เมื่อไม่นานมานี้กระแสเรื่องบ้านอัจฉริยะในประเทศญี่ปุ่น หรือ บ้านที่ตอบสนองผู้อยู่อาศัยโดยมีระบบ AI (Artificial Intelligence) ของเจ้าพ่อเฟสบุ้ค ดูเหมือนจะเป็นกระแสที่กลับมาทำให้เจ้าของบ้านได้ตื่นตาตื่นใจกันอีกครั้ง โดยเฉพาะคนที่ ชื่นชอบในเรื่องเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัยมากขึ้น
บ้านที่เพียงแค่ได้ยินน้ำเสียงของคุณ ก็รู้ว่าคุณ ไม่สบาย ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ พร้อมสั่งการให้ตู้เย็นรินน้ำมาเสริฟด้วยแขนกลหรือผ่านสายพาน วางพร้อมตรงหน้าโซฟาให้คุณ นอนพัก ดูช่องรายการทีวีที่คุณ โปรดปราณ ในบบรยากาศไฟในห้องที่ปรับสลัวพร้อมพักผ่อน และเมื่อคุณ เผลอหลับไป ตื่นมาก็พร้อมจะรับประทานอาหารเย็นที่ส่งตรงมาจากครัว ที่พ่อครัวคือแขนกลอัจฉริยะปรุงอาหารเย็นเตรียมไว้อย่างถูกหลักโภชนาการและไม่ต้องห่วงว่าความปลอดภัยในระหว่างหลับยาวของคุณ เพราะบ้านจะมีระบบเซนเซอร์ ที่พร้อมจะจับตาดูความปลอดภัยรอบบ้านทั้งบนดินใต้ดินหรือบนฟ้า ส่งต่อสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือ ของตำรวจสายตรวจได้ในทันที
ฟังดูมันช่างเป็นชีวิตที่เยี่ยมยอดเหมาะกับ ศตวรรษที่ 21 นี้จริงๆ และทั้งหมดนี้ มีจริงแล้ว!!
คำถามคือ... แล้วเราต้องการเทคโนโลยีเหล่านี้ มากน้อยแค่ไหน อะไร เป็นข้อกำหนดในการเลือกตัดสินใจ ว่า บ้านของเราต้องมีความอัจฉริยะ หรือ ทันสมัยขนาดไหน
4 เหตุผลแบบเบาๆ ที่คุณต้องคิดซ้ำไปซ้ำมาก่อนจะตัดสินใจนำเอาเทคโนโลยีอัจฉริยะนั้นๆเข้ามาเป็นส่วนนึงของบ้านคุณ คือ...
1.ราคา
อันนี้ คงเป็นประเด็นสำคัญเหลือเกิน ว่าทำไม เทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆยังเอื้อมมือลงมาจับมือผู้บริโภคอย่างเราๆได้ คุณคงไม่ลงทุนหลักหลายแสนบาทเพียงเพื่อให้เครื่องปรับอากาศของคุณตอบสนองและปรับอุณภูมิตามสภาวะภายในห้องนั้นๆแบบฉับพลันทันที เช่น เมื่อมีไอน้ำจากกาน้ำร้อน หรือ ซุปบนโต๊ะอาหารสร้างอุณหภูมิบวกให้ห้องของคุณ......เดินไปลดอุณหภูมิเองอาจจะเปลืองแค่ความสึกของพื้นรองเท้าเท่านั้น
2.ใครเป็นผู้ใช้งานบ้าง
แขนกลอัจริยะทำอาหารตามการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมือ เชฟระดับ มิชลินสตาร์ คงอาจจะขัดใจสำหรับแม่บ้านที่ต้องการแสดงฝีมือของเธอให้สมาชิกในครอบครัวได้ลอง ถึงแม่ คุณสามีจะอยากกินอาหารหรูเริ่ดขนาดไหนก็ตาม จงอย่าลืมว่า มนุษย์มีความหลากหลาย ทางอารมณ์มากเหลือเกิน
3.ลักษณะพื้นฐานกายภาพของบ้าน
แน่นอนว่า เทคโนโลยีถูกสร้างมาให้ เป็นงานที่เรียกว่า เฉลี่ยสมบูรณ์ คือ เอาค่าเฉลี่ยตรงกลางของคนหมู่มากมาเป็นข้อมูลในการสร้างประกอบดังนั้น เทคโลยีนั้นๆอาจจะไม่ได้สามารถเข้ากับบ้านทุกๆหลังได้เสมอไป เช่นจะติดแผงโซล่าเซลที่บนหลังคาบ้านที่ได้รับร่มเงาจากอาคารข้างเคียงตลอดทั้งวันคงเป็นเรืองตลกร้ายสำหรับเจ้าของบ้าน
4. เสียแล้วจะทำยังไง
ข้อนี้คงเป็นหมัดฮุค สำหรับผู้คิดค้นและผู้ขาย อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การรื้อสายไฟเบอร์ออฟติกที่ไปสื่อสารกับระบบอัจฉริยะต่างๆในบ้านคงไม่เป็นเรื่องสนุกเท่าไหร่นักของ ช่างร้อยสาย หรือ เจ้าของบ้านอาจจะอาบน้ำไม่ได้เนื่องจากการที่ต้องซ่อมระบบคอนโทรลที่ควบคุมระบบทั้งหมดในบ้านเป็นระยะเวลานานๆเนื่องจากระบบได้ผูกโยงกันไปหมดทั้งบ้าน
หากว่าท่านๆทั้งหลายผู้ชื่นชอบเทคโนโลยีอันทันสมัยในบ้านของท่าน อยากจะมีเทคโนโลยีอัจฉริยะนั้นมาครอบครอง โปรดอ่านข้อ 1 ถึง ข้อ 4 ซ้ำไปมาสองสามรอบ หากว่าคำถามเหล่านี้ มีคำตอบในใจ ก็ปฎิเสธไม่ได้จริงๆว่า เทคโนโลยีอัจฉริยะนั้นมันช่างทำให้ชีวิตของเรา รื่นรมย์ เสียจริงๆ หรือว่า อัตโนมัติหรือจะสู้อัตโน...มือ
เขียนโดย: อัทธา พรสุมาลี
ปริญญาโท: สถาปัตยกรรม MArch ,Design Research Laboratory ,Architectural Association school of Architecture (AA), London
ปริญญาตรี: สถาปัยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน: สถาปนิก บริษัท ฟอร์กซ์ ดีไซน์ สตูดิโอ จำกัด
(Design director, Co-founder ForX Design Studio.Co.,Ltd.)
อาจารย์พิเศษ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย
(Course Master and Lecturer, Urban and regional Planning, Chulalongkorn university)
Contact Info
www.facebook.com/ForxDesignStudio
ขอบคุณภาพประกอบจาก: josh.ai, autonomousbrain.com, ibtimes.co.uk, connectnigeria.com, techniques-ingenieur.fr
บทความที่เกี่ยวข้อง: