แบงก์ชาติได้สั่งการให้สถาบันการเงินปรับปรุงดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม เพื่อลดภาระประชาชนและปรับปรุงให้เป็นธรรมมากขึ้น โดยเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้ คือ การปรับปรุงวิธีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งแต่เดิมจะคำนวณจากฐานของ “เงินต้นที่เหลือทั้งหมด” ให้คิดบนฐานของ “เงินต้นในงวดที่ผิดนัดจริง” เช่น
นาย ก. กู้เงิน 5 ล้านบาทมาสร้างบ้าน ทำสัญญาผ่อน 240 งวด 20 ปี งวดละ 42,000 บาท ผ่อนจ่ายมาได้ 2 ปี หรือ 24 งวด งวดที่ 25 ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้นาย ก. ชำระหนี้ได้เพียง 30,000 บาท จึงเกิดการผิดนัดชำระหนี้
สรุปก็คือ หากคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระตามแบบเดิมจะทำให้ต้องจ่ายจริงจะสูงมาก และอาจทำให้ลูกหนี้สุจริต เช่นนาย ก.ที่อาจจะเจอปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ครบเต็มจำนวน ท้ายที่สุดต้องผิดนัดชำระเพราะดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ต้องจ่ายมีจำนวนสูงมาก เกินกว่าความสามารถที่จะจ่ายได้ (affordability risk) ในที่สุดก็จะผิดนัดชำระในงวดต่อๆ ไปอีก
สำหรับเกณฑ์ใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ 1 พ.ค. 63 นอกจากนี้ให้สถาบันการเงินกำหนดช่วงระยะเวลาการผ่อนผันไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ (grace period) ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และให้แจงรายละเอียดของยอดหนี้ค้างชำระ เช่น ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ ให้ลูกหนี้ทราบอย่างชัดเจน
ขอบคุณที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย [1] [2]