคมให้อยู่ได้" จึงได้ดำเนินการเชิงรุกในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำลูกค้าที่ได้รับผลกระทบที่อยู่ในโครงการช่วยเหลือไปสู่การแก้ปัญหาในระยะยาว โดยลูกค้าที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จจะได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด และคาคว่าจะสามารถฟื้นตัวไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ" ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถขอเข้ารับมาตรการช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ได้ที่ SCB Call Center 02-7777777 หรือที่ SCB Easy App
นายสีห์โสภณ ตติยะวรนันท์ ผู้ช่วยสายงาน Retail Lending ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเผยว่า LH Bank มีความเป็นห่วงลูกค้โดยออกมาตราการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาคของ COVID-19 (สำหรับลูกค้ที่ยังไม่เป็น NPL) โดยมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีที่อยู่อาศัย เป็นหลักประกัน ดังนี้ 1.พักชำระค่างวด (เงินและดอกเบี้ย) 3 งวด 2.ลดค่างวค 3 งวด และพิจารณาการลดอัตราดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสมของลูกค้าแต่ละราย 3.ขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้หรือการลดค่างวด ทั้งนี้ธนาคารพิจารณาการช่วยเหลือเป็นรายกรณี ไป โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสถาบันการเงินสมาชิก มุ่งหวังให้มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาคของ COVID-19 ของสถาบันการเงินสมาชิกทุกแห่ง สามารถเข้าถึงต้องการของลูกค้า และสอดคล้องกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่มในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้ทุกกลุ่มสามารถประดับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ ไปด้วยกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง ยั่งยืน