จดหมายเปิดผนึกจาก “เศรษฐา ทวีสิน”
“วิกฤติที่เกิดจากเชื้อ COVID-19 ครั้งนี้นับเป็นวิกฤติสังคมและเศรษฐกิจที่ผมคิดว่ารุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาตร์โลก เป็นความท้าทายอันหนักหน่วงของท่านนายกรัฐมนตรีและทีมงานซึ่งมองผ่านเลนส์คนทำธุรกิจ ผมเห็นด้วยกับแนวทางการรับมือในช่วงที่ผ่านมา โดยสามารถตัดสินใจได้ค่อนข้างเฉียบขาดและดำเนินมาตรการที่ แรง และ เร็ว เปรียบเหมือนฉีดยารักษาโรคให้แรงไว้ก่อน จัดการอาการป่วยหนักให้หาย จะมีผลข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ เราค่อยมารักษากันภายหลัง” หนึ่งในข้อความจดหมายเปิดผนึก ที่ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) นำเสนอแนวคิดไว้ใน SANSIRI BLOG และ twitter : Srettha Thavisin
วิกฤติที่เกิดจากเชื้อ COVID-19 ครั้งนี้นับเป็นวิกฤติสังคมและเศรษฐกิจที่ผมคิดว่ารุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาตร์โลก เป็นความท้าทายอันหนักหน่วงของท่านนายกรัฐมนตรีและทีมงานซึ่งมองผ่านเลนส์คนทำธุรกิจผมเห็นด้วยกับแนวทางการรับมือในช่วงที่ผ่านมา โดยสามารถตัดสินใจได้ค่อนข้างเฉียบขาดและดำเนินมาตรการที่ แรง และ เร็ว เปรียบเหมือนฉีดยารักษาโรคให้แรงไว้ก่อน จัดการอาการป่วยหนักให้หาย จะมีผลข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ เราค่อยมารักษากันภายหลัง
พอได้เห็นมาตรการเหล่านี้เริ่มส่งผลในทางที่ดี ผมจึงตั้งใจเขียนจดหมายเปิดผนึกนี้ถึงท่านนายกฯ เพื่อนำเสนอวัคซีนสูตรที่สองที่จะช่วยเสริมความเร็วและความแรงเพื่อกระตุ้นระบบเศรษกิจอันยวบยาบในระยะสั้นและกลางดังรายละเอียดต่อไปนี้
นำเสนอมาถึงตรงนี้จะไม่พูดถึงอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ก็คงไม่ได้ ซึ่งผมต้องออกตัวก่อนว่าไม่ได้ต้องการสร้างประเด็นเพื่อประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจนี้แต่อย่างใด แต่ไม่มีใครปฏิเสธว่าอสังหาฯ เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ (multiplier effect) ได้สูงมากอุตสาหกรรมหนึ่ง เนื่องจากเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการจัดซื้อและจัดจ้างในหลายภาคตามมาไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงอุตสาหกรรมบริการ ฯลฯ ดังนั้นมาตรการภาษีและดอกเบี้ยต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกรรมการซื้อขาย อสังหาฯ รัฐบาลต้องมองให้ทะลุ ต้องให้แน่ใจว่าประโยชน์ของมาตรการเหล่านั้นได้ประโยชน์จริงกับผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นการซื้อ ซึ่งผมมีข้อเสนอเพิ่มเติมต่อจากด้านบนดังนี้
ถึงเวลาแล้วที่เราจะให้ความสําคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำ มากกว่า เสถียรภาพทางการเงิน ผมจึงขอเสนอให้ทางหน่วยงานภาครัฐ “do whatever it takes” หรือ “จัดเต็มให้เร็วและแรง” เพื่อสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ (multiplier effect) ผ่านการกระตุ้นปัจจัยทางอุปสงค์เพื่อให้เกิดกำลังซื้อของประชาชนซึ่งจะนำไปสู่กิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่นการจ้างงานหรือการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้ลูกจ้างเกิดรายได้มากขึ้น เป็นวงจรไปเรื่อยๆ ซึ่งผมมองว่าสามารถทำได้หลายภาคส่วนดังที่กล่าวไปข้างต้น
อย่างที่ผมบอกในตอนต้นเรื่องนี้ฟังดูแล้วอาจจะขัดกับความรู้สึก หรือ ตรรกะที่เราเคยเรียนมา แต่ผมเชื่อว่า ในเรื่องนี้มีจุดที่สมดุลย์ที่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้กับทั้งตัวกิจการ และผู้ถือหุ้นของบริษัท และเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อความคล่องตัวในการบริหารเงินทุนกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
บัญญัติ 10 ประการที่ผมชี้แจงไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดที่น่าจะช่วยเสริมแนวทางของรัฐบาลปัจจุบันที่ใช้กระสุนที่มีให้ หนัก แรง และเร็ว ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง ซึ่งถ้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจกลับมาเร็วเท่าใหร่ก็จะทำให้ภาครัฐกลับมามีรายได้แต่ที่สำคัญกว่านั้นจะช่วยมีการจ้างงาน และประชาชนมีรายได้ครับ
ข้อมูลจาก
twitter : @Thavisin