Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

โคราชเตรียมเฮ รถไฟฟ้าความเร็วสูงลงพื้นที่ เปิดเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

 

ตามประกาศของคณะรัฐมนตรีในการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตรนั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ผ่านความเห็นชอบภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน โดยให้ฝ่ายไทยลงทุนเองทั้งหมด คาดเปิดบริการได้ปี 2565

การก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 3.5 กิโลเมตร

ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 11 กิโลเมตร

ช่วงที่ 3 อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี -นครราชสีมา 119.5 กิโลเมตร

ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ 119 กิโลเมตร วางเป้าหมายเปิดบริการปลายปี 2564

ส่วนช่วง นครราชสีมา-หนองคาย อีก 354 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดบริการได้อย่างเร็วปี 2565 เพื่อเชื่อมเส้นทางกับของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีนในอนาคต โดยจะเริ่มก่อสร้างช่วงสถานีกลางดง นครราชสีมาก่อน เนื่องจากเป็นระยะทางที่สั้นและเป็นทางเรียบ ใช้พื้นที่เขตทางรถไฟตลอดไม่ต้องเวนคืนเพิ่มเติม ซึ่งถือว่าอุปสรรคน้อยที่สุด

ทั้งนี้ในระยะทางทั้งสิ้น 253 กม. ถูกออกแบบให้มีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ, สถานีดอนเมือง, สถานีอยุธยา, สถานีสระบุรี, สถานีปากช่อง, และสถานีนครราชสีมา

โดยมี 3 สถานีที่จะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มรายได้ ได้แก่ สถานีสระบุรี สถานีปากช่องและสถานีนครราชสีมา ซึ่งรูปแบบของการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีดังกล่าวจะมี 3 รูปแบบ คือพื้นที่ในอาคารสถานี พื้นที่บริเวณส่วนต่อจากอาคารสถานี และพื้นที่อาคารนอกสถานีแต่อยู่ในเขตทาง โดยมีแนวคิดพัฒนาให้เป็นเมืองธุรกิจ คาดว่าในระยะเวลา 30 ปี ทั้ง 3 สถานีจะสร้างรายได้ราว 31,695 ล้านบาท

สำหรับแผนการใช้จ่ายเงินในการก่อสร้าง ได้แบ่งออกเป็น ปี 2560 จำนวน 2,648 ล้านบาท, ปี 2561 จำนวน 43,097 ล้านบาท, ปี 2562 จำนวน 62,216 ล้านบาท, ปี 2563 จำนวน 59,702 ล้านบาท และปี 2564 จำนวน 12,017 ล้านบาท

อัตราค่าโดยสารช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะใช้อัตรา 80+1.8 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งในระยะทาง 253 กิโลเมตร ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 535 บาท หากลงที่ปากช่อง ค่าโดยสารอยู่ที่ 393 บาท, ลงสระบุรีราคา 278 บาท, และลงอยุธยาราคา 195 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมกับเงินลงทุนที่มหาศาล โดยแนวเส้นทางจะมีทั้งเป็นระดับพื้นดินและทางยกระดับ สำหรับจุดตัดต่างๆ จะมีสะพานข้าม ทั้งนี้ขบวนรถจะออกทุกๆ 90 นาที

คาดการณ์ว่าช่วงแรกจะมีผู้โดยสารที่ใช้งานรถไฟฟ้าความเร็วสูงประมาณ 5,310 คนต่อวัน เพราะปัจจุบันมีผู้โดยสารที่เดินทางไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 20,000 คนต่อวัน หากเทียบกับการเดินทางโดยรถยนต์จที่ต้องเสียเวลา 3-4 ชั่วโมง หรือเดินทางโดยรถบัสโดยสารที่ใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง และค่าโดยสารอยู่ที่ 200 กว่าบาท ก็ถือว่าสะดวกรวดเร็วกว่ามาก

รถไฟความเร็วสูงจะเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชน จากนี้ไปอีก 5 ปี รูปแบบการเดินทางของคนไทยจะถูกพลิกเข้าสู่ระบบรางอย่างเต็มตัว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนท้องถนนและลดต้นทุนการขนส่งของประเทศ

 

ขอบคุณภาพจาก : OKnation, Koratstartup,China Xinhua News

 

บทความแนะนำ

โยธาฯ เร่งซ่อมรางรถไฟโคราช หลังเกิดเหตุรถตกราง 9 โบกี้

นายกฯสั่ง ม.44 เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช ไฟเขียวทีมงานจีนไม่อยู่ในกฎหมายไทย

รถไฟรางเบา (LRT) โคราช มาจริง รับเมืองเติบโตเฟสแรกเปิดใช้ปี 66

เปิดใจพ่อเมืองโคราชกับแผนนโยบายพัฒนาศักยภาพเมืองสู่ SMART CITY

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร