ถ้าเอกสารสำคัญอย่างทะเบียนบ้านหายไปจะทำอย่างไร เชื่อว่าคำถามนี้ต้องเป็นคำถามที่หลายๆ คนอยากได้คำตอบ เพราะว่าการที่เอกสารสำคัญต่างๆ หายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เสมอโดยที่ไม่คาดคิด สิ่งที่ตามมาคือความวิตกกังวล และความไม่แน่ใจในขั้นตอนของการยื่นขอเอกสารใหม่ บทความนี้จะแนะนำ 5 ข้อควรรู้เมื่อทำเบียนบ้านหายและคุณต้องการทำทะเบียนบ้านใหม่
ทะเบียนตามความคำจำกัดความของกฎหมายคือ ทะเบียนประจำของแต่ละบ้านที่แสดงเลขประจำของบ้าน รายการของผู้พักอาศัยในบ้านหลังนั้น ตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน สรุปได้ว่าทะเบียนบ้านคือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อแสดงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวเลขที่ประจำบ้าน ชื่อเจ้าบ้าน ชื่อผู้พักอาศัย และตำแหน่งที่ตั้งของบ้านนั่นเอง
การยื่นขอทะเบียนบ้านใหม่นั้นสามารถทำได้เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารเพื่อพักอาศัยใหม่ การขอทะเบียนบ้านนั้นคือการขอเลขที่บ้านเพื่อจะนำไปใช้เดินเรื่องสำหรับการติดตั้งสาธารณูปโภคอื่นๆ อย่างเช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
ซึ่งสาธารณูปโภคเหล่านั้นจะสามารถเข้ามาติดตั้งได้เมื่อมีทะเบียนบ้านอย่างถูกต้องนั่นเอง รวมไปถึงการใส่ชื่อของเจ้าบ้านลงในทะเบียนบ้านก็เป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อสร้างบ้านเสร็จอีกด้วย เพราะว่าทะเบียนบ้านนั้นยังถือว่าเป็นหลักฐานยืนยันตัวตนต่อทางราชการสำหรับผู้ที่มีชื่อพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นอีกด้วย
ส่วนการขอทะเบียนบ้านที่สร้างใหม่นั้นต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้ หนังสือเอกสารสิทธิที่ดิน หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ยื่นขอในกรณีนี้หมายถึงผู้ที่จะมีชื่อเป็นเจ้าบ้าน ถ้าผู้ที่เป็นเจ้าบ้านไม่ได้ไปด้วยตัวเองต้องมีหนังมือมอบอำนาจไปด้วยทุกครั้ง โดยให้ไปติดต่อที่สำนักทะเบียนในสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอซึ่งบ้านหลังนั้นตั้งอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรื่องต่างๆ เรียบร้อยก็จะจัดทำทะเบียนบ้านให้
สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าทะเบียนบ้านหายนั่นคือการไปแจ้งกับสำนักทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ เพื่อยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนให้จัดทำทะเบียนบ้านเล่มใหม่อย่างรวดเร็วที่สุด โดยไม่ต้องไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจแต่อย่างใด โดยหลักฐานที่ต้องนำไปยื่นขอทำทะเบียนบ้านใหม่นั้นใช้เพียงแค่บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน แต่ถ้าเจ้าบ้านไม่ได้ไปด้วยตัวเองสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปจัดการแทนก็ได้
ในการมอบอำนาจนั้นเจ้าบ้านต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจอย่างถูกต้อง โดยต้องมีบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจไปด้วยทุกครั้ง สำหรับค่าธรรมเนียมในการออกทะเบียนบ้านเล่มใหม่ 20 บาทเท่านั้น
สำหรับกรณีที่ทะเบียนบ้านนั้นไม่มีเจ้าบ้าน ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เจ้าบ้านเสียชีวิต หรือไม่มีการใส่ชื่อเจ้าบ้านไว้ตั้งแต่แรก ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น ไม่ว่าจะทายาท เป็นผู้พักอาศัยที่ได้รับสิทธิ์ หรือเจ้าของบ้าน นำเอกสารที่แสดงสิทธิ์นั้นไปยื่นเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียน ก็สามารถขอทำทะเบียนบ้านเล่มใหม่ได้เหมือนทะเบียนบ้านที่มีเจ้าบ้าน
หลายคนยังมีความสับสนในเรื่องของหน้าที่เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน กับผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ของบ้านซึ่งเรียกว่าเจ้าของบ้าน ลองมาดูกันว่าเจ้าบ้านกับเจ้าของบ้านนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร
หลายคนยังคงคิดว่าการมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านนั้นสามารถใช้ทะเบียนบ้านไปยื่นค้ำประกันในการขอสินเชื่อกับธนาคารได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเข้าใจผิดกันค่อนข้างมาก เพราะว่าในการยื่นขอสินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นทางธนาคารไม่ได้สนใจว่าผู้ที่ยื่นขอนั้นเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านหรือไม่
ทางธนาคารสนใจเพียงแค่ว่าผู้ที่ยื่นขอนั้นเป็นเจ้าของบ้านมีกรรมสิทธิ์เหนือโฉนดที่ดินซึ่งบ้านหลังนั้นปลูกสร้างอยู่อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือโฉนดที่ดินผืนนั้นธนาคารจึงจะยินยอมให้ใช้หลักทรัพย์นั้นมาค้ำประกันสินเชื่อ ดังนั้นการมีชื่อเป็นเจ้าบ้านไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาใช้ขอสินเชื่อกับธนาคารได้ ยกเว้นแต่การใช้เป็นเพียงเอกสารประกอบเพื่อแสดงถึงที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งเท่านั้น
จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าทะเบียนบ้านจัดว่าเอกสารที่สำคัญมาก เมื่อ<<4eede3f96ee801375326d28bc1695117>>ต้องรีบไปแจ้งกับนายทะเบียนให้ออกทะเบียนบ้านฉบับใหม่โดยเร็ว ซึ่งการแจ้งขอทำทะเบียนบ้านใหม่นั้นในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก และวุ่นวายอีกต่อไป เพียงแค่ใช้บัตรประชนใบเดียวทางราชการก็สามารถออกทะเบียนบ้านเล่มใหม่ให้ได้อย่างรวดเร็ว
ที่มาภาพประกอบ :