ท่านเคยสงสัยไหมว่า ขนาดบันไดบ้านหรืออาคารแต่ละที่มักมีขนาดเท่ากัน แต่บางที่ขั้นบันไดมีขนาดกว้างเกินไป ทำให้จังหวะในการก้าวขึ้นลงไม่สะดวก และเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งแท้จริงแล้วขนาดของบันไดไม่สามารถกำหนดเองได้ แต่สามารถออกแบบเรื่องความสวยงามได้ เพราะต้องมีการก่อสร้างตามขนาดบันไดบ้านหรืออาคาร เพื่อความสะดวกในการใช้งานและความปลอดภัย ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับบันได
ท่านทราบกฎหมายอาคารเกี่ยวกับบันไดหรือไม่? กฎหมายเรื่องอาคารเกี่ยวกับบันได ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยเรื่องเกี่ยวกับบันไดถูกกำหนดไว้ใน ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของหมวดที่ 2 คือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ที่ได้มีการกำหนดขนาดของบันไดแต่ละประเภท และให้ความหมายเพื่อความเข้าใจในบทกฎหมาย คำนิยามที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับบันได มีดังนี้
กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นสิ่งที่กำหนดตามมาตรฐานของขนาดบันได เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างบ้าน หรือคนที่มีความสนใจได้รู้มาตรฐานที่ถูกต้องก่อนมีการก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งในเรื่องของขนาดบันได ได้มีการกำหนดขนาดของบันไดบ้าน บันไดอาคาร และบันไดหนีไฟ ไว้แยกส่วนกัน เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ
บันไดบ้าน ตามมาตรฐานของกฎหมาย ข้อที่ 23 ที่กำหนดไว้ว่า ‘‘บันไดของอาคารอยู่อาศัย ถ้ามี ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งบันได ที่มีความสูงสุทธิไม้น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้ว เหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันได มีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชายพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันได ต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร’’
จากข้อความเบื้องต้นที่ได้มีการกำหนดเรื่องอาคารเกี่ยวกับบันได ในข้อที่ 23 จะเห็นได้ถึงระยะและขนาดต่าง ๆ ของขั้นบันไดเพื่อความปลอดภัยของผู้อาศัย สามารถสรุปตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
บันไดต้องมีความกว้างไม้น้อยกว่า 80 เซนติเมตร คือ อยู่ในระดับมาตรฐาน ไม่แคบจนเกินไป เพื่อให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินขึ้นลง
ความกว้างที่ไม่รวมสิ่งกีดขวาง ที่อยู่กับบันได เช่น ราวกันตก นอกจากนี้ความกว้างของบันได ยังมีผลต่อการขนของชิ้นใหญ่ขึ้นลงบันได
บันไดในแต่ละช่วงต้องสูงไม่เกิน 3 เมตร โดยวัดจากระดับพื้นก่อนบันไดขั้นแรก ไปยังระดับชั้น 2 ของบ้าน หรือชั้นบนของบ้าน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินขึ้นลง
หรือระยะความสูงระหว่างขั้นบันได ต้องสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร เพื่อให้สะดวกต่อการก้าวขาในแต่ละขั้นเวลาขึ้นลง เพราะหากลูกตั้งชันเกินไป จะส่งผลลำบากในการก้าว และอันตรายสำหรับผู้อยู่อาศัย
โดยการหักจากส่วนที่บันไดเหลื่อมกันต้องเหลือระยะไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
ต้องมีความกว้าง และความยาว ไม่น้อยกว้างความกว้างบันได คือ ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร
หากแต่ละชั้นของบันไดมีความสูงต่างกันเกิน 3 เมตร จะต้องมีชานพัก เพื่อไม่ให้ช่วงบันไดมีความสูงเกิน 1 เมตร สำหรับชานพักต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
จากขั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร
บันไดอาคาร ตามมาตรฐานกฎหมาย จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี เพราะแต่ละกรณีขนาดจะขึ้นอยู่ตามขนาดของพื้นที่รวมของลักษณะอาคารนั้น ๆ จึงทำเป็นที่จะต้องมีขนาดของบันไดให้สอดคล้องและเหมาะสม
ได้แก่ สำนักงาน อาคารสาธารณะ หรืออาคารหอพัก อาคารพาณิชย์ โรงงาน และอาคารพิเศษ ขนาดของบันไดตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 24) ได้แบ่งขนาดบันไดอาคารออกเป็น 2 ประเภท คือ อาคารที่มีพื้นที่ชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันไม่เกิน 300 ตารางเมตร และอาคารที่มีพื้นที่ชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร
บันไดอาคารประเภทอื่น ๆ
บันไดของอาคารที่มีการใช้เป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก เช่น บันไดห้องประชุม หรือห้องบรรยาย มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดห้องรับประทานอาหาร สถานบริการที่มีพื้นที่รวมกัน 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดของแต่ละชั้นอาคารมีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 2,000 ขึ้นไป
บันไดหนีไฟ ลักษณะของบันไดหนีไฟต้องมีขนาดมาตรฐาน(ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 28) เรื่องบันไดหนีไฟ อาคารที่สูง 4 ชั้นขึ้นไป และสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูงสามชั้น และมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่สาม มีพื้นที่ทั้งหมดเกิน 16 ตารางเมตร ต้องมีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 1 แห่ง และบันไดหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ และทางเดินไปยังบันไดต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
ขนาดของบันไดหนีไฟตามมาตรฐาน มีดังนี้
บันไดหนีไฟ จึงเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานอาคาร หากเกิดเหตุฉุกเฉินภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นเพลิงไหม้ หรือเหตุชุลมุน บันไดหนีไฟจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก
ลูกตั้งลูกนอน หรือขนาดความกว้างและความสูง
ลูกตั้ง หมายถึง ระยะตั้งของขั้นบันได และ ลูกนอน หมายถึง ระยะราบของขั้นบันได ลูกตั้งลูกนอนตามขนาดมาตรฐานที่ปลอยจะมีขนาดที่ต่างกันของแต่ละประเภท ไม่ว่าจะขนาดบันไดบ้าน หรือบันไดอาคาร
ขนาดบันไดบ้านและอาคาร ควรมีการสร้างให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อการใช้งานที่สะดวก และปลอดภัย โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ ที่มีจังหวะในการก้าวขึ้นลงบันไดที่มีความลำบาก หากบันไดที่ใช้มีขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือขาดความสมดุล ระหว่างระยะความกว้าง ความสูง และระยะขั้นบันได จะทำให้ผู้ใช้งานมีความลำบาก และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้