Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

อิตาเลียนไทย ผ่านประมูลเตรียมก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองเฟสแรก (กรุงธนบุรี-คลองสาน)

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

เมื่อเดือนธันวาคม 59 ที่ผ่านมา บริษัท กรุงเทพธนาคม (KT) ได้มีหนังสือขอเชิญยื่นข้อเสนอประกวดราคาในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (โมโนเรล) สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน)  ล่าสุดบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)  ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามข้อกำหนดเพียงเจ้าเดียว ซึ่งตอนนี้ KT อยู่ระหว่างต่อรองราคาและให้การก่อสร้างเป็นไปตามที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) คาดว่าภายในเดือนม.ค.นี้ จะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจึงจะเสนอพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้เคที ลงนามในสัญญาจ้าง เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง (ธนบุรี–ประชาธิปก) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนสายรองในเขตฝั่งธนบุรี มีเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตกรุงธนบุรี ผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 โดยให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้ดำเนินการรวมทั้งการเดินรถสัญญาสัมปทาน 30 ปี โดยการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่

ช่วงที่ 1 จากสถานีธนบุรี–ตากสิน ระยะทาง 8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2,512 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จและให้บริการในปี 2561
ช่วงที่ 2 จากสถานีตากสิน–วัดอนงค์คาราม ระยะทาง 9 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1,333 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2566

โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (โมโนเรล) สายสีทอง ช่วงที่ 1  ที่อิตาเลียนไทยผ่านประมูลก่อสร้างไปนั้น มีสถานีทั้งหมด 3 สถานี ได้แก่
1.) สถานีกรุงธนบุรี
2.) สถานีเจริญนคร
3.) สถานีคลองสาน

มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีกรุงธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งทิศเหนือของ BTS สถานีกรุงธนบุรี (หน้าลานจอดรถ Park & Ride ของเอกชน) ไปตามถนนคู่ขนานถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนคู่ขนานถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายอีกทีเข้าสู่ถนนเจริญนคร ผ่านสถานีเจริญนคร ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าโครงการ ICONSIAM ไปตามถนนเจริญนคร ผ่านแยกสำนักงานเขตคลองสาน เข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา สิ้นสุดโครงการที่สถานีคลองสาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน

โดยรถไฟฟ้าเส้นทางนี้จะใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (โมโนเรล) นำทางอัตโนมัติ (AGT) ที่ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบไฟฟ้า  ใช้ล้อยางขนาดเล็กไม่เกิดเสียงดัง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
วิ่งบนโครงสร้างยกระดับ ความจุประมาณ 80-100 คน/คัน ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง คาดว่าจะใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 คัน ความจุโดยประมาณ 200 คน/ขบวน

 

ที่มา : bangkokbiznews
ขอบคุณภาพประกอบจาก: philnews

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร