Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ปัญหาแอร์น้ำหยด วิธีการแก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยตัวเอง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

เมื่อใช้แอร์ไปนาน ๆ หลายท่านอาจเจอกับปัญหา แอร์น้ำหยด ซึ่งมักจะมีอาการคล้ายกันคือ มีหยดน้ำออกมาจากแอร์ ทำให้ใช้งานได้ไม่สะดวก วันนี้ทาง Baania จึงขอนำทุกคนไปรู้จักถึงสาเหตุของแอร์น้ำหยดและวิธีแก้ไขง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยนอกจากนี้ยังมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับประเภทแอร์มาแนะนำ เพื่อปูทางไปถึงวิธีการแก้ไขอีกด้วย

ปัญหาแอร์น้ำหยด และประเภทของแอร์

แอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีแค่แอร์แบบติดผนังเท่านั้น แต่มีถึง 6 ประเภทให้เลือกใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านความเย็นและด้านการตกแต่ง ฉะนั้นลองมาทำความรู้จักกับแอร์ประเภทต่างๆ กันก่อนเลย

1. แบบติดผนัง (Wall type)

เป็นแอร์ที่นิยมใช้กันในบ้านเรือน มีให้เลือกหลายสไตล์แต่ส่วนใหญ่จะมีรูปเป็นสี่เหลี่ยมแนวนอน ขนาดขึ้นอยู่กับ BTU มีตั้งแต่ 9000 ไปจนถึง 20000 BTU การเลือกขนาดควรคำนึงถึงขนาดของห้องที่ต้องการติดตั้งเป็นหลัก ปัจจุบันแอร์แบบติดผนังมีระบบ อินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์คู่ (Dual Inverter Compressor) หรือแอร์ติดผนังประหยัดพลังงานใช้เลือกใช้งานด้วย

  • ข้อดี ติดตั้งง่าย และเหมาะกับการใช้งานในบ้านมากที่สุด มีฟังก์ชันการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งการดูแลหรือซ่อมบำรุงทำได้ง่ายกว่าแอร์ประเภทอื่น
  • ข้อเสีย ‘คอยล์เย็น’ มีขนาดเล็กจึงทำให้ง่ายต่อการอุดตัน จึงต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อย ๆ

2. แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/floor type)

จะคล้ายกับแอร์ติดผนัง แต่จะตั้งอยู่บนพื้นหรือหากเป็นแบบแขวน ก็จะอยู่ในระดับพื้นห้อง โดยจะอาศัยคอมเพรสเซอร์กับท่อต่อใช้งานร่วมด้วย แอร์ประเภทนี้ต้องวางตำแหน่งให้ดีเพราะหากติดตั้งแล้วจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้นควรวางในตำแหน่งที่ความเย็นกระจายได้อย่างทั่วถึง 

  • ข้อดี ติดตั้งง่าย ไม่ต้องทำที่วางแอร์หรือคอมเพรสเซอร์ ทำความเย็นเร็วเพราะอยู่ระดับเดียวกับพื้น
  • ข้อเสีย เนื่องจากต้องติดตั้งในระดับพื้น ความเย็นอาจจะกระจุกอยู่ที่เดียว ทำให้ถ่ายเทได้ไม่ค่อยดีนัก

3. แบบตู้ตั้ง (Package type)

แอร์ประเภทนี้ไม่ค่อยนิยมติดตั้งในบ้าน เพราะว่ามีขนาดใหญ่ลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยมและต้องตั้งบนพื้น จึงทำให้ไม่ค่อยสะดวกมากนั้น นิยมติดตั้งในอาคาร สำนักงานเสียมากกว่า แอร์ประเภทนี้ให้ความเย็นไวและกระจายความเย็นได้ดี อาคารที่มีผู้คนพลุกพล่านอย่างเช่นหอประชุมหรือสนามบิน มักจะติดตั้งแอร์ตู้เอาไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อบริการความเย็น

  • ข้อดี ติดตั้งง่าย ให้ความเย็นเร็วเหมาะกับสถานที่ที่คนเยอะ
  • ข้อเสีย  กินพื้นที่ใช้สอยและไม่ค่อยเหมาะกับการติดตั้งในบ้านเรือน

4. แบบฝังเพดาน (Built-in type)

แอร์ฝังเพดานได้รับความนิยมพอๆ กับแอร์ติดผนัง แต่จะมีความสวยงามตรงที่มองไม่เห็นตัวเครื่อง เหมาะกับบ้านที่ตกแต่งสไตล์โมเดิร์นที่ไม่ชอบให้เฟอร์นิเจอร์ยื่นออกมาบดบังทัศนียภาพ นอกจากใช้ตามบ้านเรือนแล้ว ตามห้างสรรพสินค้าก็นิยมติดตั้งแอร์ประเภทนี้ด้วยเช่นกัน

  • ข้อดี  สร้างความสวยงาม ไม่กินพื้นที่ กระจายความเย็นได้ดีและทั่วถึง สามารถติดตั้งตรงไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องติดผนัง
  • ข้อเสีย ติดตั้งยากกว่าแอร์ติดผนัง และอาจมีค่าใช้จ่ายเยอะในการติดตั้งเพราะต้องติดไปพร้อมกับขั้นตอนการสร้างบ้าน

5. แบบหน้าต่าง (Window type)

แอร์แบบหน้าต่างนั้นไม่ต้อใช้คอมเพรสเซอร์ในการใช้งาน ลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยมแต่มีขนาดเล็กกว่าแอร์แบบตั้งในประเทศไทยไม่ค่อยนิยมติดตั้งมากเท่าไหร่ 

  • ข้อดี ประหยัดพื้นที่เพราะมีขนาดเล็ก ไม่ต้องติดตั้งการเดินท่อน้ำยา มีประสิทธิภาพในการทำความเย็น
  • ข้อเสีย เรื่องเสียงและเรื่องสั่นของเครื่อง อาจทำให้มีเสียรบกวนตลอดทั้งวัน ด้านการปรับอุณหภูมิและการกระจายความเย็นยังทำงานได้ไม่ค่อยดีนัก

6. แบบเคลื่อนที่ (Movable type)

เรียกอีกอย่างว่าแอร์กึ่งพัดลม สะดวกในการเคลื่อนที่ โดยมากมักจะนำมาใช้งานคู่กับแอร์หลักภายในบ้าน เพื่อเป็นการทำความเย็นมากขึ้น หรือนำมาใช้งานในห้องที่มีขนาดกว้างและต้องการการถ่ายเทอากาศ 

  • ข้อดี มีขนาดเหมาะสม ไม่ต้องติดตั้ง เคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวกทำความเย็นได้ในระดับหนึ่ง
  • ข้อเสีย เนื่องจาก BTU ที่ต่ำมากๆ หากใช้ในห้องที่ต้องการความเย็นแต่ไม่ได้ติดตั้งแอร์ ก็ควรเป็นห้องที่มีขนาดเล็ก เพราะหากนำไปใช้ในห้องใหญ่ๆ ความเย็นอาจจะไม่ค่อยกระจายมากนัก

ประเภทของแอร์

สาเหตุที่แอร์น้ำหยด

สำหรับปัญหาน้ำแอร์หยดนั้น นอกจากสร้างความเปียกชื้นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายจากไฟรั่วด้วย โดยสาเหตุของแอร์น้ำหยดนั้น ก็มีอยู่หลายข้อดังนี้

สาเหตุหลักๆ

  • ท่อทิ้งน้ำตัน จึงทำให้น้ำที่เกิดกระบวนการฟอกอากาศนั้น ไม่สามารถระบายออกมาได้ จึงเกิดการล้นและไหลย้อนกลับมา ทำให้กลายเป็นหยดซึมออกมาจากตัวแอร์
  • ถาดคอยล์เย็นที่อยู่ด้านหลังของแผงคีบเกิดการอุดตัน จึงเป็นสาเหตุให้มีหยดน้ำเกาะอยู่นอกแอร์
  • ถาดน้ำทิ้งอาจเกิดการชำรุด เช่น หลุดหรือแตกเสียหาย ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำหยดได้เช่นกัน
  • เกิดจากการเดินท่อภายในไม่ได้ประสิทธิภาพ ทำให้หุ้มห่อไม่ได้มาตรฐานจึงเกิดหยดน้ำออกมานอกตัวแอร์

สาเหตุที่แอร์น้ำหยด

วิธีการแก้ปัญหาแอร์น้ำหยด

เมื่อทราบสาเหตุกันไปแล้ว ลองเช็คดูว่า แอร์ที่บ้านของเรานั้น มีสาเหตุมาจากข้อไหนบ้าง เพื่อจะได้ทราบถึงวิธีการแก้ปัญหาแอร์น้ำหยดได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีแก้ไขมีดังต่อไปนี้ครับ

1. เบื้องต้นควรทำความสะอาด ด้วยการใช้โบลเวอร์หรือเครื่องเป่าไฟฟ้า เพื่อไล่น้ำออกให้แห้ง โดยเฉพาะในบริเวณท่อน้ำทิ้งและปลายท่อ

2. หากท่านมีความชำนาญด้านงานช่าง แนะนำให้ล้างแอร์ โดยถอดส่วนประกอบ หรือส่วนท่อแอร์ออกมาล้างทำความสะอาด แต่หากไม่มีความชำนาญด้านนี้ สามารถเรียกช่างแอร์มาช่วยจัดการให้ได้

3. การดูแลรักษาคอยล์เย็นนั้น ควรหมั่นทำความสะอาดอย่างเช่น คราบสกปรกอย่างฝุ่นที่เข้ามาเกาะ ซึ่งหากมีฝุ่นอยู่เยอะจะทำให้เครื่องระบายความเย็นไม่สะดวก จนทำให้น้ำจับตัวกลายเป็นหยดน้ำ ให้รื้อเครื่องเพื่อดูส่วนที่สกปรกอยู่ภายในแอร์และทำความสะอาด

4. การเติมน้ำยาแอร์บ่อยเกินไปนั้นก็อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำยาได้เช่นกัน ฉะนั้นควรบอกให้ช่างติดตั้ง ให้ใส่ส่วนของน้ำยาในสัดส่วนที่พอดี

5. หมั่นตรวจดูภายในเครื่องเป็นประจำว่ามีสัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่าง หนูหรือพวกแมลงเข้าไปตายอยู่หรือไม่ หากพบเจอให้ทำความสะอาดเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของท่อแอร์

6. ตรวจสอบถาดน้ำทิ้งว่าอยู่ในสภาพเดิมหรือไม่ หากมีการเคลื่อนที่ ให้นำมาไว้ในจุดเดิม

วิธีการแก้ปัญหาแอร์น้ำหยด

สำหรับการแก้ปัญหาและการตรวจหาสาเหตุแอร์น้ำหยด สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่หากท่านไม่มีความชำนาญหรือไม่สะดวกก็สามารถเรียกช่างผู้มีประสบการณ์มาช่วยเหลือ ก็จะช่วยลดความเสียหายจากการแก้ไขได้

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร