Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ประหยัดค่าไฟในบ้านได้ ด้วยการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดไฟบ้านได้มากที่สุด เป็นวิธีการสามัญสำหรับหลายครอบครัว ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้เราต้องประหยัดค่าไฟ พยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น แต่กระนั้น ก็ไม่สามารถเลิกใช้ไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้น การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า วิธีการใช้งาน รวมถึงการดูแลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนาน จึงเป็นสิ่งที่ควรทราบและปรับนำเอาไปใช้มากที่สุด

การคำนวณค่าไฟในบ้าน 

        ท่านสามารถคำนวณค่าไฟ เพื่อคุมค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน โดยท่านจะทราบว่าบ้านท่านใช้ไฟไปแล้วกี่หน่วย ต้องเสียเงินค่าไฟเท่าไหร่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงของเดือนถัดไป

  • สูตรการคำนวณค่าไฟ (ยูนิต)

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷  1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

       หลังจากได้จำนวนหน่วยยูนิตของบ้านท่านแล้ว จึงนำไปเทียบกับขั้นของราคาค่าไฟ เช่น 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท หน่วยหลังจากนั้นจะปรับขึ้นตามลำดับ

  • ยกตัวอย่างการ คำนวณค่าไฟฟ้าของบ้านหลังหนึ่ง มีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 3 ชนิด ดังนี้

1. หลอดไฟ ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 10 ดวง เปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง 
 วิธีคำนวณ   
กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของหลอดไฟ คือ 50 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 10 ดวง ÷ 1000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)
 
2. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ หนึ่งตู้ เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
 วิธีคำนวณ  

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 125 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 ตู้ ÷ 1000 x 24 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)
 
3. ทีวี ขนาด 300 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 5  ชั่วโมง 
 วิธีคำนวณ   

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 300 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 5 ชม. = 1.5 หน่วย/วัน (เดือนละ 45 หน่วย)

: สรุปใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 225 หน่วยต่อเดือน

  • วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า (ตามการไฟฟ้านครหลวง)

          35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท

          115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท = 190 x 1.1236 บาท 

รวมทั้งสิ้น 213.48 บาท (190 ยูนิต คือ จำนวนที่ถัดมาจากแบบเหมา 35 ยูนิต = 225-35=190)

         รวมเป็นเงินค่าไฟ คือ  (85.21 + 213.48) = 298.69 บาท

คำนวณค่าไฟ

เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟมากกว่าเดิม 

       การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน แต่ละชนิดมีการเลือกที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะการเลือกจากขนาด คุณภาพ ประเภทที่ช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่า ตัวอย่างการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นภายในบ้าน ดังนี้

1. หลอดไฟ 

เลือกซื้อหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้ หรือให้ขนาดวัตต์พอดีกับขนาดห้อง และควรเลือกใช้หลอด LED ที่ให้พลังงานไฟฟ้าต่ำ แต่ให้แสงสว่างเท่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งช่วยให้ประหยัดไฟมากกว่า

2. เตารีด

เลือกเตารีดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพราะจะง่ายต่อการรีด ประหยัดเวลาและช่วยประหยัดไฟฟ้าได้

3. ที่ชาร์ตมือถือแบบ Fast charge 

ควรเลือกใช้สายชาร์ตของแท้ มีคุณภาพ จะช่วยชาร์ตไฟเร็วกว่า มีประสิทธิภาพ ไม่กินไฟ แถมยังไม่เป็นอันตรายต่อโทรศัพท์มือถือของท่าน

4. ตู้เย็น 

ควรเลือกตู้เย็นที่มีประหยัดไฟเบอร์ 5 ตู้เย็นแบบประตูเดียวจะกินไฟน้อยกว่าแบบตู้เย็น 2 ประตู

5. เครื่องปรับอากาศ 

เลือกแอร์ที่มีประหยัดไฟเบอร์ 5 เลือกแอร์ที่มีคุณภาพ และเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับห้อง 

เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเคล็ดลับการประหยัดไฟ 

        เคล็ดลับการประหยัดไฟแบบง่าย ๆ ที่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟ หรือลดค่าใช้จ่ายของไฟฟ้าในส่วนที่ไม่จำเป็นออกได้ ดังนี้

1. ปิดไฟหากไม่ใช้งาน ควรปิดไฟทุกครั้งหากไม่มีการใช้งาน หรือไม่มีคนอยู่ในห้อง

2. รีดผ้าจำนวนมากต่อครั้ง  ควรตั้งปุ่มเตารีดหรือปรับระดับให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า และควรรีดผ้าครั้งละมาก ๆ ติดต่อกันจนเสร็จ อาจจะรีด 1 วันสำหรับผ้าใส่ 1 สัปดาห์ วิธีนี้จะช่วยท่านประหยัดไฟ และไม่ต้องเสียเวลารีดบ่อย ๆ 

3. เว้นระยะห่างจากผนัง ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งระบายความร้อน หรือผนัง เพื่อที่ตู้เย็นจะสามารถระบายความร้อนได้สะดวก ช่วยให้ประหยัดไฟได้

4. การใช้แอร์ให้ประหยัดไฟ ควรตั้งอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส ปิดห้องให้สนิทมิดชิดทุกครั้งที่เปิดแอร์ ควรทำการบุผนังในเรียบร้อย เพื่อไม่ให้แอร์รั่วไหล และหมั่นทำความสะอาด ล้างแอร์อยู่เป็นประจำ

เคล็ดลับ

วิธีการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า 

        วิธีการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นการทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด อย่าปล่อยให้เป็นคราบสกปรก หรือปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแลจนเสื่อมประสิทธิภาพการใช้งาน 

1. ถอดปลั๊ก เมื่อไม่ได้มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม เตารีด ควรถอดปลั๊กเก็บให้เรียบร้อย นอกจากจะประหยัดไฟแล้ว ยังช่วยถนอมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ยาวนานมากขึ้น 

2. ทำความสะอาดเป็นประจำ เช่น แอร์ ตู้เย็น พัดลม ควรหมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด นำมาล้างอยู่เป็นประจำ 

3. ตรวจเช็คระบบท่อ เช่น แอร์ เครื่องซักผ้า ต้องมีการตรวจเช็คระบบท่อ การไหลของน้ำว่ามีปัญหาน้ำรั่วไหลหรือไม่ หากพบเจอต้องรีบทำการซ่อมแซมแก้ไขทันที 

4. เปลี่ยนแผงไฟฟ้า แผงไฟฟ้าระบบควบคุมวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของบ้านท่าน หากไม่เคยมีการเปลี่ยนจนสายไฟมีสีเหลืองหรือดำ ควรรีบเปลี่ยนทันที หากใช้งานมาเป็นเวลายาวนาน จนเกิดการเสื่อมประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

วิธีการดูแล

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดไฟบ้านได้มากที่สุด แต่ละชนิดจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน นอกจากนี้ เคล็ดลับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัด ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ ปิดหรือถอดปลั๊กในส่วนที่ไม่ใช้งานเพื่อช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ต้องทำงานหนัก 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร