Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

แก้ปัญหาดินทรุดและ พื้นเป็นโพรงอย่างได้ผลต้องทำอย่างไร?

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ปัญหาดินทรุดหรือพื้นเป็นโพรง ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับเจ้าของบ้านที่ก่อให้เกิดความกังวลใจ และยิ่งในช่วงหน้าฝนยิ่งอันตราย แต่ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเสมอไป สำหรับวันนี้เราจึงนำเคล็ดลับดี ๆ ในการแก้ปัญหาดินทรุด และพื้นเป็นโพรงให้ได้ผลมาฝากแก่คุณผู้อ่านทุกท่าน ดังต่อไปนี้  

1. สาเหตุการเกิดของปัญหาดินทรุดและพื้นเป็นโพรง

หลายบ้านมีความกังวลในปัญหาการทรุดตัวของดิน ขณะที่มีการก่อสร้าง หรือเข้าพักอาศัยแล้วโดยปัญหาทั้งหลายเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งทางสิ่งแวดล้อม และการกระทำโดยมนุษย์ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  • ทรุดตัวโดยธรรมชาติ เกิดขึ้นได้จากลักษณะดินในสภาพพื้นที่นั้น ๆ เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ฝั่งปริมณฑลมีลักษณะดินเป็นดินอ่อนทำให้เกิดการทรุดตัวได้ง่ายกว่าปกติ สังเกตได้จากปัญหาน้ำท่วมในแต่ละปี รวมถึงพื้นที่อาคารหลาย ๆ แห่งจะแสดงมีการทรุดตัวลงเป็นประจำในทุก ๆ ปี
  • ทรุดตัวโดยเครื่องมือ หรือเครื่องจักร จากการใช้งานของเครื่องมือ และเครื่องจักรรอบ ๆ บ้านที่มีเขตการก่อสร้างอาคารสูง หรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ด้วยการตอกเสาเข็มโดยปั้นจั่น (Crane) ทำให้พื้นที่โดยรอบเขตก่อสร้างได้รับการสั่นสะเทือนค่อนข้างแรงส่งผลให้พื้นดินเกิดการขยับตัว และทรุดตัวลงได้นั่นเอง
  • ทรุดตัวจากการถมที่ หลายท่านมีความเร่งรีบในการก่อสร้างซึ่งหลายบ้านต้องมีการถมดินเพื่อปรับระดับ และถ้าหากท่านทิ้งระยะไว้ไม่นานซึ่งปกติจะต้องถมดินทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ปี หากฝนตกหนักจะส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างคานด้านล่าง กับพื้นดินจึงก่อให้เกิดโพรงใต้บ้าน

ดังนั้นก่อนสร้างบ้านต้องศึกษารายละเอียดทั้งลักษณะทางกายภาพ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างบ้านเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

สาเหตุ

2. ดินทรุดกับบ้านทรุดต่างกันอย่างไร

  • ดินทรุด มาจากลักษณะทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากลักษณะของดิน รวมไปถึงฤดูกาล เช่นอาจมีฝนตกหนักทำให้ดินเกิดการอุ้มน้ำไม่ไหวจึงส่งผลให้เกิดการทรุดตัว ซึ่งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เป็นปัจจัยที่มนุษย์มิอาจควบคุมได้
  • บ้านทรุด มักจะเกิดจากการออกแบบงานฐานรากที่ไม่ได้รองรับการทรุดตัวของดิน ซึ่งโดยปกติปัญหานี้มักเกิดขึ้นหลังจากการต่อเติมส่วนต่าง ๆ ของบ้านเข้ามาภายหลัง เช่น พื้นที่ครัว โรงจอดรถ หรือส่วนอื่นๆ ทำให้การรองรับน้ำหนักมากกว่าปกติที่คำนวณไว้ก่อนหน้า อีกทั้งอาจจะเกิดจากขั้นตอน หรือกระบวนการ (process) ของการก่อสร้างที่ไม่ถูกวิธี เช่น งานเสาเข็มที่ไม่เท่ากัน

ดินทรุดกับบ้านทรุด

3. วิธีการแก้ปัญหาขณะก่อสร้าง

  • การถมดิน และปรับพื้นที่ให้ได้ระดับตามความต้องการ รวมถึงการบดอัดดินให้แน่นโดยทิ้งไว้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ก่อนดำเนินงานก่อสร้าง ซึ่งได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าควรจะทิ้งระยะไว้ประมาณ 2-3 ปี หรือภายหลังจากการผ่านฤดูฝนไปสักหนึ่งฤดู
  • ต่อมาระหว่างก่อสร้างจากระดับของพื้นดินไปจนถึงระดับของตัวบ้านต้องมีระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร โดยทั่วไปจะนิยมใช้วิธีหล่อครีบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ต่อจากช่วงท้องคานลงมา
  • กรณีที่ระดับพื้นดินกับตัวบ้านห่างเกิน 1 เมตรให้ทำแนวผนังกั้น และทำพื้นรอบบ้านเพื่อช่วยป้องกันการไหลของดิน  
  • สำหรับพื้นที่ใช้ซักล้างควรใช้เข็มแบบปูพรม และที่สำคัญคือพื้นดินด้านล่างของงานระบบต้องไม่มีระบบอุปกรณ์จำพวกบ่อดักไขมัน หรือถังเก็บต่าง ๆ  

วิธีการแก้ปัญหา

4. วิธีการแก้ปัญหาภายหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น

สำหรับบ้านหลังใดที่เกิดปัญหาพื้นบ้านเป็นโพรงภายหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้วเรามีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากดังนี้

  1. หากโพรงไม่ใหญ่มาก ให้ทำการบังโพรงชั่วคราว ด้วยการนำกระถาง หรือบลอกปูนมาเรียงเป็นแถวแนวติดกันแล้วนำต้นไม้ หรือดอกไม้มาปลูก ตกแต่งด้วยหิน กรวด ทรายต่างๆ นอกจากจะบดบังแล้วยังช่วยเพิ่มความสวยงามได้อีกด้วย
  2. ใช้ขอบคันหิน สำหรับโพรงที่มีขนาดประมาณ 15 - 25 เซนติเมตร แนะนำให้ใช้ขอบคันหินสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยท่านสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้อาจจะเลือกพรรณไม้ในการปลูกลงในขอบคันหินตามความชอบ เช่น ไม้มงคล หรือไม้ประดับ
  3. ทำแผงป้องกันดินไหล สามารถอุดได้ด้วยแผ่นคอนกรีต แผ่นโฟม หรือแผ่นสำเร็จรูปพวกเมทัลชีท ด้วยการขุดดินรอบโพรงลึกกว่ากินที่ใต้ตัวบ้าน จากนั้นนำวัสดุที่ได้กล่าวข้างต้นมาเสียบลงให้แน่น หรืออาจจะปิดทับด้วยการก่ออิฐเพื่อป้องกันดินจากด้านนอกไหลเข้าไป
  4. การเติมดิน และทราย วิธีนี้เหมาะกับโพรงที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ด้วยการขุดดินรอบ ๆ แยกให้เห็นโพรงแล้วเติมดิน และทรายเข้าไปทำให้ระดับสูงกว่าโพรงใต้ได้ แต่ต้องพึงระวังในเรื่องระบบท่อที่อยู่ด้านใน
  5. ปรึกษาวิศวกร หรือผู้ชำนาญเพื่อช่วยในการประเมิน และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงจุด

เพียงเท่านี้ บ้านของท่านก็จะไม่มีโพรงให้ท่านต้องกังวลใจอีกต่อไป หากรู้จักเลือกใช้ และปฏิบัติอย่างถูกวิธี

วิธีการแก้ปัญหาภายหลัง

5. แบ่งตามขนาดการทรุดตัว

สำหรับท่านที่ทราบถึงขนาดความลึก และระดับของการทรุดตัวซึ่งเราได้แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีทรุดตัวไม่เกิน 10 เซนติเมตร สามารถทำได้ด้วยการปรับระดับดินใหม่ให้สูงกว่าระดับดินเติมด้วยการถมดินให้สูงจากพื้นโพรงของบ้านขึ้นมา จากนั้นให้ท่านทำการตกแต่งด้วยการตกแต่งผิวหน้าให้เรียบโดยแผ่นสมาร์ทบอร์ด (Smartboard) หรือการใช้วัสดุอื่น ๆ เข้ามาช่วย
  • กรณีทรุดตัวเกิน 10 เซนติเมตร ภายในระยะเวลา 1 ปีให้ทำการปิดโพรงชั่วคราวตามข้อที่ 4 (1) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาเพียงแค่ปลายเหตุด้วยการปกปิดเบื้องต้น แต่สำหรับท่านที่พอจะมีงบประมาณอาจจะเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น SCG ที่มีโครงการปกปิดโพรงบ้านด้วย Smart Space Covering

ซึ่งจะช่วยให้ท่านหมดกังวลเกี่ยวกับสัตว์มีพิษที่อาจอาศัยอยู่ใต้โพรงบ้านสำหรับบ้านที่มีเด็กออกมาวิ่งเล่น รวมถึงการบริการจากช่างผู้ที่มากฝีมือจะช่วยให้ท่านมั่นใจถึงมาตรฐาน ตลอดจนการดำเนินงาน

ขนาดการทรุดตัว

เป็นอย่างกันบ้างกับเคล็ดลับการแก้ปัญหาดินทรุดและพื้นเป็นโพรงที่เราได้นำมาฝากแก่ทุกท่าน หวังว่าวิธีการที่ได้รวบรวมมานี้จะช่วยยืดระยะเวลาการเกิดโพรง หรือดินทรุดอีกครั้งออกไปได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ทั้งยังหวังว่าจะช่วยลดความกังวลใจให้การอยู่อาศัยนั้นมีแต่ความสุข และปลอดภัย

ที่มาภาพประกอบ :

www.penarthtimes.co.uk

www.nj1015.com

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร