ปัญหา น้ำยาแอร์รั่ว เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งเมื่อผ่านการใช้งานไปนาน ๆ หากน้ำยาแอร์มีการรั่วซึม ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลง ซึ่งนอกจากเสื่อมสภาพตามการใช้งานแล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ประกอบ ที่ทำให้น้ำยาแอร์หมดไวยิ่งขึ้น ลองมาค้นหาสาเหตุกันได้ตามข้อมูลด้านล่างนี้
เมื่อเกิดการรั่วของน้ำยาแอร์ จะส่งผลให้น้ำยาหมดเร็ว โดยสามารถสังเกตการรั่วได้บริเวณรอบ ๆ ที่เติมน้ำยาแอร์ จะมีคราบน้ำมันเกาะที่จุดรั่ว ซึ่งสาเหตุก็มีหลายประการด้วยกัน หากปล่อยให้มีการรั่วซึมไปนาน ๆ ประสิทธิภาพการทำความเย็นก็จะลดน้อยลงทำให้แอร์ไม่เย็น เบื้องต้นท่านสามารถสังเกตได้ด้วยตนเองดังคำแนะนำต่อไปนี้
1. พื้นที่ในการติดตั้ง ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการรั่วซึมได้ เช่น ติดตั้งบริเวณที่มีความเป็นกรดสูง อยู่ใกล้จุดที่มีน้ำขังหรือบริเวณคลองน้ำเสีย เป็นต้น กรดที่ระเหยอยู่ในอากาศจะกัดกร่อนส่วนที่เป็นโลหะ แผงคอยล์ทำความเย็นและทำความร้อนจึงได้รับผลกระทบ โดยเป็นจุดที่พบการรั่วซึมอยู่บ่อย ๆ
2. แรงดันน้ำยาภายในระบบ เมื่อใช้เป็นเวลานาน ๆ นั้น น้ำแอร์ที่ไหลอยู่ในระบบเป็นแบบแรงดันสูง ซึ่งหากท่อแอร์มีความบางลงจากด้านใน ก็อาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้เช่นกัน โดยเฉพาะส่วนที่มีการตัดท่อแอร์ ซึ่งหากช่างติดตั้งใช้ท่อน้ำยาแอร์ที่มีความบางมาก ก็จะทำให้รั่วซึมได้ง่าย
3. ในช่วงขั้นตอนการติดตั้ง หากต่อเชื่อมท่อน้ำยาไม่ได้มาตรฐานด้วยอย่างเช่น บานแฟร์แตกหรือขันไม่แน่น ก็จะทำให้เกิดการรั่วซึม
4. หากมีการเชื่อมต่อด้วยแก๊ส จะต้องแน่ใจด้วยว่า ลวดที่ใช้เชื่อมนั้นจะต้องไม่ละลายและขั้นตอนการเชื่อมต่อต้องมีความแน่นหนา ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้
5. การเสียดสีกันของวัสดุภายในกับท่อน้ำยาแอร์ ก็อาจทำให้เกิดการรั่วได้ อย่างเช่น เวลาเปิดเครื่อง ตัวแอร์จะมีการสั่นสะเทือน หากมีสิ่งใดเสียดสีกันอาจจะเป็นสาเหตุได้
6. สำหรับแอร์เก่า อาจเกิดการรั่วของคอมเพรสเซอร์ ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่วด้วยเช่นกัน ปัญหานี้มักเกิดกับแอร์รุ่นเก่า ๆ
หากมีความสงสัยว่า แอร์ที่ท่านใช้งานอยู่นั้นเกิดการรั่วซึมหรือไม่ เบื้องต้นอาจจะไม่ต้องเรียกช่างเข้ามาดู เพราะเราสามารถเช็คอาการน้ำยาแอร์รั่วได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีตรวจหารอยรั่วดังต่อไปนี้
1. วิธีแรกที่ทำได้ง่าย ๆ คือ เติมสารความเย็นในปริมาณเล็กน้อยลงไปในระบบของแอร์ จากนั้นตามด้วยก๊าซไนโตรเจนแรงดันสูง ที่สามารถทำให้เข้าสู่วงจรทำความเย็นแรงดัน 350-400 ปอนด์ต่อตารางนิ้วได้ เพื่อหารอยรั่วโดยไม่ต้องเปลืองน้ำยาแอร์มากนัก
2. ใช้ฮาไลด์ทอร์จตรวจสอบรอยรั่ว โดยไล่ไปตามท่อหรือรอยต่อ ซึ่งหากพบว่ามีรอยรั่ว เปลวไฟเย็นจากกระบอกฮาไลด์ทอร์จจะเปลี่ยนสี วิธีนี้อาจจะต้องมีความชำนาญด้านงานช่างด้วย
3. การตรวจสอบด้วยเครื่องตรวจน้ำยาแอร์รั่ว ซึ่งหากพบว่ามีการรั่ว ตัวเครื่องจะส่งสัญญาณเสียงเตือน หรือส่องแสงสว่างเพื่อระบุบริเวณรอยที่รั่ว
4. ตรวจสอบด้วยการใช้ฟองสบู่ ให้นำแปรงทาสีจุ่มฟองสบู่หรือฟองน้ำยาล้านจาน นำมาทาบริเวณท่อน้ำยาแอร์ หากพบว่ามีรอยรั่วฟองอากาศก็จะผุดขึ้น
5. การฟังเสียงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถตรวจสอบได้ ให้อัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในท่อน้ำยาแอร์ หากมีเสียงลมออกมา แสดงว่ามีรอยรั่วอยู่
สำหรับน้ำยาแอร์ ถือเป็นส่วนสำคัญของระบบสร้างความเย็น โดยจะมีหลายประเภทและหลายขนาดตามการใช้งาน ในสมัยก่อนสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์นั้น จะมีความคงตัวและมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงมาก แต่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากมีการรั่วของน้ำยาแอร์สารพิษหลายชนิดอาจทำให้โลกร้อน และส่งผลให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสื่อมสภาพไว้ไวขึ้น แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวน้ำยาให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยหลัก ๆ ประเทศไทยของเราจะใช้น้ำยาแอร์ 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ R22 R410A และ R32
จัดว่าเป็นน้ำยาแอร์รุ่นเก่าที่สุดซึ่งมีค่าดัชนีวัดทำลายโอโซน 0.05 ถือว่าส่งผลต่อการทำลายชั้นบรรยากาศโลก ในอนาคตอันใกล้รัฐบาลไทยอาจสั่งยกเลิกการใช้น้ำยาตัวนี้ แต่สำหรับแอร์ที่ใช้ R22 ก็ยังคงใช้ได้อยู่ ข้อดีของน้ำยาแอร์ตัวนี้คือเติมสะดวก ใช้ได้กับแอร์หลายรุ่น
เป็นรุ่นที่พัฒนาจาก R22 ที่ใช้ค่า ODP เป็น 0 ซึ่งไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก กลับกันในด้านผลกระทบภาวะโลกร้อน น้ำยาแอร์ R410A มีค่าสูงกว่า R22 ซึ่งก็ส่งผลต่อโลกร้อนอยู่ดี สำหรับการเติมน้ำยาแอร์ R410A จะต้องเอาน้ำยาเก่าออกให้หมดก่อน แล้วจึงค่อยเติมของใหม่เข้าไปได้ ดังนั้นขั้นตอนจึงมีความยุ่งยากเล็กน้อย
สำหรับน้ำยาแอร์ R32 เป็นรุ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศและไม่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน มีประสิทธิภาพในการให้ความเย็นสูงมากและประหยัดไฟมากกว่าน้ำยาแอร์รุ่น R32 กับ R410A แต่ข้อเสียคือติดไฟง่าย
การเลือกงานน้ำยาแอร์มาใช้ จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และต้องมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นด้วย น้ำยาแอร์ที่ดี จะไม่ทำให้อุปกรณ์ภายในเสื่อมสภาพเร็ว ต้องเน้นที่คุณภาพ เพราะหากเลือกผิดอาจจะส่งผลในระยะยาว น้ำยาอาจกัดกร่อนอุปกรณ์ภายในไปอย่างช้า ๆ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถทราบได้เลย และที่สำคัญควรคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ลองเลือกประเมินจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
วิธีหาสาเหตุของ น้ำยาแอร์รั่ว จะต้องไล่เช็คไปที่ละจุด ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญเรื่องงานช่างบ้างเล็กน้อย สำหรับท่านที่ไม่มีความชำนาญในทักษะด้านนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ แต่วิธีการแก้ไขที่นำมาเสนอในวันนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่
ที่มาภาพประกอบ :