พฤกษา ผู้นำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับลูกบ้านด้วยนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย ล่าสุดร่วมกับ ผศ.ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม หัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างสวนบำบัดกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 ส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี ในโครงการต้นแบบแห่งแรกที่ “เดอะปาล์ม” เพื่อผู้อยู่อาศัย ใช้ชีวิตอย่างสมดุล
นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “รูปแบบการใช้ชีวิตผู้คนปัจจุบันมีกิจกรรมมากมาย ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในตัวอาคารทำให้ใช้เวลาออกไปสัมผัสธรรมชาติภายนอกน้อยลง ยิ่งในช่วงที่มีสถานการณ์โรคระบาดซึ่งมีข้อจำกัดในการออกจากบ้าน ก็ยิ่งสะสมความเครียดและเหนื่อยล้าให้กับร่างกายและจิตใจ
ที่พฤกษาเราให้ความสำคัญกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับลูกบ้านด้วยนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย จะดีแค่ไหนถ้า เพียงแค่เดินจากบ้านไปไม่ไกลก็ได้สัมผัสกับพื้นที่ธรรมชาติที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจอย่างง่าย ๆ ได้ทุกวัน เพราะพื้นที่ส่วนกลางเป็นที่ที่ทุกคนสามารถมาใช้งานร่วมกันได้ พฤกษาจึงใส่ใจและให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ส่วนนี้เพื่อให้ลูกบ้านใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข และวันนี้พฤกษาจึงก้าวไปอีกขั้นด้วยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญออกแบบจัดสวนในโครงการที่จะมาทำหน้าที่ช่วยบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้ที่เข้าไปใช้งานได้อีกระดับหนึ่งด้วยสวนบำบัดกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 (7 Senses Therapeutic Garden) ในโครงการ “เดอะปาล์ม”
นางสาวอังคณา ลิขิตจรรยากุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “วันนี้ที่พฤกษา....สวนไม่ได้เป็นแค่ความร่มรื่น แต่แฝงไว้ด้วยการสร้างเสริมให้ผู้อยู่อาศัย ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสมดุล การใช้ธรรมชาติบำบัด และการที่ประสาทสัมผัสทั้ง 7 ได้รับการกระตุ้น จะส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี สำหรับสวนบำบัดที่โครงการเดอะปาล์ม ออกแบบโดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกับธรรมชาติเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 ที่ประกอบด้วย 1.การมองเห็น 2.การได้ยิน 3.การรับกลิ่น 4.การรับรส 5.การสัมผัส 6.การรับรู้การเคลื่อนไหวการทรงตัว และ 7. การรู้ระยะตำแหน่งท่าทางในพื้นที่ ความหลากหลายที่ผู้เข้าไปใช้งานจะได้สัมผัสไม่ว่าจะเป็นสีและกลิ่นของใบไม้และดอกไม้ที่แตกต่างกัน สัมผัสของก้อนหินหรือการได้เดินบนทางเดินกรวด จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสเหล่านี้ เพราะจากงานวิจัยพบว่า เพียงแค่มนุษย์ได้มองพื้นที่สีเขียวก็ทำให้เกิดความรู้สึกดีขึ้นแล้ว และเมื่อประสาทสัมผัสได้รับการกระตุ้น ระบบสื่อประสาทต่างๆ ก็จะได้รับการกระตุ้นไปพร้อมกัน ทำให้ร่างกายของเราทำงานได้ดีขึ้นด้วย”
โครงการเดอะปาล์ม บางนา วงแหวน คือโครงการต้นแบบที่พฤกษาเลือกทำงานร่วมกับ ผศ.ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม หัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสุขภาวะ พัฒนาพื้นที่ส่วนกลางให้เป็นเซนซอรีการ์เดนหรือสวนบำบัดที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาวะให้กับผู้ใช้งาน
ดร.ธนาศรีเล่าเรื่องราวของสวนบำบัดว่า “เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสุขภาวะที่จะใช้พื้นที่ที่มีความเป็นธรรมชาติสูงเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับการกระตุ้นและฟื้นฟูประสาทสัมผัสทั้ง 7 ชนิด รวมถึงเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้คนเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวได้พบปะผู้คน ได้เคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น และเป็นอีกหนึ่งในแนวคิดการดูแลสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยม ในหลายประเทศใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคเครียด อัลไซเมอร์ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายต่าง ๆ”
สวนบำบัดกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 หรือ 7 Senses Therapeutic Garden ที่โครงการเดอะปาล์ม ออกแบบโดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกับธรรมชาติ ประกอบด้วย
1. การมองเห็น สีสันของพืชนานาชนิด ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น การออกมาพักสายตาในสวน หยุดการมองจอเป็นการช่วยถนอมสายตา และกระตุ้นการมองเห็น
2. การได้ยิน เสียงจากธรรมชาติ จากสายลม เสียงของนก แมลง หรือเสียงจาก PRUKSA Positive Playlist ด้วยเพลยลิสต์ "Growing Plants" ชุดเพลงที่ถูกออกแบบมาเพื่อความผ่อนคลาย คนฟังสุขใจ และต้นไม้ก็เติบโตอารมณ์ดี (สามารถคลิกฟัง PRUKSA Positive Playlist ได้ที่ https://www.pruksa.com/inspiring-story/unlockyourfutureliving-music)
3. การรับรส เลือกสรรสมุนไพร และผลไม้ในสวน เช่น ส้มจี๊ด มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น ต้านหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โรคภูมิแพ้ทางลำคอ มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณ และโกฐจุฬา ก็ให้รสหวานชุ่มคอ แก้ไข้ ขับเสมหะ
4. การรับกลิ่น กลิ่นหอมของดอกไม้ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ยังมีกลิ่นดินและใบไม้ที่ให้กลิ่นต่างออกไป ทำให้เราได้กลิ่นหลากหลายกระตุ้น ความทรงจำและการทำงานของระบบสื่อประสาท
5. การสัมผัส Pruksa X ViMUT River Healing Stone สวนหินที่ออกแบบร่วมกับทีมโรงพยาบาลวิมุต เพื่อการเดินบนสวนหิน ช่วยให้ผ่อนคลายกับการนวดเท้า กดจุดให้รู้สึกสบาย ช่วยกระตุ้นระบบประสาททั้งการทรงตัวและการกะระยะหาง ไปจนถึงสัมผัสจากการจับใบไม้ การนั่งบนเก้าอี้ก้อนหิน การถอดรองเท้าเดินบนสนามหญ้า ก็ช่วยกระตุ้นระบบประสาทที่แตกต่างกัน
6. การทรงตัว Pruksa X ViMUT Edutainment Playground สนามเด็กเล่นที่ได้ถูกออกแบบมาร่วมกับทีมโรงพยาบาลวิมุต เพื่อฝึกพัฒนาการรวมไปถึงการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ให้เด็กๆ เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
7. การรับรู้ การเคลื่อนไหว และกะระยะทิศทาง การที่เด็กๆ ได้ออกมาเดิน มาวิ่งเล่นในสวนที่มีพื้นที่แคบบ้างกว้างบ้าง มาลื่นไถล ช่วยฟื้นฟูทักษะการกะระยะทิศทาง และช่วยเสริมสร้างทักษะการควบคุมร่างกายได้อย่างดี
ดร.ธนาศรี กล่าวถึงการใช้งานสวนแห่งนี้เพิ่มเติมว่า “สวนบำบัดเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ ขณะเดียวกันก็แต่ละบ้านก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ทำสวนในพื้นที่ของตนเองได้เองโดยเลือกปลูกต้นไม้และจัดวางตามที่ต้องการ การทำกิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการปลูกไปจนต้นไม้นั้นเติบโต หรือจะไปร่วมกิจกรรมที่พฤกษาจัดขึ้นเช่น กิจกรรมให้ลูกบ้านมาร่วมปลูกและเพนต์กระถางต้นไม้นำไปปลูกที่ระเบียงคอนโดหรือที่บ้านก็เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่นำตัวเราเข้าใกล้ธรรมชาติ ช่วยสร้างสุขภาพกายและใจที่ดี สะสมพลังบวกให้กับคนทุกเพศทุกวัยในครอบครัว ตอกย้ำความเชื่อมั่นของพฤกษาที่ว่า สุขภาพดีส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ และทั้งสองสิ่งคือเรื่องเดียวกัน สามารถเริ่มต้นได้พร้อมกันที่บ้าน”