Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

วิธีแก้ดินเค็มเรื่องควรรู้ก่อนทำเกษตร

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ดินเค็มจัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลายคนๆ  ซึ่งวิธีแก้ดินเค็มนั้นจัดว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้ไว้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง โดยเฉพาะผู้ทีต้องการทำการเกษตร หรือปลูกต้นไม้ต่างๆ แต่ประสบปัญหาต้นไม้ปลูกไม่ขึ้น ปลูกไม่โต ตายง่าย ไม่ออกดอก หรือไม่ให้ผลผลิต ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจจะมีสาเหตุมาจากดินเค็มก็เป็นได้ ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกันดูว่าดินเค็มนั้นคืออะไร และวิธีแก้ดินเค็มสามารถทำได้อย่างไร

ดินเค็มเกิดจากสาเหตุอะไร

ดินเค็มคือดินที่มีสารละลายต่างๆ จำพวกเกลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่าปกติ เนื่องจากน้ำใต้ดินที่อยู่ในบริเวณนั้นมีสารละลายเกลือมากเกินไปนั่นเอง ทำให้ดินในบริเวณที่เป็นดินเค็มนั้นไม่สามารถปลูกต้นไม้ให้เจริญงอกงามได้ เนื่องจากธาตุอาหารในดินขาดความสมดุล ทำให้พืชขาดน้ำจากความเป็นพิษของโซเดียม และคลอไรด์ที่อยู่ในดิน

ดินเค็มนั้นจะพบได้มากบริเวณพื้นที่ชายทะเล รวมไปถึงภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ซึ่งปัญหาดินเค็มนั้นนอกจะสร้างผลเสียให้กับการทำเกษตรแล้ว ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ดินเค็มคือ

ดินเค็มสังเกตได้อย่างไร

วิธีการสังเกตว่าดินที่ต้องการเพาะปลูก หรือเพาะปลูกไปแล้วว่าเป็นดินเค็มหรือไม่สามารถทำได้ไม่ยาก ถ้าเพาะปลูกไปแล้ว มีการบำรุงต้นไม้ต่างๆ ตามปกติ แต่ต้นไม้ไม่โต หรือโตไม่เต็มที่ ไม่มีการออกดอก หรือผลตามระยะเวลาที่ควรเป็น หรือต้นไม้ตายอย่างไม่ทรายสาเหตุ นั่นให้พึงคิดไว้ก่อนว่าดินในบริเวณนั้นเป็นดินเค็ม

ส่วนถ้ายังไม่ได้ลงมือเพาะปลูกให้สังเกตสภาพของดินว่ามีหญ้า หรือวัชพืชต่างๆ ขึ้นหรือไม่ รวมไปถึงดูการเจริญเติบโตของพืชในบริเวณนั้นว่าเป็นไปตามปกติหรือเปล่า ถ้ามีการเติบโตที่ช้ากว่าปกติ อย่างเช่นลำต้นเล็กเกินไป มีรอยไหม้ที่ขอบใบให้คิดไว้ก่อนว่าดินบริเวณนั้นคือดินเค็ม หรือให้สังเกตว่าพืชที่ขึ้นได้ดีในบริเวณนั้นเป็นพืชที่ทนความเค็มหรือไม่ ซึ่งพืชที่ทนความเค็มได้แก่ แสม โกงกาง เหงือกปลาหมอเป็นต้น

แต่ถ้าดินในบริเวณนั้นมีความเค็มมากจะสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากบริเวณผิวดินจะมีคราบเกลือสีขาวปะปนอยู่ หรือปะปนอยู่ในเนื้อดินที่ฟุ้งกระจายขึ้นมา ซึ่งบริเวณที่เป็นดินเค็มนั้นส่วนมากตจะเป็นพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน หรือเป็นพื้นที่ติดทะเลนั่นเอง

สังเกต

ดินเค็มมีกี่ประเภท

หลายคนยังไม่รู้ว่าดินเค็มในประเทศไทยนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือดินเค็มชายทะเล และดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งดินเค็มชายทะเลนั้นเป็นดินเค็มที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีน้ำทะเลท่วมถึง ไม่สามารถปลูกพืชตามปกติ ปลุกได้แต่พืชเฉพาะที่สามารถททนความเค็มได้ดีเป็นพิเศษ อย่างเช่น แสม โกงกาง ลำพู หรือพืชป่าชายเลนนั่นเอง 
ส่วนดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือดินเค็มในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเลนั้นเป็นดินที่มีความเค็มไม่มากเท่าดินเค็มชายฝั่งทะเล สามารถปลูกพืชที่ทนความเค็มได้บางจำพวก โดยดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะมีความเค็มที่ไม่เท่ากันในแต่ละฤดูกาล

ประเภท

วิธีแก้ดินเค็มทำได้อย่างไร

เมื่อทราบแน่ๆ แล้วว่าที่ดินซึ่งต้องการใช้ประโยชน์นั้นเป็นดินเค็ม การที่จะใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ต้องเริ่มจากการปรับสภาพดิน หรือหาวิธีแก้ดินเค็มนั่นเอง ซึ่งการแก้ดินเค็มนั้นก็มีหลากหลายวิธีตามแต่ความสะดวก และความเหมาะสม โดยวิธีการแก้ดินเค็มแต่ละประเภทซึ่งนิยมใช้ และได้ผลก็คือ

  • วิธีแก้ดินเค็มชายทะเล ดินเค็มชายทะเลจัดว่าเป็นดินเค็มที่แก้ได้ยาก เนื่องจากมีความเค็มจัด รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมแบบทั่วไปเหมือนในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ดินเค็ม ดังนั้นการปรับปรุงดินเค็มชายทะเลเพื่อทำเกษตรจึงไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะทำการเกษตรในรูปแบบที่เหมาะสมกับดินเค็มนั่นเอง 
    การปรับปรุงดินเค็มชายทะเลให้เหมาะสมกับการทำเกษตรนั้นสามารถทำได้โดยการกั้นดินขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้นำทะเลเข้ามาในพื้นที่ จากนั้นให้ขังน้ำจืดไว้ในพื้นที่เพื่อลดความเค็มของดิน เมื่อลดความเค็มของดินได้แล้วก็ให้ปลูกพืชที่มีความทนทานต่อความเค็มอย่างเช่น มะพร้าว ละมุด พุทรา ฝรั่ง มะขามเทศ 
    แต่ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาดินเค็มได้ผล เนื่องจากดินมีความเค็มมากเกินไป ให้ปรับเปลี่ยนไปทำเกษตรที่เหมาะสมอย่างเช่นการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาทะเล หรือปลาที่สามารถอยู่ได้ในน้ำกร่อยทำนาเกลือ เป็นต้น
  • วิธีแก้ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแตกต่างกับดินเค็มชายทะเลคือจะเค็มน้อยกว่า รวมไปถึงในแต่ละฤดูกาลจะมีความเค็มไม่เท่ากัน ซึ่งดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นสามารถปลูกพืชได้ แต่จะได้ผลผลิตต่ำ โตช้า ตายง่าย 
    แนวทางการแก้ปัญหาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะเน้นไปที่การผสมผสานวิธีการต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า เพราะถ้าดินมีความชุ่มชื่นจากการเกษตรสภาพของดินก็จะลดความเค็มลงไปได้ เนื่องจากน้ำภายในดินไม่ได้ถูกดึงขึ้นมาบนผิวดินนั่นเอง 
    อีกหนึ่งวิธีสำหรับการจัดการปัญหาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ การป้องกันไม่ให้ดินเค็มมีการแพร่กระจาย รวมไปถึงจัดการดินเค็มที่มีอยู่ให้สามารถเพาะปลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยน้ำให้เข้ามาล้างเกลือภายในดิน รวมไปถึงการศึกษาทางเดินของน้ำใต้ดินซึ่งมีเกลือปนอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วจัดทางเดินน้ำใหม่ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • แก้ดินเค็มด้วยสารเคมีทำอย่างไร บางครั้งการแก้ดินเค็มด้วยวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเห็นผลได้ช้า หรือไม่ทันกับฤดูการเพาะปลูกที่ต้องเดินหน้าตลอดเวลา การแก้ดินเค็มด้วยสารเคมี หรือสารต่างๆ เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกจึงเป็นที่นิยมค่อนข้างมากในหมู่เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ดินเค็ม แต่เป็นดินที่เค็มไม่มาก 
    วิธีแก้ดินเค็มด้วยสารปรับสภาพดินนั้นคือการแก้ดินเค็มโดยใช้สารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปูนขาว ยิปซัม หรือแกลบ โรยลงไปบนพื้นที่ซึ่งต้องการเพาะปลูก จากนั้นให้ทำการไถพรวนเพื่อให้สารเหล่านั้นลงไปผสมกับดิน แล้วทิ้งดินไว้ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ จากนั้นค่อยไถอีกครั้งเพื่อเตรียมตัวเพาะปลูก 
    การแก้ปัญหาดินเค็มด้วยวิธีนี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะเมื่อเริ่มการเพาะปลูกรอบใหม่ก็ต้องใช้สารต่างๆ เหล่านี้มาใช้ในการปรับสภาพดินอีกครั้ง

วิธีแก้ดินเค็ม

วิธีแก้ดินเค็มนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีตามแต่ประเภท และสภาพของดินเค็มที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยที่จุดประสงค์หลักในความต้องการที่จะแก้ปัญหาดินเค็มนั่นคือความต้องการพื้นที่ไปใช้ในการเพาะปลูก หรือการทำเกษตรในรูปแบบต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำเกษตรนั้นควรปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพของดินซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาดินเค็มได้ดีที่สุด 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร