หลายคนยกให้ห้องนั่งเล่น หรือห้องนอนเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบ้าน แต่บางคนก็ยกให้ “ห้องครัว” แต่มาพร้อมตำแหน่งห้องที่สร้างปัญหาจุกจิกชวนปวดหัวมากที่สุด เพราะห้องครัวไม่ได้สำคัญเพียงการออกแบบให้มีฟังก์ชันที่เหมาะสม แต่มีเรื่องของ “ระบบ” รวมอยู่ด้วย ไม่ต้องกังวลไปนะคะ Baania มี 5 วิธีแก้ปัญหาน่าปวดหัวในห้องครัวมาแชร์ให้คุณได้ลองนำไปใช้กัน
แก้ได้ด้วยการเพิ่ม Task Lighting หรือไฟเฉพาะจุดสำหรับการทำงาน ในกรณีห้องครัวที่บนเคาน์เตอร์ประกอบอาหารต้องการแสงสว่างมากกว่าที่อื่น ควรออกแบบให้มีไฟ LED Stripe Light ยาวตลอดแนว ฝัง ซ่อนบนตู้เก็บของ (Upper Cabinets) เพื่อให้แสงสว่างส่องลงมาบนเคาน์เตอร์ได้อย่างเพียงพอ ส่วนในกรณีของเคาน์เตอร์แบบตั้งกลางครัว (Island Counter) ที่ไม่มี Upper Cabinets ให้ซ่อนไฟ ก็อาจใช้โคมไฟห้อยจากฝ้า แต่ควรเลือกให้มีรูปแบบสวยงามเข้ากับสไตล์การตกแต่งห้องครัวด้วย จะติดตั้งไว้กลาง Island Counter ก็สามารถช่วยเพิ่มแสงสว่างได้อีกวิธีหนึ่ง
ควรจินตนาการถึงการใช้งานจริงภายในห้องครัวให้ได้มากที่สุดก่อนค่ะ เช่น เครื่องปรุงที่ใช้ขณะประกอบอาหารก็ควรเก็บไว้ใกล้เตา ควรเลือกตู้ที่เป็นแบบ Pull Out ไว้ใต้เคาน์เตอร์จะช่วยให้ใช้งานสะดวกขึ้น ส่วนของกระทะ หม้อ และมีด อาจแขวนไว้ใกล้เตาประกอบอาหารให้เลือกหยิบใช้ได้สะดวกกว่าการเก็บไว้ในตู้หรือลิ้นชัก ขณะที่จานชาม ช้อนส้อม และที่รองแก้วควรเก็บอยู่ในส่วนของการเตรียมอาหาร หรือ Island Counter ให้หยิบใช้ได้ระหว่างการเตรียมอาหารแล้วยกไปเสิร์ฟได้เลย
Storage เป็นองค์ประกอบสำคัญของห้องครัว ดังนั้นควรคิดไปพร้อมๆ กับการออกแบบรายละเอียดของห้องครัว พื้นที่ใต้เคาน์เตอร์ ทั้งเคาน์เตอร์แบบติดผนัง (Wall Counter) หรือ Island Counter จึงควรแบ่งเป็นตู้และลิ้นชักเก็บของให้หมด รวมทั้ง Upper Cabinets ก็ควรออกแบบให้มีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับจานชามและแก้วน้ำอาจจัดไว้ในชั้นวางแบบเปิดโล่ง (Open Shelf) อยู่บน Island Counter ที่มองเห็นได้ ทั้งดูสวยงามและหยิบใช้ได้สะดวก ปัจจุบันยังมีตู้เก็บของแบบ Pull Out หรือ Corner Cabinets Solution ที่ช่วยแก้ปัญหาตู้เก็บของเข้ามุม ทำให้สามารถใช้พื้นที่มุมของตู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีแก้ปัญหานี้น่าจะอยู่ที่ขั้นตอนการออกแบบ หรือติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในครัว ท็อปเคาน์เตอร์ของครัวมาตรฐานควรลึกอย่างน้อย 60 เซนติเมตร แต่ถ้ามีพื้นที่มากพอก็สามารถออกแบบให้ลึกมากขึ้นได้ถึง 75 เซนติเมตร นอกจากนั้นอุปกรณ์บางอย่าง เช่น เตาไมโครเวฟที่ปกติมักจะวางไว้บนท็อปเคาน์เตอร์ ทำให้พื้นที่ทำงานน้อยลง ก็อาจจะออกแบบให้เป็นเตาไมโครเวฟแบบบิวท์อินติดตั้งไว้ใต้เคาน์เตอร์ หรือที่อื่นๆ รวมทั้งก๊อกน้ำของซิงค์ก็ให้เลือกใช้ก๊อกแบบยื่นออกมาจากผนังแทน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งานบนท็อปเคาน์เตอร์ได้ค่ะ
เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือห้องคอนโดฯ อาจใช้วิธีกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน แต่บางคนอาจมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ (น้อย) ดังนั้นจึงต้องพิจารณาเรื่อง “การติดตั้งประตู” ให้เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้งาน การติดตั้งประตูบานเลื่อนช่วยประหยัดพื้นที่และดูแลรักษาง่าย ส่วนประตูบานเฟี้ยมก็สามารถเปิดโล่งเชื่อมพื้นที่ห้องครัวกับส่วนอื่นๆ ของห้องได้เมื่อต้องการ นอกจากนี้การติดตั้งเครื่องดูดควันก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับครัวสมัยใหม่ ควรมีขนาดเท่ากันหรือใหญ่กว่าเตาประกอบอาหารเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เกิดควันได้ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะติดตั้งให้อยู่แล้วค่ะ
หวังว่า 5 วิธีแก้ปัญหาน่าปวดหัวในห้องครัวไม่ว่าจะเป็น แสงไม่พอ ตู้เก็บของไม่เป็นระเบียบ ที่เก็บของไม่พอ พื้นที่ท็อปเคาน์เตอร์น้อย และกลิ่นรบกวนจากการปรุงอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้คุณใช้งานห้องครัวอย่างมีความสุขมากขึ้นนะครับ
ภาพประกอบจาก: pinterest.com
บทความที่เกี่ยวข้อง