ประตูรีโมทอัตโนมัติเหมาะเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับผู้ชื่นชอบความทันสมัย ใช้งานง่าย เน้นความปลอดภัยโดยที่ไม่ต้องลงจากรถเพื่อมาเปิด-ปิดประตู ถือว่าเพิ่มความสะดวกสบายได้ในสภาวะที่มีความเร่งรีบและมีจราจรพลุกพล่านในยุคปัจจุบัน หากใครคิดจะติดตั้งหรือกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับประตูรีโมท บทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น
อาจเกิดปัญหาในส่วนของเรดาร์ที่รับสัญญาณซึ่งเป็นตัวเซนเซอร์ควบคุมการเปิด-ปิดชำรุดหรือขัดข้อง ทำให้มีการรับคำสั่งผิดเพี้ยนไป ควรมีการปรับตั้งระยะควบคุมเรดาร์ใหม่ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปรกติ
เนื่องจากอุปกรณ์ควบคุมบานเลื่อนอัตโนมัติใช้ไฟฟ้าเป็นกำลังขับเคลื่อน น้ำฝนจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เกิดความเสียหายได้ง่าย เมื่ออุปกรณ์โดนน้ำจะทำให้เกิดการลัดวงจรจนทำให้ฉนวนของสายดินเสื่อมได้ ดังนั้นควรควบคุมมาตรฐานการติดตั้งให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงหน้าฝน
สามารถทำได้ ปัญหานี้แก้ได้ด้วยวิธีง่ายมาก เนื่องจากประตูอัตโนมัติจะมีสวิตช์เปิด-ปิดระบบเพื่อใช้งานแบบ Manual มาให้ใช้งานอยู่แล้ว เราสามารถเลื่อนประตูเปิด-ปิดได้เองโดยไม่ต้องกังวลว่าจะออกบ้านไม่ได้ในเวลาไฟดับ
ควรพิจารณากำลังของมอเตอร์ให้มีความเหมาะสมกับน้ำหนักของบานประตูเลื่อนเป็นหลัก โดยเลือกให้มีขนาดที่พอดีลงตัว โดยปรกติบานประตูที่ทำจากเหล็กจะมีน้ำหนักมาก ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเลือกมอเตอร์ให้มีความเหมาะสมต่อกับประตูจะดีที่สุด โดยให้รายละเอียดข้อมูลของเพื่อให้ช่างได้ประเมินและคำนวณก่อนการติดตั้ง ตัวอย่างเช่น หากขนาดประตูมีความสูงโดยประมาณ 2.5 เมตร มีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักโดยประมาณ 100 กิโลกรัม ก็แจ้งทางช่างหรือสอบถามเพื่อให้ข้อมูลทางช่างได้คำนวณและมาประเมินหน้างานก่อน เป็นต้น
โดยเฉลี่ยขึ้นอยู่กับการใช้งานการเข้า-ออกและการเปิด-ปิดประตูว่ามีการใช้งานบ่อยแค่ไหน ประตูบานใหญ่ก็ใช้ไฟในการขับเคลื่อนมาก หากใช้งานบ่อยก็อาจจะกินไฟพอประมาณ เพราะมอเตอร์จะกินไฟในช่วงตอนเปิด-ปิดเท่านั้น โดย อมรอิเล็กทริค ได้ยกตัวอย่างการคำนวณค่าไฟสำหรับประตูรีโมทไว้ดังนี้
หากมีการติดตั้ง มอเตอร์ใช้งาน 450W ต่อประตูหนึ่งบาน และมีขนาดความกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร และมีการใช้งาน อยู่ที่ 20 ครั้งต่อวัน 1 ครั้งใช้เวลาเปิด-ปิดประตู 50 วินาที ภายใน 1 ใช้ประตู 20 ครั้ง ต่อวันเท่ากับ 50 วินาที x 20ครั้ง = 1000 วินาที หรือคิดเป็น 16 นาที หรือคิดเป็น 0.27 ชั่วโมง ได้จากสูตรการคำนวณ ดังนี้
450x1 / 1000 x 0.27 = 0.12 หน่วยค่าไฟ เท่ากับ 1 เดือน ได้เป็น 30 x 0.12 = 3.6 หน่วยค่าไฟ หากนับไปคำนวนกับค่าไฟ 4.96 บาท ต่อ 1 เดือน จะหาค่าเฉลี่ยของรายจ่ายโดยการคำนวณจากค่าไฟฟ้าได้เป็น 4.96 x 3.6 = 18.70 บาท และนำไปคูณ 12 เดือนจะได้ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับค่าไฟเท่ากับ 224.4 บาท
ประตูบานเลื่อนอัตโนมัติโดยทั่วไป ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 2 แบบ คือ
เมื่อมีการปิดประตูด้วยรีโมทแล้วไม่จำเป็นต้องใช้กุญแจล็อกอีกชั้น เพราะว่าหากมีการเผลอกดรีโมทเปิดประตูโดยบังเอิญในขณะที่คล้องกุญแจอยู่จะทำให้มอเตอร์เกิดการชำรุดเสียหายได้อีกทั้งการทำงานของ Type มอเตอร์ยังมีระบบใช้งานล็อกอัตโนมัติถึง 2 ชั้นที่ติดตั้งมาให้อยู่แล้วจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะล็อกกุญแจเพิ่มอีก
หากบ้านใครที่มีประตูรีโมทควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและนำไปใช้งาน หากเลือกใช้ผิดประเภทแล้ว นอกจากจะทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย อาจจะทำให้มีปัญหาตามมากวนใจอยู่ตลอดไม่สิ้นสุด ดังนั้นลองเรียนรู้จากบทความนี้เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพิจารณาเลือกใช้ประตูรีโมทให้เหมาะสม นอกจากจะทำให้เราได้ใช้งานอุปกรณ์ได้ในระยะยาวแล้ว ยังไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาตามมาอีกด้วย