หลังจากที่ แบงก์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) มาอย่างต่อเนื่อง แต่ในตอนนี้สถานการณ์เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงสูง เพราะกลุ่มธุรกิจบางส่วนยังไม่มามาสถเปิดทำการได้ตามปกติ ทำให้กระทบต่อรายได้ทั้งเจ้าของธุรกิจและพนักงานจำนวนมาก แบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมด้วยการรวมหนี้
แบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ (debt consolidation) คือการนำสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการทางการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกัน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อ มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ประโยชน์จากหลักประกัน
โดยจะทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถลดอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นให้เหลือไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) และยังขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามความสามารถของลูกหนี้ด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อดีข้อเสียของการเข้าร่วมมาตรการ ข้อมูลเปรียบเทียบภาระหนี้เดิมกับภาระหนี้ใหม่ และทางเลือกการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รูปแบบอื่นที่ลูกหนี้สามารถทำได้
1. ช่วยลดภาระการชำระหนี้
2. ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต
3. ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าบริการอื่นใดโดยไม่จำเป็น
4. ยังใช้วงเงินบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีลักษณะหมุนเวียนที่ยังเหลือได้
5. ไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด (prepayment fee)
หากลูกหนี้มีความต้องการที่จะเข้ามาตรการการรวมหนี้ (debt consolidation) สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการและแสดงข้อมูลว่าได้รับผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางการเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 โดยสามารถรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://bit.ly/2D71feu
ต้องดูกันต่อไปครับว่าจะมีสถาบันการเงินหรือธนาคารใดที่ออกเงื่อนไขในมาตราการที่ แบงก์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้รายย่อยนี้อย่างไรกันบ้าง