เครื่องครัวหากคุณเคยมีประเด็นเรื่องใช้แล้วทำอาหารไม่ดี ไม่มีความอร่อย หรือทำความสะอาดยาก ต่อไปนี้ประเด็นเหล่านั้นจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพียงคุณเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ให้ถูกหลักการทำงาน เข้าใจจุดเด่นของวัสดุต่าง ๆ เข้าใจวิธีการทำความสะอาดและการเก็บรักษาเพื่อถนอมอายุการใช้งาน และการเลือกซื้อเพื่อให้ตรงตามความต้องการของตนเอง เรามีขั้นตอนง่าย ๆ ในการเลือกซื้อเครื่องครัวให้ตรงใจตามนี้เลย
มีด้วยกันทั้งสิ้น 7 อย่างเพื่อใช้ในการประกอบอาหารให้มีความสะดวก และทำกิจกรรมภายในห้องครัวตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งนี้อาจลดประเภทที่จำเป็น หรือเพิ่มเติมบางอย่างเข้ามาได้ตามงบประมาณ และพื้นที่ในการวางเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ซื้อ
มีให้เลือกทั้งหมด 6 แบบด้วยกัน ซึ่งมีคุณสมบัติ ราคาแตกต่างไปตามจุดประสงค์ของผู้ซื้อ ทั้งนี้ควรตรวจสอบสภาพภายนอกของวัสดุให้มีความสมบูรณ์ ได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากสถาบันที่ได้มาตรฐานประกอบการซื้อ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อการใช้งานในอนาคต
แบ่งออกเป็น 3 ข้อให้พิจารณาคือ ความจำเป็นต่อการใช้งานจริงของผู้อาศัยภายในบ้านให้สามารถทำครัวได้สะดวก โดยควรเลือกเครื่องใช้ที่มีการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น อบ นึ่ง หุงข้าว ต้ม หรือตุ๋น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อแยกอุปกรณ์ และเพิ่มพื้นที่วางภายในบ้านให้มากขึ้น
ประการที่ 2 คือ ความต้องการจริง โดยเช็ครายการอาหารของบ้านนั้น ๆ ว่าชอบทานอะไรบ่อยครั้ง สอบถามผู้อาศัยเรื่องเมนูที่เป็นสิ่งโปรดปราด จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ว่าควรเลือกซื้อเครื่องครัวมาวางไว้ในบ้านมากน้อยแค่ไหน อาจไม่จำเป็นต้องซื้อมาทั้งหมดแล้วไม่ได้ใช้ จนกลายเป็นของไร้ประโยชน์ไปในที่สุด
ประการสุดท้าย ความสะดวก ที่อยู่อาศัยของแต่ละบุคคลมีไว้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น พักอาศัยที่บ้านตนเองเพราะทำงานออนไลน์ อยู่ห้องเช่าเพื่อมาเรียนหนังสือต่างจังหวัด หรือพักบ้านเช่าให้ใกล้กับที่ทำงาน สามารถเดินทางไปด้วยตนเองได้ การเลือกเครื่องครัวจึงต้องคำนึงถึงวิธีการใช้ชีวิต ต้องคิดเผื่อการเคลื่อนย้ายที่ง่ายดาย หากจำเป็นต้องย้ายที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งคำนึงถึงพื้นที่ที่ต้องเพียงพอในการวางเครื่องใช้ดังกล่าวด้วย
การทำความสะอาด จะมีอุปกรณ์สำคัญสองอย่างด้วยกัน ได้แก่ เบคกิ้งโซดา (Baking Soda) และมะนาว (Lemon) เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นกรดที่ช่วยจัดการสิ่งสกปรกของคราบอาหารจากเครื่องครัวได้เป็นอย่างดี
เริ่มต้นจากการทำความสะอาดปกติไม่มีคราบที่ติดแน่นเกินไป สามารถใช้ผ้าชุบกับน้ำยาล้างจานจัดการได้ กรณีที่มีคราบแน่น ขจัดออกยาก เช่น ภายในเครื่องที่มีช่องต่าง ๆ อย่างไมโครเวฟ ให้คั้นน้ำมะนาวใส่ภาชนะสำหรับเวฟวางไว้ภายในและกดทำงาน 3-5 นาทีหลังจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้า หากยังมีอยู่สามารถทำซ้ำได้
หากเป็นเครื่องครัวที่มีคราบหนักมากให้นำเบคกิ้งโซดามาทำการผสมน้ำและโรยบนจุดดังกล่าวเป็นเวลา 20-30 นาที อาจใช้มะนาวเพิ่มเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแล้วเช็ดเพื่อเช็คว่าคราบดังกล่าวออกไปหรือยังจึงล้างออกด้วยน้ำเปล่า
การทำความสะอาดที่ดีไม่ควรทำให้เครื่องครัวเป็นรอย เพราะมันหมายถึงอายุของอุปกรณ์เหล่านั้นจะน้อยลงไปด้วย และทุกการใช้งานไม่ควรให้มีความชื้น การทำให้เครื่องครัวแห้งอยู่เสมอจะป้องกันเชื้อรา และสัตว์ต่าง ๆ ได้
เครื่องครัวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาหาร หากเลือกไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ๆ หรือความต้องการของผู้ซื้อเอง จะทำให้เครื่องครัวไม่มีประโยชน์ และมีอายุการใช้งานที่น้อยลง