Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ส่อง 5 ทำเลแนวรถไฟฟ้า มีคอนโดรอให้ช็อปเพียบ

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑลไตรมาส 4 ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 รายงานโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่า มี  5 ทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังมีหน่วยคอนโดคงค้างอยู่มากรวมกันเกือบๆ 15,000 หน่วย ได้แก่ 

1.สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) พบจำนวนเหลืออยู่ในตลาด ประมาณ 9,000 หน่วย จากตัวเลขในระดับนี้หากไม่นับซัพพลายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด คาดว่าต้องใช้เวลามากถึง 31 เดือนกว่าจะเคลียร์สินค้าออกได้หมด ขณะที่ตามเกณฑ์แล้วควรใช้เวลาแค่ 18 เดือนเท่านั้น

2. สายสีน้ำเงิน (บางแค–พุทธมณฑล สาย 4) พบ คอนโดเหลือขายอยู่ที่ 900 หน่วย คาดว่าต้องใช้เวลาในการขายอยู่ที่ 31 เดือน

3. สายสีแดงเข้ม(หัวลำโพง-มหาชัย) มีคอนโดเหลือขายอยู่ที่ 1,500 หน่วย คาดว่าต้องใช้เวลา 25 เดือน

4. สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา ) พบ 1,390 หน่วย คาดต้องใช้เวลามากกว่าประมาณ 50 เดือน

5. สายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู ) จำนวนหน่วยเหลือขายที่ 1,400 หน่วย คาดว่าใช้เวลามากมากกว่า 50 เดือน ในการระบายออก

ขณะที่ภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในปี 2561 มีจำนวนรวม 404 โครงการ มีหน่วยในผังรวม 118,271 หน่วย มูลค่าโครงการรวม 538,767 ล้านบาท จำนวนโครงการลดลงร้อยละ 2.7 ขณะที่จำนวนหน่วยและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งมีจำนวน 415 โครงการ 114,194 หน่วย และมีมูลค่าโครงการ 488,537 ล้านบาท 

สำหรับโครงการที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรรมีจำนวน 244 โครงการ ลดลงร้อยละ 9 และมีจำนวน 45,063 หน่วย ลดลงร้อยละ 8.5  โดยมีมูลค่าโครงการ 217,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งมีจำนวน 268 โครงการ 49,241 หน่วย และมีมูลค่าโครงการ 209,905 ล้านบาท

ด้านโครงการอาคารชุดมีจำนวน 160 โครงการ 73,208 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 320,956 ล้านบาท นับเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการ จำนวนหน่วยและมูลค่าโครงการ โดยมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ร้อยละ 12.7 และร้อยละ 15.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีโครงการเปิดขายใหม่จำนวน 147 โครงการ 64,953 หน่วย และมีมูลค่าโครงการ 278,632 ล้านบาท 

“ในภาพรวมตลาดแนวราบไม่น่าห่วง ขณะที่ตลาดคอนโด ภาพรวมไม่รู้สึกว่าโอเวอร์ซัพพลายมากไป มีแค่ในบางทำเลที่อาจจะโอเวอร์ซัพพลายจริง ไม่ใช่ขายไม่ดี แต่มันมีของเยอะเกินไป” ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าว

สำหรับสถานการณ์โดยรวมของปี 2562 ดร.วิชัย มองว่า สถานการณ์ไม่ได้เลวร้าย แต่เป็นการปรับฐานเพื่อให้ไปอยู่ระดับปี 2560 จากที่ร้อนแรงด้วยมาตรการ LTV ทำให้เกิดการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2561 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2562  

โดยภาพรวมปี 2561 มีจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 196,630 หน่วย มูลค่า 565,112 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งมียอดโอนกรรมสิทธิ์ 163,468 หน่วย และมีมูลค่า 427,728 ล้านบาท  

สำหรับแนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในปี 2562 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 161,457 หน่วย มูลค่า 479,904 ล้านบาท หน่วย โดยพบว่า จำนวนหน่วยลดลงร้อยละ 17.9 และมูลค่าลดลงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับปี 2561 ซึ่งมียอดโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 196,630 หน่วย และมีมูลค่า 565,112 ล้านบาท
 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร