Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

โครงข่ายรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายเชื่อมกทม.สู่ปริมณฑล

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

โครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนพัฒนาระบบรางระยะที่ 2(M-map2)โดยความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ยังคงได้รับการบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี(ปี2560-2579) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

โดยแนวคิดใน 5 แผนงานยุทธศาสตร์หลักเพื่อสร้างอนาคตประเทศด้านการพัฒนาระบบรางที่ประกอบไปด้วยการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง และการพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ยกให้การพัฒนาระบบรถไฟระหว่างเมืองมีประสิทธิภาพ ด้วยการปรับปรุงอุปกรณ์และโครงข่ายพื้นฐานให้ทันสมัย ด้วยทางขนาด 1 เมตรจากปัจจุบันทางเดี่ยวมีระยะทาง 3,685 กิโลเมตร ทางคู่และทางสาม 358 กิโลเมตร ส่วนในปี 2565 ทางคู่จะมีมากถึง 3,994 กิโลเมตร ส่วนขนาดทาง 1.435 เมตรปี 2565 จะเพิ่มเป็น 1,039 กิโลเมตรและรถไฟฟ้าที่ปัจจุบันมีให้บริการ 4 สายทางระยะทาง 80 กิโลเมตรในปี 2565 จะเพิ่มเป็น 10 สายทางรวมระยะทาง 464 กิโลเมตร

โครงการตามแผนพัฒนาระยะที่ 2 นั้นล่าสุดได้รับการบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ.2560 (ActionPlan) มีโครงการระบบรางอย่างรถไฟไฟและรถไฟฟ้าซึ่งจะมีการเร่งประมูลในปี 2560 นี้มาไล่เลียงกันว่าแต่ละเส้นทางมีความคืบหน้าปัจจุบันอย่างไรบ้าง โดยจำแนกเป็นโครงการที่ผ่านการอนุมัติจากครม.แล้วมีสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-หัวหมาก สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งอาจล่าช้าออกไปอีกเนื่องจากร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเสนอครม.ขอปรับกรอบวงเงินให้เป็นปัจจุบัน

ส่วนโครงการที่เตรียมเสนอครม. มีสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สายสีแดงเข้ม-ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงินลงทุน 2.1 หมื่นล้านบาท สายสีส้ม ตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วงเงินลงทุน 1.23 แสนล้านบาท สายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท และช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 9,803 ล้านบาท และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินลงทุน 3.1 หมื่นล้านบาท

ในส่วนรถไฟทางคู่ 10 เส้นทางนั้น ช่วงประจวบคีรีขันธ์-หัวหิน วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 2.3 หมื่นล้านบาท ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา 5.1 หมื่นล้านบาท ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 7,941 ล้านบาท ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 5.1 หมื่นล้านบาท ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 5.9 หมื่นล้านบาท ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 7.6 หมื่นล้านบาท ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 2.6 หมื่นล้านบาท ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 3.5 หมื่นล้านบาท ช่วงบ้านไผ่-นครพนม กว่า 6 หมื่นล้านบาท รถไฟชานเมือง 2 เส้นทาง คือสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 7,596 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา กว่า 1.9 หมื่นล้านบาท

 

ที่มา :  thansettakij

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร