Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

7 วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

น้ำท่วมบ้าน ภัยจากธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีฝนตกชุก จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมได้ตลอดเวลา เพราะหากฝนตกหนัก น้ำระบายไม่ทัน ก็จะไหลเข้าท่วมบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดความเดือดร้อน ทั้งโครงสร้างบ้านที่ได้รับผลกระทบ ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ก็จะได้รับความเสียหายไปด้วยเช่นกัน เรามีวิธีการดี ๆ มาบอก เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วมอย่างทันท่วงที กับ 7 วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

น้ำท่วมบ้านเกิดจากอะไรได้บ้าง

โดยปกติ ภาวะน้ำท่วมมักจะมาพร้อมกับฝนตกหนัก และการที่มีขยะหรือเศษใบไม้ไปอุดตันท่อระบายน้ำ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ขัดขวางการระบายน้ำ โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ไม่มีทางเชื่อมโยงกับแหล่งระบายน้ำอื่น ๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังรอระบายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น น้ำซึมเอ่อขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ หรือบ้านชั้นล่างมีระดับต่ำกว่าถนน เมื่อฝนตกหนักจึงทำให้ระบายน้ำไม่ทัน ดังนั้น หากทราบสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมบ้านแล้ว เราจะได้มีวิธีรับมือและป้องกันน้ำท่วมได้อย่างตรงจุด

สาเหตุ7 วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

หากไม่ได้เตรียมการป้องกันน้ำท่วมบ้านไว้ จนปล่อยให้น้ำเข้ามาขังภายในบ้านได้ ก็จะทำให้พื้นบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านเกิดความเสียหายได้ เรามาดูวิธีป้องกันน้ำท่วมบ้านกันดีกว่า

1. กระสอบทราย

เป็นอุปกรณ์ที่ทำเองได้ง่าย ๆ เพียงตักทรายใส่กระสอบประมาณครึ่งถุง มัดปากกระสอบให้แน่น วางกระสอบทรายซ้อนกัน หันปากถุงเข้าด้านใน เพื่อป้องกันแรงน้ำดันแผงกระสอบทรายล้ม ให้เรียงกระสอบทรายเป็นแนว ให้ฐานกว้างกว่าแนวความสูง หากมีน้ำซึมมาจากท่อระบาย ให้วางกระสอบทรายลงไปในท่อ ทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วทับด้วยกระสอบทรายอีกชั้นหนึ่ง ก็จะป้องกันในเบื้องต้นได้

กระสอบทราย2. ถุงน้ำ

เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล นำกระสอบชนิดที่ไม่รั่วซึม หรือถุงดำชนิดเหนียวพิเศษมาซ้อนกัน 2-3 ชั้น ใส่น้ำจนเกือบเต็ม มัดปากถุงให้แน่น วางเรียงให้ฐานกว้างกว่าความสูงเช่นเดียวกับกระสอบทราย อาจจะใช้แผ่นไม้เข้ามาช่วย ด้วยการวางคั่นถุงน้ำเป็นระยะ เพื่อเสริมให้แข็งแรง ไม่ล้มง่าย หากไม่มีถุงอาจใช้ขวดน้ำแทน แล้วคอยอุดรอยรั่วซึมให้ดี

ถุงน้ำ 3. แผงเหล็ก

หากมีแผ่นเหล็กหรือบานประตูเหล็ก ก็นำมาใช้ได้เช่นกัน โดยเชื่อมแผ่นเหล็กเข้าหากัน วางตามแนวที่ต้องการ อาจเชื่อมเสาค้ำเพื่อความแข็งแรง อุดรอยโหว่ด้วยกาวซิลิโคนหรือดินน้ำมัน เพื่อป้องกันน้ำซึม จะทำให้รับแรงดันน้ำได้ดี ควรทำเสาค้ำยันเสริมให้แข็งแรงด้วย

แผงเหล็ก4. ก่ออิฐกันน้ำ

วางอิฐบล็อกบนแผ่นพลาสติกสลับแนวกัน 3-4 ชั้น ตามแนวพื้นที่กันน้ำ แล้วดึงแผ่นพลาสติกคลุมด้านหน้าของแผงอิฐจนมาถึงด้านบน แล้วค่อยวางอิฐบล็อกทับแผ่นพลาสติกอีก 1-2 ชั้น ด้านล่างของฐานวางอิฐบล็อกทับชายพลาสติกด้านล่างเอาไว้ เพื่อให้แข็งแรง

ก่ออิฐกันน้ำ5. ฟิวเจอร์บอร์ด

แผ่นพลาสติกแข็งที่เราใช้ทำงาน มีความเหนียวที่สามารถนำมาใช้อุดช่องว่างประตูบ้าน หรือบริเวณรั้วที่น้ำซึมเข้าบ้านได้ โดยติดฟิวเจอร์บอร์ดไว้ด้านนอกของพื้นที่กันน้ำ ติดทับด้วยกระดาษกาว ติดตะปู หรือยิงซิลิโคน เพื่อไม่ให้ขยับเขยื้อนได้ หรืออาจจะใช้ถุงดำขนาดใหญ่มาคลุมทับแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดอีกชั้นหนึ่ง แล้วทับด้านล่างด้วยอิฐหรือกระสอบทราย ก็จะช่วยป้องกันน้ำได้เป็นอย่างดี

ฟิวเจอร์บอร์ด6. แผ่นสังกะสี

สามารถนำแผ่นสังกะสีมากันน้ำด้วยการทำโครงขึ้นมา แล้วยิงแผ่นสังกะสีติดกับโครง วางในพื้นที่ที่ต้องการกันน้ำ แล้วยึดโครงสังกะสีให้แนบสนิทช่องว่างหรือรอยต่อ อุดด้วยถุงพลาสติกหรือยิงซิลิโคนกันน้ำ สามารถเปลี่ยนมาใช้แผ่นโพบีคาร์โบเนทแทนก็ได้ โดยติดไว้ทั้งด้านนอกและด้านในของแนว ระวัง หากน้ำแรงเกินไปต้องหนุนค้ำยันให้ดี 

แผ่นสังกะสี7. ยกระดับพื้นบ้านให้สูง

เป็นวิธีป้องกันในระยะยาว ยกระดับพื้นบ้านใหม่ให้สูงกว่าหรือเท่ากับระดับถนน หากต้องเทพื้นปูนใหม่ ไม่ควรเททับ ให้ทุบพื้นเก่าออกก่อน แล้วหล่อคานปูนเสริมใหม่ เพื่อความแข็งแรง ดูเรื่องความลาดเอียงให้ดี ให้ระดับพื้นไหลเทไปยังท่อระบายน้ำ

ยกระดับพื้นบ้านให้สูงวิธีดูแลรักษาเมื่อน้ำท่วมบ้าน

ความเสียหายจากน้ำท่วมบ้านหลังจากน้ำลด เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องจัดการ ทั้งการซ่อมแซม การวางแผนป้องกัน การดูแลรักษา เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมบ้านอีก มีสิ่งที่ต้องทำหลังจากน้ำท่วมบ้าน ดังนี้

ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าให้แน่ใจก่อนเปิดใช้งาน

อันตรายที่มาพร้อมกับน้ำท่วมคือไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด เพราะไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ต้องให้ช่างมาตรวจสอบ หรือหากพบว่าระบบไฟฟ้า เช่น เบรกเกอร์ยังเปิดใช้งานอยู่ ให้รีบปิดระบบไฟฟ้าทันทีด้วยความระมัดระวัง พร้อมกับใส่ถุงมือหรือผ้าแห้งเพื่อป้องกันไฟดูด อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม หากไฟฟ้าไม่ลัดวงจร ก็อาจจะซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้

เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ห้ามนำไปตากแดด

สำหรับประตูและของใช้ที่ทำจากไม้ที่ถูกน้ำท่วม อาจมีอาการบวม พอง ห้ามนำไปตากแดด เพราะจะทำให้รูปทรงโก่ง หรือยืดงอได้ ควรผึ่งลมในที่ร่มจนกว่าจะแห้งสนิท

ไม่ต้องรีบทาสีใหม่

น้ำท่วมจะทิ้งรอยสกปรกและคราบต่าง ๆ รวมทั้งความชื้นไว้ อาจจะดูไม่สวยงาม แต่ก็ปล่อยทิ้งไว้แบบนั้นก่อน เพราะพื้นผนังที่สะสมความชื้นไว้ หากทาสีใหม่ทับทั้งที่ยังไม่แห้งสนิท ไม่นานก็จะหลุดร่อนออกมา ทำให้สิ้นเปลือง ควรทำความสะอาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ 2-3 เดือน แล้วค่อยทาสีใหม่

ระวังสัตว์มีพิษ

หลังน้ำลดใหม่ ๆ การเข้าตรวจตราข้าวของเครื่องใช้ ซอกมุม จุดอับต่าง ๆ ในบ้าน ให้ระวังสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ มาหลบซุกซ่อนอยู่ หากไม่ระวังอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้  

ระวังฝ้าเพดานถล่ม

หากบ้านถูกน้ำท่วมสูง อาจทำให้ผนังหรือฝ้าเพดานได้รับผลกระทบ ฝ้าเพดานส่วนใหญ่ทำจากแผ่นยิบซั่มที่อมน้ำ หากมีการอมน้ำทำให้น้ำหนักมากหรือแอ่นตัว อาจจะหลุดร่วงลงมาจนเกิดอันตรายได้ ควรสังเกตร่องรอยให้ดี

วิธีดูแลเมื่อพบปัญหา<<6e6fd33844afdea359da5cd14bd3e1fa>>ครั้งแรก อาจจะรับมือไม่ไหว แต่หากเคยโดนน้ำท่วมบ้านมาแล้ว คงจะมีแผนรับมือได้ดีมากขึ้น สำหรับบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วม ทางที่ดีที่สุดควรวางแผนเตรียมรับมือปัญหาน้ำท่วมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ 7 วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน ที่นำเสนอวันนี้ คงช่วยประกอบการตัดสินใจได้ หากเกิดเหตุขึ้นมาจริง ๆ จะสามารถรับมือ และป้องกันความเสียหายได้ทันท่วงที

ที่มาภาพประกอบ :

https://www.facebook.com

http://www.terramar.co.th

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร