หากพูดถึงระบบรถไฟฟ้าเมืองไทยก็มีด้วยได้อย่างหลากหลายทั้งรถไฟฟ้า BTS MRT และ Airport Link ซึ่งมีเส้นทางที่ให้บริการแตกต่างกันออกไปแต่ก็มีบางสถานที่เป็นสถานที่เชื่อมต่อเพื่อช่วยให้การเดินทางของผู้โดยสารสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นแต่สำหรับวันนี้จะขอพูดถึง “รถไฟฟ้า BTS” ที่ย่อมาจาก Bangkok Transit System (ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ซึ่งจะมีเส้นทางบริการเส้นทางใดกันบ้างและมีเส้นอัตราค่าบริการอัพเดตล่าสุดในปี 2564 เท่าไรมาดูมาดูกัน
*** หมายเหตุ: สถานีเชื่อมต่อ หรือสถานีศูนย์กลาง (Center) ของการให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสคือ สถานีสยาม (Siam Station )
- สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่มีอายุไม่เกิน 23 ปีโดยยึดตามวันเดือนปีเกิดของบัตรประจำตัวประชาชนทั้งสถานศึกษาในไทยและต่างประเทศ โดยผู้ใช้งานบัตรประเภทดังกล่าวจะต้องบัตรประชาชน บัตรนักเรียน หรือบัตรนิสิตนักศึกษาแสดงต่อพนักงานเมื่อมีการร้องขอ
- สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีสัญชาติไทยอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปโดยยึดตามวันเดือนปีเกิดของบัตรประจำตัวประชาชนโดยผู้ใช้งานบัตรประเภทดังกล่าวจะต้องนำบัตรประชาชนแสดงต่อพนักงานเมื่อมีการร้องขอ
หากพบว่าผู้ใดใช้บัตรโดยมิชอบ หรือมิได้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดทางบริษัทฯจะถือว่าไม่ได้มีการชำระค่าบัตรโดยสารและสงวนสิทธิ์ในการริบบัตร รวมถึงเรียกให้ผู้โดยสารชำระค่าปรับในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของราคาค่าโดยสารสูงสุดตามปกติ
แม้จะยังเป็นเรื่องถกเถียงกันตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปี 2563 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารเนื่องจากปรับค่าโครงสร้างค่าโดยสารใหม่โดยค่าแรกเข้าครั้งเดียวจะอยู่ที่ 15 บาทและเก็บสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสายและจะมีการปรับค่าโดยสารเพิ่มสูงขึ้นทุกปีตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) และเพื่อไม่ให้กระทบกับการดำเนินชีวิตของชาวกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาตามค่าสัมปทานเดิมซึ่ง BTSC หรือบริษัทในเครือบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัดได้เป็นผู้บริหารรถไฟฟ้าระยะทาง 23.5 กิโลเมตรตั้งแต่เส้นทางสายสุขุมวิทหมอชิต - อ่อนนุช สนามกีฬา - สะพานตากสินในอัตราค่าโดยสารปัจจุบันอยู่ที่ 16 - 44 บาทตามระยะทาง สำหรับช่วงต่อขยายตั้งแต่อ่อนนุช - สำโรง - เคหะ วงเวียนใหญ่ - บางหว้า หมอชิต - วัดพระศรีฯ กรุงเทพมหานครจะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าโดยสาร
สำหรับในปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสครอบคลุม 59 สถานี รวมถึงส่วนต่อขยายช่วงสถานีสะพานตากสิน-บางหว้า สถานีอ่อนนุช-เคหะ และ สถานีหมอชิต-คูคตโดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 68.25 กิโลเมตรซึ่งครอบคลุม 3 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ กรุงเทพมหานครและปทุมธานี
บัตรโดยสารแบบเติมเงินคือการเติมเงินขั้นต่ำ 100 บาทและสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาทโดยสามารถใช้ได้เฉพาะ 25 สถานีเดิมโดยหักค่าโดยสารตามระยะทาง
บัตรโดยสารแบบเติมเที่ยวคือการเดินทางเฉพาะ 25 สถานีเดิมไม่รวมส่วนต่อขยายโดยมีอายุการเดินทาง 30 วันนับจากวันที่ใช้เดินทางครั้งแรก
สำหรับประชาชนทั่วไป
สำหรับนักศึกษา
สำหรับผู้สูงอายุ
ตารางแสดงราคาอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าโดยแยกตามประเภทการใช้บริการโดยคิดจากจำนวนสถานีที่ให้บริการ ดังนี้
ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2562
จะเห็นได้ว่าอัตราค่าโดยสารต่ำสุดคือ MRT ในอัตราค่าบริการตลอดสายเพียง 42 บาทแต่สำหรับค่าโดยสารตลอดเส้นทางของ BTS ที่จะปรับขึ้นในรอบใหม่รวมส่วนต่อขยายรวมถึงส่วนต่อขยายช่วงสถานีสะพานตากสิน-บางหว้า สถานีอ่อนนุช-เคหะ และ สถานีหมอชิต-คูคตอยู่ที่ 65 บาทต่อทั้งสายในอัตราค่าโดยสารปกติ
จะเห็นได้ว่าอัตราค่าบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเริ่มต้นที่ 15 บาทและราคาตลอดสายจะอยู่ที่ 65 บาทซึ่งท่านที่มีการเดินเป็นประจำทั้งบุคคลทั่วไป นักเรียน และนักศึกษาสามารถซื้อบัตรเติมเที่ยวและเติมเงินเพื่อลดอัตราค่าโดยสาร สำหรับผู้สูงอายุรับโปรโมชั่นและส่วนลดได้ตามเงื่อนไขตามที่บริษัทฯ ได้กำหนด
ที่มาภาพประกอบ: