Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

โคราชหวั่น LRT กระทบจราจร สนข.เตรียมเสนอแบบต่อประชาชนรอบ 3

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หลังจากที่มีข่าวเผยมาว่า ชาวโคราชไม่เอารถไฟรางเบา หรือ Light Rail Transit (LRT) จึงได้มีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจร และแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นแผนที่นำทาง (Road map) ครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรและขนส่งสาธารณะและเพื่อให้การเดินทางสัญจรในจังหวัดนครราชสีมามีความคล่องตัวสามารถเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเป็นรูปธรรม ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลอันจะนำไปสู่การบรรเทาสภาพปัญหาการจราจร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 32,600 ล้านบาท

เภสัชกรจักริน เชิดฉาย อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาได้เปิดเผยว่า ระบบรถไฟรางเบานี้เป็นระบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกและที่สำคัญระบบรางสามารถเข้ามาในเขตเมืองได้ซึ่งขณะนี้โจทย์คือการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของเขตเมืองชั้นใน เนื่องจากเศรษฐกิจในเขตเมืองชั้นในมีลักษณะแย่หรือกำลังจะล่มสลายไป หากมีระบบขนส่งสาธารณะนี้เกิดขึ้น จะทำให้ระบบเศรษฐกิจในเขตเมืองฟื้นคืนกลับมาได้บางส่วน

การเลือกเส้นทางเดินรถนั้น จะสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ขณะนี้มี 3 เส้นทาง แต่เส้นทางที่โครงการจะเริ่มดำเนินการก่อนคือ เส้นทางสายสีเขียวและสายสีส้ม ที่จะผ่านมาในเขตเมืองโดยมีเหตุผลที่ว่าสายสีเขียวมีการเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงที่สถานีหัวรถไฟ ซึ่งตรงนี้เส้นทางมีความสำคัญต้องผ่านถนนมุขมนตรีและเชื่อมต่อมาลานย่าโม ลานย่าโมจะเป็นศูนย์กลางจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้ารางเบาสายสีเขียวกับสายสีส้ม

โดยสายสีเขียวจะมีการวิ่งผ่านเมืองเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งแห่งที่ 2  การที่มีจุดเชื่อมต่อเส้นทางหลักจากสถานีรถไฟความเร็วสูงไปถึงสถานีขนส่งแห่งที่ 1 และ บขส.2 ได้ ผู้โดยสารจะสามารถเดินทางต่อไปสถานที่อื่นได้นอกจากในเมือง ส่วนสายสีส้ม นั้นจะเข้ามาเส้นในเมืองและวิ่งวนอยู่ในเขตเมือง

ระยะที่สองคือสายสีม่วงที่จะวิ่งมาตามถนนสายมิตรภาพ ผ่านเดอะมอลล์ อ้อมไปเทอร์มินอลและไปอ้อมเซ็นทรัลพลาซาใหม่ จากนั้นจะมาบรรจบที่บ้านเกาะและจะมาเชื่อมต่อกับทุกสายที่เป็นส่วนขยายในระยะสุดท้าย

 

ในวันปัจฉิมนิเทศมีชาวโคราชมาร่วมรับฟังด้วยความตื่นตระหนกและกลัวว่าจะหาที่จอดรถไม่ได้เพราะมีการให้ข้อมูลที่ผิด ว่าระบบรางเบาจะไม่สามารถจอดรถได้ทั้งสองฝั่งถนน ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยนายกเทศมนตรีเสนอให้ทดลองวิ่งก่อนว่าจะมีผลกระทบเช่นไรกับประชาชน เช่น ควรจะมีการนำรถบัสที่มีอยู่มาวิ่งในเส้นทางที่กำหนดไว้เป็นเส้นทางรถรางก่อนว่าจะมีผลเป็นอย่างไร

ด้านนายพีรพล หล้าวงษา อาชีพทนายความ ซึ่งเข้าร่วมเวทีปัจฉิมนิเทศด้วย กล่าวว่าต้องกลับมามองดูถึงสิ่งที่จะพัฒนา ส่งเสริมวิถีชีวิตให้ดีขึ้นเพียงใด มีผลกระทบไหม ถึงตอนนี้ต้องเปลี่ยนตัวเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ Strong ให้ได้ จะไม่เอา Smart แต่จะเอา Strong ตนไม่ปฏิเสธระบบขนส่งมวลชน

แต่การที่ประชาชนผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้ารางเบาที่เป็นบริการสาธารณะรูปแบบใหม่นั้น ประชาชนจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย จึงอยากสอบถามว่าผู้รับผิดชอบโครงการจะสามารถตอบโจทย์ด้านภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของประชาชนได้หรือไม่ และถ้าเป็นไปได้จะสามารถปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้ารางเบาให้เท่ากับค่ารถโดยสารสองแถวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้หรือไม่


ผศ.ดร.รัฐพล ภู่บุบผาพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจราจร มทส. หนึ่งในคณะผู้ศึกษาฯ กล่าวว่า ปัญหาเดียวกัน หากมองในอีกมุม โครงการนี้ไม่ได้มองแค่การลดปัญหาการจราจรเท่านั้น แต่ในภาพรวมเราต้องการปรับปรุงเมือง เป็นการใช้โอกาสตรงนี้นำระบบขนส่งสาธารณะเข้ามาพลิกฟื้นเมืองให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

ผศ.ดร.รัฐพล กล่าวอีกว่า หากโครงการนี้ไม่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เช่นเดียวกันกับโครงการอุโมงค์ทางลอด ถ้ามีงบประมาณให้และพร้อมที่จะเสนอเพื่อดำเนินการก่อสร้างให้แต่ประชาชนไม่เอา ไม่เห็นด้วยมีการคัดค้านอย่างเดียว ก็อาจเป็นไปได้ที่เขาจะต้องโยกงบประมาณไปที่อื่นหรือไปทำโครงการที่จังหวัดอื่นแทน

ข้อมูล: www.koratdaily.com , www.koratstartup.com

ภาพ: korat-publctransport, สนข., Koratstartup

 

บทความแนะนำ

รฟท. เล็งขึ้นค่าโดยสารรถรุ่นใหม่ เตรียมยกเลิกรถไฟฟรี

ผุดแลนด์มาร์กใหม่เมืองโคราช สวนสุขภาพ-ตลาดน้ำ-ถนนคนเดิน ตำบลหัวทะเล

"รมว.คมนาคม" เเจงยิบ ม.44 ลุยรถไฟไทย-จีน ไม่ลัดขั้นตอน-คุ้มค่า ใช้วัสดุในไทยสร้าง100%

ขอนแก่นเสนอ ครม. ทุ่ม 15,000 ล้านสร้างรถไฟฟ้ารางเบาสายแรกของอีสาน

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร