จากบทความคราวที่แล้ว เราได้ทราบกันไปแล้วว่าบ้านน็อคดาวน์คืออะไร มีข้อควรรู้อะไรเกี่ยวกับการสร้างบ้านน็อคดาวน์กันบ้าน แต่อย่างไรก็ดี ว่าที่เจ้าของบ้านหลาย ๆ คนก็คงอาจสับสนอยู่ในใจว่า หากต้องการประหยัดงบเรื่องคนคุมบ้าน และช่างก่อสร้าง เจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านน็อคดาวน์เองได้หรือไม่ แล้วจะมีวิธีการสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองอย่างไรให้ลงตัวทั้งในเรื่องของความปลอดภัย งบประมาณ และความต้องการ หากใครกำลังสงสัยเหมือนกันอยู่ Baania มีคำตอบ!
การสร้างบ้านน็อคดาวน์ คือ อีกทางเลือกหนึ่งของคนมีที่ดินแต่ไม่มีบ้าน แต่ต้องการสร้างบ้านสักหลังในเวลาที่รวดเร็ว บนงบประมาณที่จำกัด โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างบ้านน็อคดาวน์นั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ประกอบไปด้วย
ในปัจจุบันนี้ ผู้ผลิตหลายเจ้าได้ออกแบบบ้านน็อคดาวน์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทั้งหลัง โดยบ้านที่สามารถทำได้ก็จะมีขนาดไม่เกิน 18 - 24 ตารางเมตร ซึ่งหากเจ้าของบ้านไหนสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยวิธีนี้ก็จะต้องทำการเทปูน วางรากฐาน ตลอดจนเดินงานระบบอย่างระบบไฟฟ้า และน้ำไว้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงเคลื่อนย้าย และเริ่มสร้างบ้านน็อคดาวน์ โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างบ้านน็อคดาวน์แบบนี้จะมีราคาถูก และใช้เวลาในการสร้างไม่นานเพียง 1 - 5 วันเท่านั้น
แต่สำหรับใครที่ต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง หรือต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 24 ตารางเมตรก็สามารถซื้อชิ้นส่วนบ้านน็อคดาวน์ไปประกอบที่หน้างานเองได้ ซึ่งจะมีระยะเวลา และความยากง่ายในการติดตั้งที่แตกต่างกันไปตามขนาดและดีไซน์ของบ้านที่ต้องการ แต่โดยพื้นฐานแล้ว หากเจ้าของบ้านพอมีความรู้ในการก่อสร้าง วิธีการสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองสามารถทำได้ ดังนี้
1. ลงเข็มเพื่อป้องกันการทรุดตัวของบ้าน
สำหรับในบางพื้นที่ที่เป็นดินหินอย่างจังหวัดเพชรบุรี หรือชลบุรีก็ลงเข็มเพื่อวางรากฐานก็อาจไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่หากเป็นพื้นที่ดินลุ่มแม่น้ำอย่างกรุงเทพมหานคร การลงเข็มก่อนสร้างบ้านน็อคดาวน์ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะหากปล่อยไว้ บ้านอาจทรุดตัวได้เร็วกว่าที่คิด
2. เทปูนทำรากฐาน
เมื่อลงเข็มและจัดการโครงสร้างหลักเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านก็ควรเทปูนซ้ำอีกครั้งเพื่อเสริมความแข็งแรง
3. ต่อโครงบ้าน
โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างบ้านน็อคดาวน์ขนาดใหญ่ หรือสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองจำเป็นที่จะต้องใช้โครงเหล็กเพื่อทำโครงบ้านก่อน โดยเจ้าของบ้านสามารถเลือกสเปคของเหล็กเองได้ จากนั้นก็เชื่อมโครงเข้าไว้ด้วยกันตาม
4. ทำผนัง
บ้านน็อคดาวน์นั้นเป็นบ้านที่สร้างขึ้นโดยไม่มีคาน และเสามารองรับน้ำหนัก แต่เราจะใช้ผนังในการรับน้ำหนักแทน ดังนั้น ผนังของบ้านน็อคดาวน์จึงต้องแข็งแรง และสามารถใช้งานได้ทนทานในระยะเวลานาน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผนังบ้านน็อคดาวน์จะทำเป็นผนังเบาที่มาพร้อมกับแผ่นปิด และโครงสร้างที่หลากหลาย เช่น อะลูมิเนียม ไม้ ยิปซัมบอร์ด และไฟเบอร์บอร์ดสูตรต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนนี้ เจ้าของบ้านจะต้องต่อผนัง และทำการปิดรอยต่อให้มิดชิดเพื่อป้องกันความชื้นที่อาจทำให้โครงสร้างผนังจากไม้และเหล็กเสียหายได้ในอนาคต
5. ทำงานระบบ
หลังจากที่ทำผนังและโครงสร้างเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปสำหรับการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองก็คือการวางระบบต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่น ระบบน้ำ ไฟฟ้า วางระบบป้องกันปลวก ตลอดจนการติดตั้งสุขภัณฑ์แบบต่าง ๆ
6. เก็บงานภายใน
ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการสร้างบ้านน็อคดาวน์ก็คือการเก็บงานภายใน อาทิ การทาสี ทำพื้น ปูกระเบื้อง ตลอดจนการวางของตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ นั่นเอง
ข้อดีของสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง
หลังจากที่รู้ถึงวิธีสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองไปแล้ว เรามาพิจารณาถึงข้อดีในการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองกันต่อได้เลย โดยข้อดีของการสร้างบ้านลักษณะนี้จะประกอบไปด้วย
การสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองนั้นสามารถควบคุมระยะเวลาในการก่อสร้างตั้งแต่ 1 - 30 วันตามขนาดและความยากง่ายของบ้านที่ต้องการ เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุน้อยชิ้น จึงทำให้ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใครที่ต้องการความรวดเร็วยิ่งกว่าเดิมก็เพียงซื้อบ้านน็อคดาวน์ที่ออกแบบไว้แล้ว และมีส่วนประกอบทั้งหมดมาสร้างบ้านน็อคดาวน์เองก็จะยิ่งลดเวลาในการก่อสร้างเข้าไปอีก
บ้านน็อคดาวน์สำเร็จรูปมักมาพร้อมกับการจัดวางระบบท่อน้ำประปา และระบบสายไฟมาให้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่แรก ดังนั้น เจ้าของบ้านจึงสามารถติดตั้งแล้วใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องไปจ้างช่างมาทำให้ใหม่ หรือหาจุดที่จะวางระบบเหล่านี้ใหม่ด้วย
ด้วยความที่บ้านน็อคดาวน์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบและตรวจสอบก่อนจะวางขายหรือส่งมอบให้กับลูกค้า ด้วยเหตุนี้ การสร้างบ้านน็อคดาวน์จึงทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาระหว่างก่อสร้าง และถึงแม้จะเป็นการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง ปัญหาระหว่างก่อสร้างก็น้อยเช่นเดียวกัน เพราะโครงสร้างไม่ซับซ้อนเท่าไรนัก ปัญหาจึงน้อยตามมาด้วย
อีกจุดเด่นของบ้านน็อคดาวน์ คือ การที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก เพียงถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกมาแล้วย้ายที่ตั้ง หลังจากนั้นก็ประกอบใหม่กลับมาเหมือนเดิมได้ง่าย ๆ
การสร้างบ้านน็อคดาวน์เองใช้งบประมาณและต้นทุนถูกมากกว่าบ้านแบบปกติ เพราะบ้านมีขนาดเล็ก มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุไม่มาก รวมถึงไม่ต้องจ่ายค่าช่างก่อสร้าง ช่างไฟ หรือช่างประปาจำนวนมาก ๆ อีกด้วย
ไม่เพียงแต่จะพิจารณาข้อดีเท่านั้น แต่เจ้าของบ้านยังต้องรู้จักถึงข้อควรระวังในการสร้างบ้านน็อคดาวน์อีกด้วย เรามาดูข้อต้องระวัง หรือ ข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์กันดีกว่าว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรจะระวังไว้
อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกว่าบ้านน็อคดาวน์มีอายุการใช้งานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบ้านแบบปกติ ซึ่งอาจมีอายุตั้งแต่ 10 - 50 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้าง หากใครที่คิดว่าจะส่งต่อบ้านน็อคดาวน์ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานอาจจะไม่เหมาะเท่าไรนัก
หากใครที่ซื้อบ้านน็อคดาวน์แบบสำเร็จรูปมาตั้ง อาจได้วัสดุที่ไม่ถูกใจและไม่มีประสิทธิภาพ เช่น พื้นบ้าน หลังคาบ้าน ทำให้เราอาจจะต้องมาเสียเงินเพื่อต่อเติมหรือรีโนเวทเพิ่ม แต่หากเป็นการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองปัญหาในส่วนนี้ก็อาจลดน้อยลง เพราะเราสามารถเลือกวัสดุในทุกส่วนเองได้ตั้งแต่ต้น
เมื่อติดตั้งบ้านน็อคดาวน์แล้วจะทำให้รื้อ ต่อเติม และซ่อมแซมทำได้ยากกว่าบ้านปกติ เพราะบ้านน็อคดาวน์ที่ซื้อสำเร็จมาตั้ง พวกระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ หลังคา วงกบต่าง ๆ มักได้รับการออกแบบมาเฉพาะ จึงทำให้แก้ไขได้ยากหากมีปัญหา และยิ่งหากใครเลือกที่เป็นบ้านโครงสร้างเหล็ก หรือไม้แล้วเวลาเกิดสนิม หรือไม้ผุขึ้นมาก็จะซ่อมแซมได้ลำบาก หรือหากไม่วางระบบให้ดีตั้งแต่แรก และมีปลวกขึ้นก็ยากที่จะแก้ไขกว่าบ้านปกติ ซึ่งวิธีการแก้ส่วนใหญ่ คือ การรื้อแล้วสร้างบ้านน็อคดาวน์ใหม่เลย
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว เจ้าของบ้านคนที่ต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง หรือกำลังชั่งใจอยู่จะสร้างบ้านน็อคดาวน์ดีไหมก็ได้ทราบถึงข้อดี ข้อควรระวัง ตลอดจนวิธีสร้างบ้านน็อคดาวน์ด้วยตัวเองไปแล้ว Baania หวังว่าเกร็ดความรู้ที่นำมาฝากนี้จะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจเลือกบ้านในแบบที่ต้องการได้ ซึ่งหากใครกำลังมองหาบ้านและที่ดินที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยที่แท้จริง ก็สามารถติดต่อสอบถาม Baania เพื่อหาพื้นที่ และบ้านในทำเลที่ใช่ในราคาที่ชอบได้ตลอดเวลา