ความเชื่อข้อหนึ่งตั้งแต่โบราณของคนไทยเกี่ยวกับการสร้างบ้านสร้างเรือนคือ หากบ้านไหนมี “การตั้งเสาเอก” อย่างถูกต้อง จะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวที่อยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าวร่มเย็นเป็นสุข ทำอะไรก็ราบรื่นทุกอย่าง มีเทวดาปกปักรักษา ด้วยเหตุนี้ก่อนคิดสร้างบ้านทุกหลังจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้อง บทความนี้จึงอยากแนะนำแบบละเอียดพร้อมนำไปใช้ได้จริง เพื่อความสบายใจของเจ้าบ้านละครอบครัว
ก่อนจะไปรู้วิธีตั้งเสาเอกอย่างถูกต้อง ควรเข้าใจความหมายของสิ่งนี้ให้ละเอียด เสาเอก คือ เสาที่คอยรับน้ำหนักของตัวบ้าน อาคารต่าง ๆ เอาไว้ จึงไม่ใช่เสาที่ถูกตอกลงไปให้จมลงดิน ในอดีตคนไทยปลูกบ้านด้วยไม้ เสาเอกที่ใช้ต้องเป็นเสาไม้เท่านั้น ทว่าปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนไป นิยมใช้คอนกรีตหรือปูน เพื่อสร้างบ้าน การทำเสาเอกจึงไม่ต้องใช้ไม้ แต่อาจเปลี่ยนเป็นเสาโครงคร่าวก่อนทำการเทปูนลงไปก็ได้
ทั้งนี้ตามความเชื่อตั้งแต่อดีต เสาเอก หมายถึง ผู้ชายที่มีความแข็งแรง คอยยึดตัวบ้านให้แข็งแกร่ง เปรียบได้กับสามีที่คอยเลี้ยงดูภรรยาในทุก ๆ เรื่อง ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง หรือผู้เป็นพ่อที่ปกป้องภรรยา ลูก ๆ และคนอื่น ๆ ในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี ไม่มีเรื่องเสียหายใด ๆ เข้ามาทำให้ต้องล้มลง
ปกติคนที่จะสร้างบ้านมักมีการปรึกษากับพระผู้ใหญ่, พราหมณ์, โหร หรือหมอดูที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องฤกษ์งามยามดีสำหรับตั้งเสาเอก เพื่อให้บ้านนั้นอยู่เย็นเป็นสุข โดยจะมีการบอกเวลาที่เหมาะสมในการทำพิธี เมื่อถึงเวลาก็ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องเพื่อให้ทุก ๆ อย่างเรียบร้อย คนที่ปลูกสร้างบ้านเองก็สบายใจ อย่างไรก็ตามหากว่าด้วยเรื่องฤกษ์สำหรับการตั้งเสาเอกที่ใช้กันจะนิยมปลูกสร้างบ้านในช่วงเดือน 1 (เดือนอ้าย), เดือน 2 (เดือนยี่), เดือน 4, เดือน 5, เดือน 9 และเดือน 12 ของแต่ละปี โดยใช้การนับเดือนแบบไทยตามหลักจันทรคติ เมื่อได้เดือนสำหรับการตั้งเสาเอก ก็เลือกเอาวันธงชัยในเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินที่ระบุไว้ อย่างไรก็เพื่อความมั่นใจ เจ้าบ้านก็อาจไปให้คนที่มีความรู้ด้านนี้ช่วยตรวจสอบอีกครั้งได้
เมื่อได้ฤกษ์สำหรับตั้งเสาเอกแล้ว ต่อไปก็เตรียมเรื่องของมงคลที่จำเป็นต้องใช้งานในพิธีเพื่อให้เป็นไปตามธรรมเนียมอันเหมาะสม โดยหลัก ๆ แล้วของมงคลที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีตั้งเสาเอกจะประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้
สำหรับไม้มงคลทั้งหมด 9 อย่าง ที่ต้องใช้ในการตั้งเสาเอกบ้านพร้อมความหมายดี ๆ ประกอบไปด้วย
ไม้มงคลทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้งานอย่างครบถ้วน ไม่ควรขาดชนิดใดเป็นอันขาด จะทำให้มีสิริมงคลและเรื่องดี ๆ เกิดกับบ้านหลังนี้
นอกจากไม้มงคลที่ต้องมีในพิธีตั้งเสาเอกแล้ว ใบไม้มงคลที่ต้องใช้ระหว่างการลงเสาเอกก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องเตรียมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ความเป็นสิริมงคลกับบ้าน โดยทั่วไปใบไม้มงคลที่นิยมนำมาใช้กับงานมงคลของคนไทยประกอบไปด้วย
ทั้งนี้ไม่ต้องหาซื้อใบไม้ทั้งหมดตามที่กล่าวมา อาจเลือกแค่ที่หาได้หรือพอเหมาะกับการลงเสาเอกก็เป็นอันใช้ได้
มาถึงขั้นตอนสำคัญก็คือ พิธีตั้งเสาเอก โดยมีรายละเอียดทั้งหมดดังที่จะกล่าวด้านล่างนี้ อย่างไรก็ตามเจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องทำตามทุกอย่างให้เหมือนทั้งหมด เพียงเน้นที่จุดสำคัญและความตั้งใจก็เพียงพอ
เริ่มต้นจากให้เอาหน่อกล้วย หน่ออ้อย และผ้า 3 สี ผูกไว้ที่โครงเสาเหล็กสำหรับใช้ในการตั้งเสาเอก แนะนำว่าต้องผูกเอาไว้ก่อนถึงวันพิธี
กรณีไม่ได้มีพราหมณ์หรือพระมาในพิธี ก็ให้ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือมาเป็นผู้ช่วยทำพิธีให้ แต่ถ้าไม่มีใครสะดวกเจ้าของบ้านสามารถทำด้วยตนเองได้ ซึ่งในพิธีคนที่จะอยู่อาศัยบ้านหลังดังกล่าวต้องมาให้พร้อมหน้า วางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาที่เตรียมไว้แล้วลากไปจนถึงเสาเอก
จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา สวดอธิษฐานขอพรแต่สิ่งดี ๆ เมื่อกราบไหว้เรียบร้อยให้จุดธูปบริเวณโต๊ะบูชาฤกษ์หรือโต๊ะสังเวยเทวดา ให้เข้ามาปกปักคุ้มครองบ้านหลังนี้ นำไม้มงคลและดอกไม้มงคลที่เตรียมมาใส่ลงไปในหลุมเสาเอกตามด้วยแผ่นเงิน ทอง นาก และเหรียญเงินเหรียญทอง
กรณีมีพระสงฆ์มาร่วมพิธีให้กราบนิมนต์ท่านพรมน้ำมนต์ลงไปที่หลุมเสาเอกพร้อมโปรยทรายเสกตามลงไป จากนั้นท่านจะทำการเจิม ปิดทองเสาเอกที่ได้ทำการผูกสิ่งต่าง ๆ เอาไว้ในตอนแรก เข้าสู่ขั้นตอนยกเสาเอกโดยในมือของเจ้าภาพกับผู้ร่วมพิธีถือสายสิญจน์และช่วยกันยกเสาเอกให้ตั้งตรง จากนั้นเจ้าภาพหยิบข้าวตอกดอกไม้และแป้งหอมโรยลงไปในหลุมอีกครั้ง ก็เสร็จสิ้น
มีอีกเรื่องที่น่าสนใจในการตั้งเสาเอกก็คือ การเสริมมงคลตามปีที่ปลูกบ้าน โดยจะใช้ปีราศีเป็นเกณฑ์แล้วทำพิธีเสริมมงคลเข้าไป ลองมาดูกันว่าแผนที่คุณกำลังวางไว้ว่าจะปลูกบ้านคือช่วงปีใด และมีขั้นตอนในการเสริมมงคลอย่างไรบ้าง
จากรายละเอียดทั้งหมดนี้จะช่วยให้ “การตั้งเสาเอก” ของทุก ๆ คน เป็นไปอย่างถูกต้อง เข้าอยู่บ้านสบายใจ มีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาหาอย่างแน่นอน