หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าในปัจจุบันนี้การไฟฟ้านั้นมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการคิดค่าไฟฟ้ากับผู้ใช้ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องทำความเข้าใจให้ละเอียด เนื่องจากการคำนวณค่าไฟฟ้านั้นทางการไฟฟ้ามีหลายสูตรคำนวณที่แตกต่างกันไปตามประเภทของผู้ใช้ ในบทความนี้มาศึกษากันว่ารายละเอียดต่างๆ ของค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้านั้นมีอะไรบ้าง รวมไปถึงการคำนวณค่าไฟฟ้านั้นคำนวณอย่างไร ค่าไฟหน่วยละกี่บาทกันแน่
เราทุกคนต่างเข้าใจกันว่าผู้ให้บริการไฟฟ้าแก่ทุกครัวเรือน และทุกกิจการในประเทศไทยนั้นคือการไฟฟ้า แต่ในความเป็นจริงทาด้านการบริหารแล้วการไฟฟ้ามี 3 บริษัทที่ให้บริการในประเทศไทย คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ทำหน้าผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบเพียงอย่างเดียว, การไฟฟ้านครหลวง เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับพื้นที่ กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, นนทบุรี บริษัทสุดท้ายคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับพื้นที่อื่นๆ ยอกเว้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง
การคิดคำนวณค่าไฟฟ้านั้นมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยไม่ได้มีราคาเท่ากันทุกบ้าน เพราะค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะคิดตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่ บ้านเรือนที่พักอาศัย, กิจการขนาดเล็ก, กิจการขนาดกลาง, กิจการขนาดใหญ่, กิจการเฉพาะอย่าง, องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร, กิจการเพื่อการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว ซึ่งทั้งหมดนี้มีวิธีการคิดค่าไฟต่อหน่วยที่แตกต่างกัน
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการไฟฟ้านั้นมีวิธีคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของการใช้งาน ลองมาดูกันว่าถ้าเป็นบ้านพักอาศัยธรรมดาทีจัดว่าเป็นการใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 นั้นการไฟฟ้าฯ จะคิดค่าไฟหน่วยละกี่บาท
การคิดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 มีการคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยได้ 3 แบบตามปริมาณ และรูปแบบของการใช้ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าการคิดค่าไฟอัตราปกติแบบก้าวหน้า ได้แก่
การคิดค่าไฟในรูปแบบอัตราก้าวหน้าคือการคิดค่าตามปริมาณการใช้งานนั่นเอง ซึ่งเป็นวิธีการที่การไฟฟ้าฯ ใช้มาตลอด โดยเป็นการคิดแบบขั้นบันไดโดยแต่ละขั้นก็มีราคาของค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่แตกต่างกันไป ถ้าใช้ไฟมากก็จะถูกคิดคิดราคาแพงขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเป็นที่พักอาศัยตามปกติ มีการใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน จะคิดค่าไฟฟ้าตามอัตราก้าวหน้าดังนี้
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) หน่วยละ 2.3488 บาท
จากอัตราการคิดคำนวณแบบนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนมาว่ายิ่งใช้ไฟฟ้ามากเท่าไหร่ค่าไฟฟ้าก็จะถูกคำนวณในแบบก้าวหน้า ทำให้ต้องจ่ายค่าไฟต่อหน่วยแพงขึ้น จนหลายๆ คนตกใจว่าทำไมค่าไฟในบางเดือนถึงได้แพงมากกว่าปกติ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น และวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าแบบก้าวหน้านั่นเอง
ในการคำนวณค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านั้นนอกจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังมีกรนำค่า FT หรือ Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเป็นต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่สามารถควบคุมได้ โดยค่า FT จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน ซึ่งจะมากขึ้น หรือน้อยลงก็เป็นไปตามตัวแปรต่างๆ นั่นเอง
การคำนวณค่าไฟฟ้านั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ทำความเข้าใจถึงอัตราการคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ค่าบริการต่างๆ ค่า FT และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้
คิดค่าไฟฟ้าพื้นฐานก่อน
ถ้าในระยะเวลา 1 เดือนภายในบ้านมีการใช้ไฟฟ้า 100 หน่วยพอดี การตำนวณเฉพาะค่าไฟฟ้าสามารถทำได้ดังนี้
รวมค่าไฟฟ้า 100 หน่วย 333.06 บาท + ค่าบริการ 8.19 บาท = 341.25 บาท
ในตอนนี้ค่า FT อยู่ที่ 11.60 บาท ซึ่งถูกตรึงไว้ตามนโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทำให้การคิดค่า FT สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าพื้นฐานคือ นำค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่คำนวณได้มาลบออกด้วยค่า FT ถ้าตามตัวอย่างค่าไฟฟ้าพื้นฐานคือ 341.25 ลบออกด้วยค่า FT คือ 11.60 ทำให้ค่าไฟฟ้าก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มคือ 329.65 บาท
ในประเทศไทยนั้นทุกสินค้า และบริการจะถูกคิดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% รวมไปถึงค่าไฟฟ้าด้วย ดังนั้นเมื่อคิดอัตราค่าไฟฟ้าพื้นฐาน และค่า FT เรียบร้อยแล้ว ต้องมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% สำหรับค่าไฟฟ้าตามตัวอย่างที่คำนวณไว้คือ ค่าไฟฟ้าพื้นฐาน และค่า FT คือ 329.65 บาท ต้องนำมารวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% คือ 23.08 บาท ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายจริงคือ 352.73 บาทนั่นเอง หรือถ้าต้องการคำนวณให้ง่ายมากกว่านี้สามารถเข้าไปที่ Website ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ จะมีตารางให้ลองคำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตัวเอง
แทบทุกครั้งที่ฤดูร้อนของประเทศไทยวนกลับมาถึงจะได้ยินเสียงบ่นว่าค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้แบบง่ายๆ คือด้วยอุณหภูมิที่ร้อนจัดสำหรับฤดูร้อนในประเทศไทยทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดต้อทำงานหนักขึ้น ทำมีปริมาณในการใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้าสำหรับหน้าร้อนไม่ว่าจะเป็นการเปิดเครื่องปรับอากาศนานขึ้น การเปิด – ปิดตู้เย็นบ่อยขึ้น และเมื่อรวมกับการคิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า จึงทำให้มีค่าใช้ไฟฟ้าที่แพงขึ้นนั่นเอง
จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าการคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก หากผู้อยู่อาศัยเกิดความสงสัยในการคำนวณและอยากรู้ว่า ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท สามารถตรวจสอบรายละเอียดกับการไฟฟ้าในพื้นที่ได้ เนื่องจากมีสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ขัดเจนทุกขั้นตอน ดังนั้น การที่ค่าไฟฟ้าในบางเดือนเพิ่มสูงขึ้น ให้ดูที่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก่อน เพราะอาจมีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม หากคิดว่าค่าไฟฟ้ามีความผิดปกติจริง สามารถติดต่อการไฟฟ้าที่ดูแลพื้นที่เพื่อสอบถามความชัดเจนได้โดยตรง