Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ธรณีเขย่าเชียงใหม่กว่า 100 ครั้ง ตั้งแต่ปลายปี 59 ชี้มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

นับตั้งแต่ปลายปี 2559 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2560 เกิดแผ่นดินไหวในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ อำเภอจอมทอง, แม่วาง, แม่แจ่ม และสันทราย ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. จนถึง 30 ธ.ค. รวมประมาณ 30 ครั้ง มีความลึกตั้งแต่ระดับ 1-3 กิโลเมตร ขนาดแผ่นดินไหวตั้งแต่ 1-3.1 แมกนิจูด สูงสุดที่อำเภอแม่วาง ทำให้หลายคนต่างวิตกกังวลว่าอาจเป็นสัญญาณแผ่นดินไหวรุนแรง และยังเกิดต่อเนื่องมาอีกกว่า 50 ครั้ง ตั้งแต่ต้นปี 2560 มีความรุนแรงขนาดสูงสุดประมาณ 4.0 แมกนิจูด

นายณัฐวุฒิ แดนดี ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังและติดตาม สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว เปิดเผยว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ การรับรู้การเกิดแผ่นดินไหวบ่อยเนื่องจากที่ผ่านมา สำนักเฝ้าระวังได้เพิ่มเครื่องมือตรวจจับแผ่นดินไหว และมีเครือข่ายมากขึ้น จึงทำให้รับรู้แผ่นดินไหวขนดเล็กได้ถี่ขึ้น

การปลดปล่อยพลังงานของรอยเลื่อนบ่อยเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ไม่มีการสะสมพลังงานจนเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อาจสร้างความเสียหายได้มาก สำหรับประชาชน หรือนักท่องเที่ยวอย่าตื่นตกใจ เพราะแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แทบจะไม่รู้แรงสั่นไหว ซึ่งรอยเลื่อนในภาคเหนือที่พลังงานปัจุบันมีจำนวน 8-9 รอยเลื่อน

นายปิยะชีพ วัชโรบล นักวิชาการอิสระด้านภัยพิบัติ กล่าวว่าการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 1-4 ในจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่องนั้น เชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้ระวังการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยคาดว่าในช่วงระหว่าง 21 ก.พ.-16 มี.ค.นี้ อาจจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.5 ได้ในพื้นที่ภาคเหนือ ให้เฝ้าระวังที่ อ.จอมทอง อ.แม่วาง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เป็นหลัก ให้สังเกตสภาพอากาศก่อนจะเกิดแผ่นดินไหว จะมีอากาศที่ร้อนจัด เมฆเป็นปุยฝอยคล้ายขนแกะ และท้องฟ้าเป็นสีรุ้ง สัตว์มีอาการตื่นตกใจ หากเกิดเหตุการณ์นี้พร้อมๆ กัน อาจจะเกิดเหตุแผ่นดินไหวได้ภายใน 6-12 ชั่วโมง

ด้านนายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่าเหตุแผ่นดินไหวที่เชียงใหม่นั้น ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 ถึงร้อยละ 5 ของรอบการเกิดแผ่นดินไหว 17 ปี

ทั้งนี้ รอยเลื่อนที่เคลื่อนตัวอาจจะสัมพันธ์กับรอยเลื่อนปัจจุบัน หรือรอยเลื่อยเก่าที่สงบแล้ว กรมทรัพยากรธรณีจึงเก็บข้อมูลการเคลื่อนตัวและการเกิดแผ่นดินไหวนี้ เพื่อสังเกตและศึกษาพฤติกรรมว่าจะเป็นรอยเลื่อนแม่ทา หรือรอยเลื่อนแม่ปิง หรืออาจเป็นรอยเลื่อนใหม่ ยิ่งรอยเลื่อนมีการเคลื่อนไหวมากและถี่จะเป็นผลดีในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินสถานะรอยเลื่อนดังกล่าว 

 

บทความแนะนำ

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร