Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

AREA ชี้แนวโน้มราคาที่ดินกทม.ปริมณฑลปีนี้ขึ้น 4% แพงสุดทำเลสยาม วาละ 2.13 ล้าน ถูกสุดลำลูกกา วาละ 2.3 พัน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ราคาที่ดินในกรุงเทพมหานครกระเตื้องขึ้นในปี 2560 ประมาณ 4% พอๆ กับปี 2559 ราคาที่แพงที่สุดในขณะนี้คือบริเวณสยามสแควร์ โดยราคาตลาด ณ สิ้นปี 2560 อยู่ที่ 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา ถูกสุดอยู่ที่ 2,300 บาทต่อตารางวา ณ บริเวณลำลูกกา คลอง 13 ต่างกันถึง 926 เท่า ราคาที่ดินใกล้รถไฟฟ้า พุ่งกระฉุดกว่าทำเลอื่น ๆ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยผลการสำรวจราคาที่ดินทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า นับแต่ปี 2528 ถึงปัจจุบันหรือ 32 ปี ราคาเพิ่มขึ้น 51.6 เท่า 
ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงฐานเศรษฐกิจของประเทศจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มเด่นชัดในช่วงหลังเกิดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในปี 2525 แต่ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในส่วนของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเริ่มเท่ากันตั้งแต่ช่วงปี ‪2519-2529‬ และหลังจากนั้น การก้าวกระโดดของราคาที่ดินก็เกิดขึ้น โดยในปี ‪2528-2539‬ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นถึง 33.2 เท่า 

อย่างไรก็ตาม ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ราคาที่ดินตกต่ำลงในห้วงปี ‪2540-2543‬ ราคาลดลงถึง 22% และค่อยๆ เติบโตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


ล่าสุด ปี 2559 ราคาที่ดินปรับเพิ่มเฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 4% ทั้งนี้ ที่ดินแปลงมาตรฐานขนาด 4 ไร่ 16 ไร่ และ 36 ไร่ จำนวน 200 จุด โดยที่ดินขนาด 4 ไร่ ปรับเพิ่มเฉลี่ย 5.4% ส่วนที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งไม่มีในเขตใจกลางเมือง แต่มักอยู่เขตต่อเมืองหรือนอกเมือง ขนาด 16 และ 36 ไร่ ปรับเพิ่มเฉลี่ย 3.3% คาดว่าในปี 2560 ราคาที่ดินก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4% เท่ากัน 
ทำเลกับราคาที่ดิน 
         ราคาที่ดินในแต่ละบริเวณปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน 
         1.  กรุงเทพฯ ชั้นนอก ด้านเหนือ              +4.0% 
              ด้านตะวันออก                                  +4.1% 
              ด้านตะวันตก                                    +2.6% 
              ด้านใต้                                            +3.5% 
         2.  กรุงเทพฯ ชั้นกลาง ฝั่งกรุงเทพฯ         +4.3% 
         3.  ฝั่งธนบุรี                                          +4.3% 
         4.  กรุงเทพฯ ชั้นใน CBD                       +6.4% 
         5.  แนวรถไฟฟ้า บีทีเอส                         +6.5% 
              ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง                +6.7% 
              ส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า             +8.9% 
              ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่       +8.0% 
         6.  MRT                                               +8.9% 
         7.  แอร์พอร์ต ลิงก์                                  +6.8% 
         8.  สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่                +7.3% 
         9.  สายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน                  +1.4% 
        10. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ                +6.6% 
              หัวลำโพง-บางแค                              +7.1% 
ทั้งนี้ "ราคาที่ดินที่แพงที่สุด" ในปัจจุบัน ขนาด 4 ไร่ ณ สิ้นปี 2559 บริเวณสยามสแควร์ ราคา 2.0 ล้านบาทต่อตารางวา หรือไร่ละ 800 ล้านบาท คาดว่า ณ สิ้นปี 2560 มีราคาตารางวาละ 2.13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอีก 6.5% 
 

เนื่องจากที่ดินใจกลางเมืองมีสาธารณูปโภคโดยเฉพาะรถไฟฟ้าออกนอกเมือง ทำให้เข้าเมืองได้สะดวก เหมาะเป็นแหล่งจับจ่ายและสำนักงาน จึงมีราคาสูงขึ้นตลอดเวลา
ส่วนราคาที่ดินที่ถูกที่สุด ขนาด 4 ไร่ มีราคาตารางวาละ 2,300 บาทต่อคารางวา หรือไร่ละ 0.92 ล้านบาท ตั้งอยู่ถนนเลียบคลอง 13 กม.5 เพราะไม่มีโครงการสาธารณูปโภคใด ๆ จึงยังไม่มีการพัฒนาอะไรมากนัก แต่ในอนาคต อาจมีถนนวงแหวนรอบนอก และอาจมีโครงการสาธารณูปโภคอื่น แต่ก็คงใช้เวลาอีกนานพอสมควร 


สำหรับราคาประเมินของทางราชการจะปรับตัวช้ากว่า และไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัย ในปี 2559 โดยราคาประเมินราชการเพิ่มขึ้น 25% ราคาสูงสุดตารางวาละ 1 ล้านบาท
กรณีราคาประเมินของทางราชการสีลมมีราคาแพงที่สุด 1,000,000 บาทต่อตารางวา แต่ในความเป็นจริงราคาที่ดินที่แพงที่สุดตามราคาตลาดก็คือพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าแถวสยาม ชิดลม เพลินจิต มีราคาประเมินราชการ 900,000 บาทต่อตารางวา แต่ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ในขณะที่ประเมินไว้ตารางวาละ 1.9 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2558 สูงกว่าราคาราชการประเมิน 111% และ ณ ปี 2560 เป็นเงิน 2.13 ล้านบาทต่อตารางวาหรือเพิ่มขึ้น 137%
 

 

ที่มา :  prachachat

 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร