จากผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 ที่ทำให้คนทั้งโลกต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตไปในทุกๆ อย่าง โดยเฉพาะ วิถีการใช้ชีวิตภายใน “ บ้าน” ที่ต้องกลายมาเป็น พื้นที่ทำงาน และพื้นที่ อยู่อาศัยไปด้วยพร้อมกัน และทำให้หลายคนอาจรู้สึกวุ่นวาย กับการจัดเก็บพื้นที่ ที่มีอยู่แต่เดิม ให้เหมาะสมกับการใช้งานใหม่
สิ่งแรกที่เป็นปัญหาใหญ่ในการปรับพื้นที่ใหม่ ที่เจ้าของบ้านต้องเผชิญก็คือ การจัดเก็บข้าวของภายในบ้าน จากหนังสือ ‘อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป’ ที่เขียนโดย ซะซะกิ ฟุมิโอะ บอกว่า กฎเหล็กของการทำให้ข้าวของน้อยลงก็คือ การทิ้งของที่ไม่ได้ใช้ และทิ้งสิ่งที่คิดว่าคงจะไม่ได้ใช้อีกแล้ว โดยเริ่มต้นด้วย
การจัดการกับจุดซ่อนสมบัติ ที่อาจจะต้องเผชิญหน้ากับข้าวของมากมาย แต่ให้ลองตั้งสติให้ดี ๆ แล้วค่อยๆ จัดการทีมันออกไปทีละส่วน ต่อด้วยการทิ้งสิ่งที่เป็นขยะ ไม่ว่าจะเป็น กระป๋องเปล่า กล่องใส่ข้าว โบรชัวร์ หรือแม้แต่ของต่างๆ ที่แช่ทิ้งไว้อยู่ในตู้เย็นและอาจหมดอายุไปแรมปี ทิ้งสิ่งที่อาจจำเป็นต้องทิ้ง อย่างของที่มีเหลือใช้หรือของที่มีซ้ำกันหลายชิ้น เพราะการที่เรามีของคล้ายๆ กันอยู่หลายชิ้น แถมยังวางไม่เป็นที่ ก็อาจทำให้เราจำไม่ได้ว่า มีของเหล่านี้อยู่ ดังนั้นเพื่อลดจำนวนข้าวของลง ให้ลองทิ้งอันที่ชอบน้อยกว่าไป รวมถึงของที่ไม่ได้ใช้มานานเกิน 1 ปี เพราะนั่นหมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญในชีวิต ยกเว้นข้าวของที่เตรียมเอาไว้ในกรณีฉุกเฉินยามเกิดภัยพิบัติต่างๆ หรือของบางอย่าง ที่อาจใช้วิธีบริจาคให้ตามศูนย์รับบริจาค หรือขาย ถ้าตัวเองใช้ไม่ได้หรือไม่ได้ใช้แล้ว และสุดท้าย หากยังตัดใจไม่ได้ ให้ถ่ายรูปของที่ตัดใจทิ้งไม่ได้เก็บไว้ดู ซึ่งหลายครั้งที่เราตัดสินใจทิ้งไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องของราคา แต่เป็นเพราะความทรงจำที่เรามีต่อของเหล่านั้น หากเป็นเช่นนี้ แนะนำให้ลองใช้รูปถ่ายเป็นการเก็บความทรงจำแทนจะดีกว่า เพียงแค่นี้คุณก็อาจจะได้เห็นพื้นที่ของบ้าน ที่น่าจะปรับนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นแล้ว
การได้อยู่บ้านทำงานนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้เรามีเวลาในการใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้นได้ใช้งานทุกพื้นที่ของบ้านอย่างจริงจังมากขึ้น หลายๆ คนมีเวลาในการตกผลึกความคิดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบ้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความรื่นรมย์ในการทำงานให้กับตัวเองมากขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่ ที่ถูกสภาพเศรษฐกิจลิดรอนให้น้อยลงตามโอกาสทางการเงิน ทำให้แนวคิดการแต่งบ้าน แบบเรียบง่าย แต่มากฟังชั่นส์ กลายเป็นอีกหนึ่งรูปแบบ ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะรูปแบบผสมผสานสไตล์โมเดิร์น มินิมอลแบบเซน ที่เน้นความน้อยแต่มากประโยชน์ เรียบง่ายแต่อบอุ่น ด้วยการเน้นสีโทนอ่อน และเพิ่มเติมความเป็นธรรมชาติด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือไม้ประดับเล็ก ๆ เพื่อช่วยให้พื้นที่พักอาศัย ดูผ่อนคลายสบาย สบาย จากพลังธรรมชาติได้อย่างลงตัว
คัมพานา ธรรมชาติที่สร้างบรรยากาศ ที่แสนพิเศษได้ไม่รู้จบ หนี่งในผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก ภายใต้บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) ขอแนะนำ 5 กระแสอินเซน( Zen) ของการปรับพื้นที่บ้านให้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติแบบเซน ไปพร้อมกับกระเบื้องปูพื้นลายไม้ดีไซน์ต่างๆ จาก ซี่รี่ย์ เดอะฟอเรส คอลเลคชั่น มาร่วมสร้างบรรยากาศภายในบ้าน ให้ผ่อนคลาย เพื่อช่วยเพิ่มสมาธิในการทำงาน พร้อมพักผ่อนให้รื่นรมย์ด้วยธรรมชาติใกล้ๆ ตัวในแบบของเซนมาฝากกัน เริ่มต้นกันที่
ด้วยวิถีของเซน ที่ให้ความเคารพธรรมชาติ เราจึงมักจะเห็นความผูกพันของการใช้ไม้ เป็นวัสดุตกแต่ง หรือเลือกใช้วัสดุเลียนแบบไม้ธรรมชาติ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ที่มีหน้าโต๊ะเป็นไม้ ตลอดจนของแต่งบ้านกระจุกกระจิก อย่างกระถางต้นไม้จิ๋ว หรือการวางกระถางต้นไม้ไว้ตามมุมต่างๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยฟอกอากาศแล้ว การเลือกกระเบื้องลายไม้ปูพื้นเดนทรีสีน้ำตาล ยังช่วยสร้างบรรยากาศให้ใกล้ชิดธรรมชาติ มากยิ่งขึ้นด้วย และดีมากขึ้นถ้ามุมของห้อง มีหน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดโอกาสให้แสงแดดอ่อน ๆ ได้ล้อเล่นกับธรรมชาติเล็ก ๆ ของที่พักในยามเช้า ปล่อยให้สายตาได้มองพักผ่อนไปกับสีเขียวของใบไม้ พร้อมช่วยปลุกให้ร่างกายเกิดความกระปรี้กระเปร่า และตื่นตัวไปกับวันใหม่ของชีวิตในทุกวัน
ถ้าจะพูดถึงวิถีแห่งเซน ก็คงจะปฏิเสธ Japanese Living ไปด้วยไม่ได้ คนญี่ปุ่นมีไลฟ์สไตล์ที่ทำงานหนัก ชอบการพักผ่อนที่สงบเงียบ และเป็นส่วนตัว การตกแต่งพื้นที่สำหรับการพักผ่อน จึงเลือกการตกแต่งโดยใช้หลักการคิดแบบเซนที่เน้นความที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ ในการตกแต่งโดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ใช้งาน เพื่อให้ความรู้สึกได้ผ่อนคลายด้วยธรรมชาติใกล้ๆ ตัว กระเบื้องลายไม้เชอร์แมนวู้ด สีน้ำตาล ที่ตัดรับกับผนังโทนสีอ่อนหรือสีขาวให้ดูมีมิติ ไม่ให้สว่างมากจนเกินไป พร้อมจัดวางเฟอร์นิเจอร์ตามที่จำเป็น เพื่อให้ห้องดูโปร่งโล่ง สะอาดตา ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากหน้าที่การงานได้เป็นอย่างดี
เอกลักษณ์การแต่งบ้านสไตล์เซน หรือญี่ปุ่นอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การใช้สีโทนอบอุ่น หรือ แนวเอิร์ธโทน ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 โทนสี คือ สีน้ำตาลที่มาจากไม้ สีเขียวที่มาจากต้นไม้ และสีเทาที่มาจากหิน การตกแต่งจะเลือกโทนสีเหล่านี้ผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน และเพิ่มความพิเศษด้วยวัสดุที่มีลูกเล่นของพื้นผิวที่มีเส้นสายลายริ้วของเนื้อไม้ คัมพานาขอแนะนำกระเบื้องลายไม้สวินลี่- ทีค ที่ให้เฉดสีของพื้นไม้กลมกลืนไปโทนสีธรรมชาติสไตล์เซน เพียงเท่านี้ก็ทำให้ห้องนั่งเล่นหรือห้องสำหรับใช้ทำกิจกรรมภายในครอบครัว ดูอบอวลด้วยความสดใสจากกลิ่นอายของพลังจากธรรมชาติที่โอบล้อมใกล้ๆ ตัวแล้ว
แนวคิดแบบเซน ที่ถูกหล่อหลอม จนดูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Japanese Living ที่น่าสนใจจนกลายเป็นอัตลักษณ์ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่น ก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่เห็นได้ตั้งแต่นอกบ้าน จนถึงการจัดบ้าน การจัดสรรพื้นที่ในบ้านให้สามารถใช้สอยอย่างคุ้มค่า จึงนับเป็นเสน่ห์ อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการใช้พื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง ของคนเมืองในปัจจุบัน พื้นที่แนวตั้งหรือผนังบ้านจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ด้วยการทำเฟอร์นิเจอร์ติดผนัง หรือ อาจเป็นชั้นต่างๆ เพื่อใช้เป็นที่เก็บของ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เก็บของต่างๆ ทั้งชิ้นเล็กและชิ้นใหญ่เพื่อการจัดวาง แยกประเภทของให้เป็นระเบียบ หยิบใช้งานได้ง่าย เน้นเฟอร์นิเจอร์ใช้พื้นที่น้อย แต่มากฟังก์ชั่น และไม่ลืมที่จะสอดแทรกสีเขียว เพื่อเติมเต็มความเป็นธรรมชาติสไตล์เซนเข้าไปด้วย พร้อมด้วยการนำกระเบื้องลายไม้ลัมเบอร์แลนด์-น้ำตาล มาเพิ่มเสน่ห์ให้ครัวน่ารักๆ แต่มากฟังก็ชันไปด้วยในตัว
คนญี่ปุ่นถอดแบบการออกแบบบ้านผ่านการใช้ชีวิตจริงจากกิจวัตรประจำวัน เราจะพบว่า การตกแต่งห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน จะถูกออกแบบให้สอดรับกับวิถีการใช้งาน ของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ไม่เว้นแม้แต่ ห้องน้ำ จะเห็นได้ชัดเจนว่า การจัดองค์ประกอบหลักที่น้อยแต่มากประโยชน์ และการเลือกใช้โทนสีอ่อน เรียบง่ายสบายตา ดูจะเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้ห้องน้ำสไตล์โมเดิร์น มินิมอลแบบเซนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ผสมผสานกับการเลือกใช้ กระเบื้องลายไม้ แทร็ก วู้ด - เนื้อ จากคัมพานา ที่โชว์เส้นสายลายไม้ ให้ความรู้สึกสัมผัสถึงความเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแล้ว ยังช่วยให้ง่ายต่อการดูแลรักษาทำความสะอาด สอดรับกับวิถีชีวิตแบบนิวนอร์มอลตัวจริง
เสน่ห์ของแนวคิดการแต่งบ้านสไตล์เซนอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การใช้งบประมาณไม่มาก ไม่ยุ่งยาก เพราะความน้อยแต่มากประโยชน์ใช้สอย ช่วยให้พื้นที่พักผ่อน และทำงาน มีความเป็นส่วนตัว เป็นระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการดูแลรักษาด้วยพื้นกระเบื้อง ที่มีพื้นผิวของลวดลายไม้ในดีไซน์และเฉดสีไม้ต่างๆ ของคัมพานา ช่วยเข้ามาเติมเต็มบรรยากาศผ่อนคลาย สบายๆ และอบอุ่นไปด้วยกลิ่นอายตะวันออกในแบบเซน สำหรับใครที่สนใจสามารถหารายละเอียดสินค้า หรือ เลือกชมลวดลายของกระเบื้องในคอลเลคชั่นต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.campanatiles.com หรือ https://www.facebook.com/campanatiles สัมผัสพื้นผิวของสินค้าได้ที่ตัวแทนจำหน่ายกระเบื้องคัมพานาทั่วประเทศ หากต้องการช่างผู้ชำนาญในการติดตั้ง แบบมืออาชีพ นัดหมายสำรวจหน้างานได้ที่ https://ctis.scgceramics.com/cisdemand/ หรือ https://www.facebook.com/CTISService/